COVID-19

สธ. เตือนกลุ่มเสี่ยงสูง กักตัวตามกำหนด รอผลตรวจโควิดซ้ำ

สธ. เตือนกลุ่มเสี่ยงสูง กักตัวตามกำหนด แม้ผลตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ ยกเคสโคราช เจอผู้ติดเชื้อผลตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ เผยข่าวดี สถานการณ์ดีขึ้น

นพ.เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทน ผอ.กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการพบผู้ติดเชื้อ ที่ผลตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ หรือได้ผลเป็นลบ ในครั้งแรก และไม่ป้องกันตนเอง รวมทั้งเดินทางไปที่สาธารณะ ต่อมาผลการตรวจซ้ำ พบว่า ติดเชื้อโควิด ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มในครอบครัว ดังนั้น สธ. เตือนกลุ่มเสี่ยงสูง กักตัวตามกำหนด

สธ. เตือนกลุ่มเสี่ยงสูง

ทั้งนี้ สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เมื่อตรวจเจอครั้งแรกต้องกักตัว 14 วัน ถึงจะไม่พบเชื้อ และมีการรอผลตรวจครั้งที่ 2 ยกตัวอย่างเช่น กรณีผู้ติดเชื้อในจังหวัดนครราชสี มาจากการที่มารดาขายของในตลาดพิพัฒน์ตลาดพรพัฒน์ปทุมธานี ซึ่งพบผลตรวจเชื้อเป็นบวก เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์

หลังจากนั้น วันที่ 12 กุมภาพันธ์ลูกชายอายุ 7 ปี พบผลตรวจเป็นบวกหรือติดเชื้อเช่นกัน ส่วนบิดาและลูกสาว 2 คน ผลตรวจเป็นลบในครั้งแรก ซึ่งมีการกักตัวที่โรวพยาบาล จากนั้นวันที่ 16 กุมภาพันธ์ บิดาและลูกสาว 1 คนพบผลตรวจเป็นบวก ขณะที่ลูกสาวอีกคนให้ผลเป็นลบ ก็ยังคงแยกกักตัวอยู่ที่โรงพยาบาลชุมชน

นอกจากนี้ ยังมีกรณีการแพร่ระบาดในจังหวัดมหาสารคาม ที่พบผู้ป่วยระลอกใหม่ 20 ราย ประเด็นที่เกี่ยวข้องคือ ในรายที่เจอป่วยหลังสุด โดยปกติจะดู 14 วัน ว่ามีอาการป่วยเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งในทางวิชาการ ถือว่าการดูอาการ 14 วัน สามารถครอบคลุมได้ถึง 97-98% ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่ใช้โดยทั่วไปในเกือบทุกประเทศ

นพ.เฉวตสรร3 2
นพ.เฉวตสรร นามวาท

ในกรณีของผู้ป่วยสามีอายุ 63 ปี ภรรยาอายุ 63 ปี ซึ่งสามีป่วยก่อน จากนั้น ภรรยาพบการป่วยระยะห่างจากรายที่พบก่อนหน้านี้ โดยควรตรวจทั้ง 2 ครั้งเป็นลบ ทำให้ผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันนานมากกว่า 14 วัน จึงเริ่มมีอาการ โดยไม่มีการกักตัว และยังเดินทางออกนอกจังหวัดในช่วง 14 วันหลังสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน

“ที่สำคัญคือไม่ว่าจะอยู่ในช่วงกักตัว 14 วันหรือพ้นมาตรการกักตัว จากกลุ่มเสี่ยงสูงแล้ว สิ่งสำคัญคือการสวมหน้ากากอนามัย”นพ.เฉวตสรร กล่าว

สำหรับสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด -19 ทั้งสถานการณ์โลกและในประเทศไทยว่า ภาพรวมสถานการณ์โลก พบว่าจำนวน ผู้ป่วยรายใหม่ ต่อวันทั่วโลก ลดลง 28% ส่วนผู้เสียชีวิตรายใหม่ต่อวันทั่วโลก ลดลง 20% เมื่อเทียบกับ 2 สัปดาห์ก่อนหน้า

ส่วนสถานการณ์การระบาดที่สหรัฐอเมริกาก็มีแนวโน้มดีขึ้นเช่นกัน ซึ่งเมื่อดูจำนวน ผู้ป่วยรายใหม่ จะเห็นว่าลดลง 43% ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตรายวัน ลดลง 29% เมื่อเทียบกับในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนหน้า

อย่างไรก็ดี แม้จะไม่ใช่ผลโดยตรงเพียงอย่างเดียว จากการเริ่มฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด ให้กับประชาชนในสหรัฐ แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลจากที่ สหรัฐมีความเข้มงวดมากขึ้น ในการใส่หน้ากากอนามัย เมื่อออกไปที่สาธารณะ การเว้นระยะห่าง และการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ที่เข้มงวดขึ้นกว่าปีก่อน จึงสามารถลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตลงได้

111 2

 

ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทย หลังการระบาดรอบใหม่มีแนวโน้มดีขึ้น จำนวนจังหวัดที่พบ ผู้ป่วยรายใหม่ เริ่มลดลง แม้ในภาพรวมประเทศ จะไม่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ 100% แบบการระบาดในรอบแรก อีกทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวัน ตลอดช่วง 7 วันที่ผ่านมา เริ่มลดลงมาอยู่ในระดับ 100 กว่าราย

ส่วนอัตราการเสียชีวิต เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศในรอบแรก อยู่ที่ 1.42% รอบใหม่อยู่ที่ 0.11% รวม 2 รอบเฉลี่ยเพียง 0.33% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิต ที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ซึ่งอยู่ที่ 2.21% จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกกว่า 110 ล้านคน

“แสดงให้เห็นว่า มาตรการในการดูแลผู้ติดเชื้อของไทย มีความเข้มข้น และทันท่วงที ทำให้อัตราการเสียชีวิตน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโลกมาก” นพ.เฉวตสรร กล่าว

ด้าน ผู้ป่วยรายใหม่ วันนี้ อยู่ที่ 130 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 61 ราย, มาจากการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 55 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 14 ราย

วันนี้พบผู้ติดเชื้อใน 6 จังหวัด โดยสมุทรสาครอยู่ที่ 71 ราย ปทุมธานี 22 ราย กรุงเทพมหานคร 7 รายนครปฐม 10 ราย พระนครศรีอยุธยา 4 ราย และนนทบุรี 2 ราย

222 1

กระทรวงสาธารณสุข ยังให้ข้อมูลถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ว่า สถานการณ์ในภาพรวมทั่วโลก มีการฉีดวัควีนไปแล้ว 80 ประเทศ ประชากรรับวัคซีนไปแล้ว 200 ล้านโดส โดยในสหรัฐฯ ฉีดวัคซีนไปแล้วราว 60 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรของสหรัฐ

ขณะที่ประเทศไทย วัคซีนซิโนแวกซ์ จะมาถึงไทยวันที่ 24 ก.พ.นี้อย่างแน่นอน และหลังจากได้ตรวจสอบประสิทธิภาพของวัคซีนแล้ว จะเริ่มฉีดให้กับบุคลากรด้านสาธารณสุข ที่ทำงานด่านหน้าก่อน 2 แสนโดส หรือ 1 แสนคน

การฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายถือว่ามีความสำคัญสูงสุด และจะพยายามฉีดวัคซีนให้คนไทยได้มากที่สุด เพื่อทำให้เกิดภูมิคุ้มกันระดับประเทศอย่างทั่วถึง ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เร็วที่สุด เพื่อทำให้เศรษฐกิจของไทยกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วที่สุด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo