COVID-19

ชงตั้ง ‘OQ’ พื้นที่ ตชด. 14 แห่ง คุมโควิดชายแดน ลักลอบเข้าเมือง

ศบค. เล็งตั้ง OQ กักกันผู้เดินทางผ่านแดน ลักลอบเข้าเมือง ประสานใช้พื้นที่กองบัญชาการตำรวจชายแดน 14 แห่งในจังหวัดชายแดน คาดใช้งบกว่า 860 ล้านบาท

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า มีการพูดคุยกันในที่ประชุม ศบค.ชุดเล็ก และเสนอให้จัดทำ Organization Quarantine (OQ) ในพื้นที่ชายแดน ที่มีการเดินทางเข้าออกประเทศ ทั้งที่ถูกกฏหมาย และลักลอบเข้าเมือง เพื่อให้เป็นสถานที่กักกัน ในพื้นที่ชายแดนดังกล่าว โดยจะใช้พื้นที่ของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (​ตชด.)

วัคซีนโควิดรพ.สนาม ๒๑๐๑๒๙

ทั้งนี้ เนื่องจาก การที่มีผู้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ผ่านชายแดนไทย ที่เป็นพื้นที่ริมขอบ ต้องมีการกักตัว เพื่อให้แน่ใจ และมั่นใจได้ว่า จะไม่นำโรคโควิด-19 เข้ามาในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานข้ามชาติ หรือผู้เดินทางผ่านแดน ตลอดจนกลุ่มที่ลักลอบเข้าเมือง

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหาสถานที่สำหรับกักตัว กลุ่มคนดังกล่าว ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด โดยจะเลือกจังหวัดเชายแดนประมาณ 14 แห่ง อาทิ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก, เชียงราย, ระนอง, สงขลา, จันทบุรี, สระแก้ว และหนองคาย เป็นต้น คาดใช้งบประมาณกว่า 860 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถกักตัวได้ประมาณ 84,000 คน

ขณะที่วันนี้ ได้ขออนุมัติในหลักการ ในการจัดตั้งสถานที่กักตัว Organization Quarantine ในที่ประชุม ศบค. แล้วเพื่อดำเนินการต่อไป โดยใช้โมเดลการบริหารจัดการที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว จากสถานที่กักกันตนของรัฐ หรือ ASQ

3 9

สำหรับ Organizational Quarantine (OQ) คือ การกักกันผู้เดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ ทั้งที่มีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งดำเนินการโดยองค์กรหรือหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด – 19 ตามหลักเกณฑ์/แนวทางที่รัฐกำหนด

ส่วนการบริหารจัดการ ต้องเป็นไปตามแนวปฏิบัติของคำสั่ง ศบค. ที่ 8/2563 ลงวันที่ 31 กรกฏาคม 2563 และแนวทางการดำเนินการ OQ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ฉบับวันที่ 30 กรกฏาคม 2563 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการในหลักการเดียวกับ State Quarantine และ Alternative State Quarantine ใช้ระบบการเฝ้าระวังอาการ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่นเดียวกับ State Quarantine

ทวีศิลป์

องค์กรหรือหน่วยงาน ที่ขอจัดตั้ง OQ จะต้องรับผิดชอบการจัดหาสถานที่ การบริหารจัดการ และค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดำเนินการ รวมทั้งต้องมีโรงพยาบาลคู่ปฏิบัติการ (partner) ในพื้นที่ ภายใต้การกำกับดูแลคุณภาพในการป้องกันและควบคุมโรคที่ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

การขอจัดตั้ง OQ ต้องได้รับการตรวจมาตรฐานโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมควบคุมโรค ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อร่วมตรวจระบบการป้องกันควบคุมโรค ที่จะต้องมีแนวทางการดำเนินการทางแพทย์ มีการจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม และด้านวิศวกรรมโครงสร้างอาคาร ที่ต้องเป็นระบบปิด แยกออกจากสถานที่สาธารณะ (detached facilities) และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เคร่งครัดตลอด 24 ชั่วโมง

ผู้เข้ารับการกักกันใน OQ จะต้องผ่านการคัดกรอง ติดตามอาการ และทำตามแนวปฏิบัติ (SOP) ในการดำเนินการระหว่างกักกัน ตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค สำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เช่น การตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิเป็นประจำทุกวัน มีการส่งรายงานข้อมูลประจำวัน การตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR 2 ครั้งในระหว่างการกักตัว 14 วัน เป็นต้น มีการตรวจเยี่ยมและประเมินผลหลังการดำเนินการแล้ว เพื่อรับรองมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มงวด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo