COVID-19

สธ. ชู ‘สมุทรสาครโมเดล’ สั่งทุกจังหวัดตรวจโควิด-19 ชุมชนแรงงานเมียนมา

สธ. ชู สมุทรสาครโมเดล ออก 7 มาตรการเข้ม สั่งทุกจังหวัด ตรวจโควิด – 19 เชิงรุก เน้นชุมชน แรงงานเมียนมา ย้ำสื่อสารประชาชน สวมหน้ากาก 100%

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผย ภายหลังการการประชุมทางไกล ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคโควิด – 19 ร่วมกับผู้บริหารส่วนกลางส่วนภูมิภาค และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ว่า สธ. ชู สมุทรสาครโมเดล

สธ. ชู สมุทรสาครโมเดล

ทั้งนี้ จะนำกรณีศึกษา จากการแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 ในจังหวัดสมุทรสาคร ออกมาเป็นข้อสั่งการ 7 ข้อ ประกอบด้วย

1. การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ไม่ให้ประชาชน เกิดความตื่นตระหนก โดยเฉพาะเรื่องของ ข่าวปลอม ต่าง ๆ

2. เน้นย้ำให้ประชาชน สวมหน้ากากตลอดเวลา หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมชน สังเกตอาการตนเอง โดยให้โรงพยาบาล เป็นพื้นที่ต้นแบบ สวมหน้ากาก 100%

3. เน้นย้ำ และตรวจสอบ มาตรการป้องกันควบคุมโรค ทั้งส่วนบุคคล และสถานที่ ดำเนินการอย่างเคร่งครัด ได้แก่ DMHT เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก จัดที่ล้างมือ หรือเจลแอลกอฮอล์ หากสงสัยให้เข้ารับการตรวจ เข้มการสแกนไทยชนะ และทำความสะอาดพื้นผิว จุดสัมผัสบ่อย ๆ

4. ลดกิจกรรม ที่มีการรวมตัวกัน จำนวนมาก ในกรณีจำเป็น ให้ปฏิบัติตาม มาตรการป้องกัน และ ควบคุมโรค อย่างเคร่งครัด

5. สุ่มตรวจกลุ่มแรงงานต่างด้าว ตามแนวทางที่ กรมควบคุมโรคกำหนด

6. ให้ทุกจังหวัด เตรียมเรื่องเตียง และ โรงพยาบาลสนาม

7. ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดูแลเรื่องการตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ ให้เพียงพอ และ รวดเร็ว

สมุทรสาครโมเดล

สำหรับ สถานการณ์โรคโควิด – 19 จังหวัดสมุทรสาคร สันนิษฐานว่า มาจากแรงงานเมียนมา จึงมีการตรวจคัดกรองเชิงรุก ในกลุ่มแรงงานเมียนมา บริเวณหอพัก ใกล้ตลาดกลางกุ้ง ทำให้พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก จึงสั่งปิดพื้นที่ดังกล่าว ให้เป็นพื้นที่ควบคุมโรคเด็ดขาด ห้ามเข้าออก เพื่อจำกัดวง การแพร่ระบาด

ส่วนจังหวัดที่มีผู้ป่วย  และพบว่า เกี่ยวข้องกับตลาดกลางกุ้ง เกิดจากการตรวจพบเชื้อ และ มีการสอบสวนโรค ติดตามผู้สัมผัส ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่เกิดการแพร่กระจาย เป็นการดำเนินงานเหมือนกรณี สนามมวยลุมพินี

นอกจากนี้ ยังสั่งการให้ทุกจังหวัด เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ โดยให้ อสม. ช่วยฝ่ายปกครอง สอดส่องผู้ที่มาจาก จังหวัดสมุทรสาคร ให้ไปแสดงตัว และประเมินความเสี่ยง โดยไม่จำเป็นต้องกักตัว หากมีความเสี่ยงสูง จะตรวจทางห้องปฏิบัติการ หากเสี่ยงต่ำ อาจให้แยกตัว กักตัว เพื่อเฝ้าระวังอาการ

นพ.เกัยรติภูมิ วงศ์รจิต

จากนั้น เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในจังหวัด ต้องสอบสวนโรค และติดตามผู้สัมผัส อย่างรวดเร็ว มีการคัดกรองเชิงรุก ในชุมชนแรงงานเมียนมา หากมีการติดเชื้อ อาจใช้สมุทรสาครโมเดล โดยการปิดพื้นที่ทำ OQ (Organization Quarantine) ซึ่งเป็นการจัดการสถานการณ์ อย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม จะปิดเฉพาะพื้นที่จุดเสี่ยง ไม่ได้เป็นการปิดทั้งจังหวัด และต้องสื่อสาร ให้ความรู้ประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก เนื่องจากการปิดพื้นที่ อาจทำให้ประชาชนกังวล และเดินทางออกจากพื้นที่

“ขอให้มีการซักซ้อมความเข้าใจ เรื่องเหล่านี้ รวมถึงขอให้ สถานประกอบการ ที่มีแรงงานเมียนมา จำนวนมาก ดำเนินการตรวจด้วย Rapid Test”นายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo