COVID-19

สิงห์อมควันยังหวาด ‘โควิด’ สูบน้อยลง 27% กลัวติดเชื้อ-ลดค่าใช้จ่าย

 

ศจย. เปิดผลวิจัยพบ แม้ 53% ยังมีพฤติกรรมซื้อและสูบบุหรี่เหมือนเดิม แต่มี 27% สูบน้อยลง เหตุกลัวกระทบกับสุขภาพ และต้องการประหยัด แต่ยังมีอีกลุ่มที่สูบเพิ่มอ้าง “เครียด”

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เปิดเผยว่า ได้จัดทำผลสำรวจพฤติกรรมการซื้อและการสูบบุหรี่ของคนไทย ในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ และเคอร์ฟิว จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ใน 2 ประเด็น ได้แก่ ผลกระทบต่อผู้สูบบุหรี่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และ ผลกระทบต่อการชื้อบุหรี่ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่มีการประกาศล็อกดาวน์ และเคอร์ฟิว

บุหรี่

ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 72.2% ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ทุกวัน ยังคงสูบบุหรี่เหมือนเดิมก่อนที่โควิด-19 จะระบาดถึง 55.3% แต่ที่น่าสนใจคือ การเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้คนไทยสูบบุหรี่น้อยลงถึง 27.1%ด้วยเหตุผล กลัวกระทบสุขภาพ 38.4% ตามด้วยต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย 37.2% และตั้งใจเลิกในช่วงวิกฤติอยู่แล้ 24.4%

นอกจากนี้ยังพบว่า ในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ และเคอร์ฟิว มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อบุหรี่ โดยคนไทยซื้อบุหรี่น้อยลง 30% สอดคล้องกับข้อมูลจากร้านสะดวกซื้อที่พบว่า ในช่วงดังกล่าวยอดจำหน่ายลดลง 25% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนล็อกดาวน์

1 10

อย่างไรก็ตาม อีกแง่มุมหนึ่งพบว่า ในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด มีคนสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 18.1% โดยให้เหตุผลว่าสูบมากขึ้นเพราะเครียด ที่เหลือระบุว่า สูบเพิ่มขึ้นเพราะไม่มีอะไรทำ อีกทั้งยังพบว่า มีพฤติกรรมการซื้อตุนมากขึ้นด้วย

ศ.นพ.รณชัย กล่าวว่า จากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของคนไทยในช่วงภาวะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ที่มีทั้งพฤติกรรมการสูบลดลงและสูบเพิ่มขึ้นนี้ ในกลุ่มที่สูบลดลงเพราะกลัวเรื่องเศรษฐกิจ และสุขภาพ สะท้อนได้ว่า บุหรี่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นในชีวิต รวมถึงมาตรการด้านการสื่อสารข้อมูล ที่เผยแพร่เรื่องการสูบบุหรี่ทำให้มีความเสี่ยงจากโควิด-19 มากขึ้น เห็นผล

2 8

ขณะที่ในกลุ่มที่สูบมากขึ้น ตัวเลขถึงจะน้อยแต่ไม่ควรมองข้าม เมื่อได้ทราบสาเหตุแล้ว ศจย.จะนำข้อมูลที่ได้ หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสุขภาพเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

Avatar photo