COVID-19

4 หนทาง สู่ New Normal ขนานแท้

“หมอแก้ว” ้ขอความร่วมมือ ปฏิบัติ 4 หนทาง ลดความเสี่ยงโควิด-19  ย้ำ ต้องปฏิวัติระบบทำงาน-ยึดวิถีป้องกันตัวเองต่อเนื่อง เข้าสู่ New Normal ขนานแท้ ไม่ใช่แค่ตอบโต้โควิด-19 ชั่วคราว  

10พค.63 ธนรักษ์สสส.แถลงข่าว 101
นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การมีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ของไทย 5 รายวันนี้ ( 10 พ.ค.) เป็นผู้ติดเชื้อจากกลุ่มผู้กลับจากต่างประเทศ 3 ราย และจากในประเทศ 2 ราย ไม่ได้แปลว่า เรามีผู้ติดเชื้อเท่านี้ เพราะหลายคนไม่แสดงอาการ ดังนั้นเราจะเบาใจไม่ได้ จนกว่าทุกประเทศทั่วโลก คุมโรคได้ หรือมีวัคซีนใช้ เราถึงจะเราถึงเข้าสู่ระยะ 3 คือ ระยะฟื้นฟู ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ทำแผนรองรับไว้แล้ว

อย่างไรก็ตามเรา กำลังเริ่มเปิดเมือง ก็ต้องใช้ชีวิตอย่างระวัง อยากให้เอกชนธุรกิจเดินได้ แต่หากเปิดมากจนขาดความระวัง ไม่ใส่หน้ากาก ไปสถานที่ผู้คนแออัด ความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นได้ จำนวนผู้ป่วยก็กลับมาเพิ่มอีก หากไม่อยากเห็นสถานการณ์นั้นกลับมา ก็ต้องปฏิบัติให้เหมาะสม

ดังนั้นนับจากวันนี้ กระทรวงสาธารณสุข ก็ขอความร่วมมือทุกคน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

covid 19 4940487 640

1. รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล โดยเหลื่อมเวลาทำงาน การจัดเจ้าหน้าที่ให้ทำงานที่บ้าน 70%  สถานที่ทำงาน ให้นั่งห่างกันอย่างน้อย 1.5-2 เมตร โดยเฉพาะสถานที่ปิด ต้องเว้นระยะให้มากที่สุด ไม่ให้แออัด ต้องมีฉากทึบกั้นสูง ป้องกันละอองฝอยกระเด็นข้าม จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง และรักษาความสะอาดของสถานที่ การจัดระบบคิวในการให้บริการ เพื่อลดความแออัดของพื้นที่สาธารณะลงให้ได้มากที่สุด เป็นต้น

2. ออกแบบวิศวกรรม ทั้งนี้เพื่อให้สถานที่ และสถานประกอบการ มีความปลอดภัยมากขึ้น ปิดแอร์ เปิดหน้าต่าง หรือ ติดพัดลมดูดอากาศ ให้อากาศระบาย หรือติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ

3. ปรับปรุงระบบการทำงาน เช่น จัดให้มีการประชุมทางไกล การเพิ่มธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต การเรียนรู้ทางไกล ผ่านเทคโนโลยี ทำให้ความแออัดลดลง

washing hands 4940196 640

4. ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย หรือ หน้ากากผ้า ล้างมือบ่อย ๆ รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด และใช้ช้อนกลางส่วนตัว

“มาตรการเหล่านี้ หลายเรื่องช่วยมากกกว่าการแก้ปัญหาโควิด-19 จึงควรทำต่อไป แม้โควิดหมดไปแล้ว ทั้งการทำงานที่บ้าน และเหลื่อมเวลาทำงาน เพราะนอกจากช่วยลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้วยังช่วยลดการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ และโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ลดปัญหาจราจร และลดฝุ่น PM 2.5 จึงเป็นสิ่งที่ควรจะอยู่ต่อไปให้นานที่สุด เท่าที่องค์กรทำได้ เราต้องปฏิรูประบบการทำงานกันจริงๆ ถึงจะเรียกว่า New Normal ไม่ใช่หมดภาวะฉุกเฉิน ก็เลิก ไม่เช่นนั้นก็เป็นเพียงแค่การตอบโตชั่วคราว “

mask 5136259 640

นพ.ธนรักษ์ ย้ำว่า ที่สำคัญ คือ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคล ต้องทำต่อไป ทั้งการใส่หน้ากากผ้า การล้างมือบ่อยๆ การกินของปรุงสุก การใช้ช้อนกลางส่วนตัว ไม่ว่าโควิดจะอยู่หรือไป เพราะสามารถป้องกันโรคอื่นแพร่ระบาดได้ด้วย เช่น โรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ และโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อุจจาระร่วง

ทั้งนี้มีคำถามบ่อยๆ คือ โควิดเกิดผลกระทบกับเราเยอะมาก แล้วจะจบเมื่อไหร่ เป็นคำถามที่ต้องถามคนไทยด้วยกันเอง เพราะคนที่จะมีพลังอำนาจยุติ ชะลอ ยับยั้งการแพร่ระบาดได้ คือ คนไทยทุกคน ต้องทำมาตรการป้องกันตัวเองต่อไป ส่วนสถานประกอบการก็เปิดด้วยความระมัดระวัง ให้มีความเสี่ยงต่ำที่สุด

“ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อแต่ละคน อยู่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อในชุมชนมากแค่ไหน ไทยถือว่าต่ำ และแต่ละคนออกไปสัมผัสผู้คนแต่ละวันแค่ไหน ออกไปเจอคนมาก ความเสี่ยงก็สูง หากเจอ 4-5 คนความเสี่ยงก็ต่ำ

และแต่ละสถานที่ที่ไป ก็เสี่ยงไม่เท่ากัน ในกรุงเทพเราเจอคนป่วยมาก ก็ต้องตีความว่า เจอผู้ป่วยตรงไหนก็ได้ สิ่งที่ควรทำเพื่อลดความเสี่ยง คือ ลดจำนวนผู้คน ที่เราจะออกไปสัมผัสแต่ละวัน ดังนั้นต้องออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ทำให้ต้องสนับสนุนการทำงานที่บ้าน และลดพื้นที่แออัดของรถโดยสารสาธารณะ

กรณีเปิดห้างสรรพสินค้า ตามมาตรการคลายล็อคในเฟสต่อๆไปนั้น สิ่งที่กลัว คือ คนจะไปเดินกันเต็มห้าง เราอยากให้ทุกที่เปิดได้ แต่ไม่ควรเปิดแล้ว เพิ่มความเสี่ยงให้กับประเทศ และตัวบุคคล ดังนั้นคนไปเข้าห้าง ก็ไม่ควรไปเพื่อเดินเล่น หรือพักผ่อนเหมือนเดิม แต่ต้องไปแบบมีเป้าหมาย ซื้อสิ่งที่ต้องการ และรีบกลับ ไม่ไปเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวเองและครอบครัว

ส่วนคนดูแลห้างก็ต้องลดความเสี่ยง คัดกรองคนมาเดินห้าง ให้ใส่หน้ากากผ้า ทำความสะอาดพื้นผิวบ่อยๆ อากาศต้องถ่ายเทให้มากที่สุด เพราะอากาศปิดจะเพิ่มความเสี่ยง ดังนั้นย้ำว่าระบบระบายอาการในห้างต้องปรับปรุงกันใหม่

“เราไม่กลัวที่จะเสี่ยง ขอให้รู้ว่าความเสี่ยงที่เพิ่มนั้น เราจัดการได้อย่างไร หากจัดการความเสี่ยงให้ต่ำที่สุด เราก็ทำเรื่องราวต่างๆ ที่เราตั้งใจทำได้ ห้างควรเปิด แต่ต้องเปิดให้มีความเสี่ยงต่ำที่สุดเช่นกัน ทุกคนต้องร่วมมือ ทั้งเจ้าของห้าง และคนที่ไปเดินห้าง “

Avatar photo