COVID-19

หมอศิริราช ไขรหัส ‘โควิด-19’ ระบาดจากเมืองอู่ฮั่นแน่นอน! ไม่ได้เกิดจากแล็บ ติดสู่คนผ่าน ‘ตัวนิ่ม’

“หมอมานพ” ศิริราช ยืนยันงานวิจัย โควิด-19 ต้นต่อแพร่ระบาดมาจาก “อู่ฮั่น” แน่นอน ไม่ได้มาจากแล็บ ต้นทางจากค้างคาว ผ่านตัวนิ่ม ก่อนติดสู่คน เหตุบริโภค “ตัวนิ่ม” 

Screenshot 20200411 193423 com.facebook.katana ปก

หลายคนยังคาใจเจ้าโรคร้าย โควิด-19 เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? ธรรมชาติ หรือมนุษย์ตั้งใจทำให้เกิด และพยายามหาคำตอบจากแหล่งต่งางๆ  ล่าสุด ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าสาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  โพสต์เฟซบุ๊ก ให้คำตอบเราคลายสงสงสัยกัน โดยระบุว่า ขอใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจอีกครั้งว่า ข้อมูลปัจจุบันได้พิสูจน์ จนสิ้นข้อสงสัยแล้วว่า ไวรัสนี้ไม่ได้หลุดมาจากแล็บ หรือถูกสร้างขึ้นมาอย่างที่หลายคนมโนกัน และไวรัสนี้มีต้นกำเนิดการแพร่ระบาดจาก” เมืองอู่ฮั่นประเทศจีน” จริง ๆ

เหตุผลที่กล้าพูดแบบนี้ ก็เพราะว่านักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ทำการศึกษารหัสพันธุกรรมของ SARS-CoV-2 กันอย่างทะลุปรุโปร่ง ทำ sequencing กันไปไม่รู้กี่รอบ (เผลอ ๆ รวมกันทั้งโลกน่าจะเกิน 1 ล้าน) ข้อมูลจากรหัสพันธุกรรมของ SARS-CoV-2 ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างชุดตรวจที่เราใช้กันทุกวันนี้ และศึกษากลไกการก่อโรคที่พบว่าเชื้ออาศัยตัวรับเป็นโปรตีน ACE2 บนผิวเซลล์มนุษย์, ศึกษาและสร้างวัคซีนเพื่อเอาไว้ป้องกันโรคในอนาคต และศึกษาอื่น ๆ อีกมากมาย

ข้อมูล ณ ตอนนี้สนับสนุน ว่า รหัสพันธุกรรมของ SARS-CoV-2 มีความคล้ายคลึงกับ SARS-CoV และ MERS-CoV ซึ่งก่อให้เกิดโรค SARS และ MERS ที่เคยระบาด ไปก่อนหน้านี้ เป็นไวรัสที่มี RNA เป็นสารพันธุกรรมในตระกูล coronaviridae กลุ่มที่เรียกว่า beta-coronaviridae มีญาติสนิทที่รู้จักกันดีนอกจาก SARS-CoV และ MERS-CoV แล้ว ยังมีเชื้อชื่อแปลก ๆ อย่าง OC43 และ HKU1 ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้หวัดปกติที่เราเป็นกันอยู่แทบทุกปี

ข้อมูลรหัสพันธุกรรมของ SARS-CoV-2 ยังบอกเราอีกว่า ไวรัสนี้มีเครือญาติใกล้ชิดกับไวรัส ที่อาศัยอยู่ในค้างคาว จึงเชื่อได้ว่าแหล่งต้นกำเนิดของไวรัสนี้มาจากค้างคาว เช่นเดียวกับ SARS-CoV และ MERS-CoV

แต่คุณหมอ ระบุว่า การแพร่ของเชื้อมายังมนุษย์ ไม่ได้เกิดจากการรับเชื้อจากค้างคาวโดยตรง และให้เรา เลิกเชื่อกันได้แล้วว่ากินค้างคาวแล้วเป็น COVID-19  แต่น่าจะส่งผ่าน จากค้างคาวไปยังตัวนิ่ม (pangolin) ก่อน พออาศัยในตัวนิ่มอยู่ซักพัก จากนั้นมนุษย์ ก็คงจับตัวนิ่มไปทำอะไรซักอย่าง คุณหมอ บอกว่า ก็คงเอาไปกิน ก็เลยสัมผัสเชื้อมา โมเดลนี้คล้ายคลึงกับ MERS ที่พบว่าค้างคาวเป็นแหล่งต้นกำเนิด โดยมี “อูฐ” รับเชื้อจากค้างคาวมา ก่อนจะส่งไม้ต่อให้มนุษย์อีกที

ด้วยความที่มันเป็น RNA virus นักวิทยาศาสตร์ จะทราบดีว่าจีโนม หรือรหัสพันธุกรรม มันไม่เสถียร เกิดการกลายพันธุ์ได้บ่อย เมื่อไวรัสแบ่งตัวออกลูกหลานมาก ๆ และแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง ซึ่งเราเห็นตัวอย่างดีใน HIV (retrovirus) หรือไข้หวัดใหญ่ (orthomyxovirus) ซึ่งกลายพันธุ์บ่อยมาก จนเราต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่กันทุกปี เพราะสายพันธุ์เปลี่ยนบ่อยจนภูมิคุ้มกันเดิมป้องกันสายพันธุ์ใหม่ไม่ได้ แม้ genome (ข้อมูลทางพันธุกรรม) ของ โคโรนาไวร้ส (coronavirus)  จะเสถียรกว่า HIV หรือไข้หวัดใหญ่ แต่ก็ยังกลายพันธุ์ได้เรื่อย ๆ

โควิด11

คุณหมอ บอกอีกว่า นักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์ของการกลายพันธุ์ ที่เกิดขึ้นเองนี้ ในการติดตามดูว่า SARS-CoV-2 นี้มีแบบแผนการระบาดอย่างไร แพร่จากเมืองไหน ประเทศไหน กระจายไปประเทศไหน

ทำให้เราบอกเส้นทางการแพร่ระบาดได้ และ 1 ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ที่ติดตามเส้นทางการแพร่ระบาดโดยอาศัยข้อมูลการกลายพันธุ์ของไวรัส คือ NextStrain project (https://nextstrain.org/) ซึ่งรวบรวมข้อมูล RNA sequence ของไวรัสที่แยกได้จากผู้ป่วยที่ต่าง ๆ ทั่วโลก มาวิเคราะห์แล้วสร้างเป็น phylogenetic tree เหมือนแผนผังเครือญาติ ทำให้เรารู้เส้นทางการกระจายของเชื้อได้แม่นยำ

ในภาพข้างต้น จะเห็นว่าต้นสาย ของไวรัสนี้มาจากจีน (สีม่วง) แล้วต่อสายแพร่ในเอเชีย (ฟ้า) ในขณะที่อีกสายหนึ่งแยกไประบาดในยุโรป (เขียว-เหลือง) ส่วนอเมริกานี่ซับซ้อนหน่อย ตรงที่การระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นที่รัฐ Washington เป็นไวรัสที่มาจากจีนโดยตรง ในขณะที่การระบาดใน New York, New Jersey เกือบทั้งหมดมาจากยุโรป และออสเตรเลีย ก็คล้ายกัน คือช่วงแรกรับตรงจากจีน ช่วงหลังนำเข้าจากยุโรปและอเมริกา

ส่วนไวรัสที่ระบาดในเมืองไทย เป็นสายพันธุ์นำเข้าจากจีน โดยคุณหมอ ระบุว่า น่าเสียดายที่มีข้อมูล submit ในช่วงต้น หรือ เดือนมกราคม 2563  จาก รพ.บำราศนราดูรเท่านั้น ไม่เห็นข้อมูลเพิ่มเติม

(ผลงานวิจัยอ้างอิง: ศึกษาที่มาของไวรัสซึ่งสนับสนุนว่าเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตีพิมพ์ใน Nature Medicine >> https://www.nature.com/articles/s41591-020-0820-9) 

เพิ่มเติมข้อมูลอีกเล็กน้อย สำหรับคนที่ถามเกี่ยวกับข่าวว่า SARS-CoV-2 มี 3 สายพันธุ์ รุนแรงต่างกัน ข้อมูลล่าสุดที่คนมักอ้างถึงจากเว๊ปข่าวต่างประเทศ ว่ามี subtype A, B, C  (มาจากผลงานตีพิมพ์ใน PNAS เมื่อ 3 วันก่อน)

โควิด12

โดยสรุปก็คือ คุณหมอ บอกว่า เขาศึกษาแบบ NextStrain (เพื่อวิเคราะห์และติดตามการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมในช่วงการระบาด ) โดยใช้ข้อมูลจาก GISAID (https://www.gisaid.org/) รวบรวมเชื้อได้ 160 ตัวอย่าง แบ่งออกมาเป็น subtype A (ancestral L-type ), B (S-type ) และ C ตามการกลายพันธุ์ของไวรัส จุดประสงค์ ก็เหมือนกัน คือใช้ในการติดตามรูปแบบ และเส้นทางการระบาด … ยังไม่สามารถเอาไปทำนายความรุนแรงอะไรได้ในขณะนี้

ทั้งนี้คุณหมอ ให้ติดตามไปอ่านรายละเอียดกันได้ที่ : https://www.pnas.org/content/early/2020/04/07/2004999117

ุคุณหมอ ให้ข้อสังเกต อย่างหนึ่ง คือ ข้อมูลการเปรียบเทียบ genome sequence จากอู่ฮั่น ตีพิมพ์เมื่อต้นเดือนมีนาคม เชื่อว่า L-type เป็น strain ใหม่ที่กลายพันธุ์มาจาก S-type (https://academic.oup.com/…/…/doi/10.1093/nsr/nwaa036/5775463) และอาจรุนแรง (aggressive) กว่า เพราะตรวจพบ ในประชากรอู่ฮั่นมากกว่าในสัดส่วน 70:30 กลายเป็นข่าวใหญ่โตมาก

แต่พอรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น ดันกลับกัน เพราะเห็นว่า S-type ( subtype B ) เป็นกลุ่มที่ระบาดออกไปในวงกว้างนอกประเทศจีน คือไปยุโรป และน่าจะเป็นสายที่กลายพันธุ์ต่อมาจาก L-type (subtype A) ชี้ให้เห็นว่า การเจอว่า subtype ไหนระบาดมาก ไม่ได้แปลว่ารุนแรงกว่า ต้องอาศัยข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติมด้วย 

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight