COVID-19

‘หมอธีระวัฒน์’ เตือน โพสต์ข้อมูลแบบไม่เข้าใจ ขวางการควบคุมโรค

วันนี้ (7 เม.ย.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา  หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเพจ  “ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha” ระบุว่า การเผยแพร่ข่าวที่เป็นเท็จ จากการที่ขาดความรู้ความเข้าใจ เท่ากับเป็นการขัดขวางการควบคุมโรคของประเทศไทย

thee

การเผยแพร่ข่าวที่เป็นเท็จ จากการที่ขาดความรู้ความเข้าใจ เท่ากับเป็นการขัดขวางการควบคุมโรคของประเทศไทย  เป็นการโพสต์ข้อมูลจากผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องของการหาโรคที่กำลังเป็นอยู่และที่กำลังจะหาย หรือหายแล้ว 

จริงอยู่การตรวจหาแอนติบอดี ที่เป็นการตรวจอย่างรวดเร็วหลายบริษัทใช้ไม่ได้ และอยู่ในระหว่างการสอบสวน แต่การพูดในลักษณะของการตรวจโดยวิธีนี้ทั้งหมดว่าใช้ไม่ได้ และต้องใช้ pcr อย่างเดียว แสดงว่าต้องไปทำการเรียนเรื่องนี้ใหม่หมด 

92455637 3316767315023466 8432592163077881856 o

การที่จะทราบว่าการตรวจอย่างรวดเร็วเช่นนี้มีมาตรฐานหรือไม่

  1. เปรียบเทียบกับการตรวจแอนติบอดีชนิดอื่น เช่น ELISA และผลเทียบเคียงกันได้
  2. ผลที่ได้อาจจะไม่ตรงกับการตรวจ PCR ณ จุดเวลาเดียวกัน เนื่องจาก PCR เป็นการหาเชื้อ แต่การพบแอนติบอดีเป็นหลักฐานของการติดเชื้อ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นก่อน หน้าจะมีการแพร่เชื้อออกมา หรือเป็นจุดของเวลาที่หยุดการแพร่เชื้อแล้ว และเป็นเหตุผลให้ต้องมีการดูทั้ง IgM และ IgG
  3. การตรวจแอนติบอดีในคนคนเดียวกันที่ติดเชื้อ เมื่อทำการตรวจต่อเนื่องจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงจาก IgM ซึ่งเป็นแอนติบอดีที่เกิดขึ้นก่อน หลังจากที่มีการติดเชื้อไม่นาน และบ่งบอกว่าเป็นช่วงที่ต้องระวังว่ากำลังจะแพร่เชื้อหรือแพร่เชื้ออยู่ หรือที่คนชอบเรียกว่าเป็นทัพหน้า และจากนั้นจะเกิด IgG ซึ่งเป็นทัพหลังและมีคุณสมบัติในการป้องกันโรคและใครที่มี IgG จะเริ่มกลับไปทำงานได้
  4. การตรวจแอนติบอดีในกลุ่มคนที่อยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงต่างกัน เช่นคนที่ทำงานคลุกคลีกันอย่างใกล้ชิด และไม่ได้มีเครื่องป้องกันชัดเจน กับคนที่ระมัดระวังตัวตลอด พบว่าในกลุ่มคนกลุ่มแรกนั้น มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อมากกว่าอย่างชัดเจน

antiii

Avatar photo