ศูนย์จีโนมฯ ยกผลวิจัย-ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก ยันลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดของศพ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 แนะไทยทำโพลล์หาความจริง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เรื่อง การพบลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดของศพ มีสาเหตุมาจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่ โดยระบุว่า
มีวิดีโอยูทูปที่ชื่อ เสียชีวิตกะทันหัน 2022 (died suddenly 2022) เผยแพร่สะพัดบนโซเชียลมีเดียเมื่อปี 2565 หรือ 2 ปีที่แล้ว โดยอ้างว่าพบลิ่มเลือดหลังการชันสูตรศพ เป็นหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นว่าฝ่ายหนึ่งมีแผนลดจำนวนประชากรโลกโดยใช้การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีนี้
วิดีโอดังกล่าวนำเสนอว่า มีผู้ฉีดยารักษาศพ และผู้อำนวยการงานศพจำนวนหนึ่งเปิดเผยว่า พบลิ่มเลือดขนาดใหญ่ในศพ ถือเป็นความผิดปกติที่ไม่เคยพบมาก่อน และคาดว่าเกิดจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้หักล้างคำกล่าวอ้างเหล่านี้ โดยระบุว่าลิ่มเลือดดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นลิ่มเลือดที่พบบ่อย หลังการชันสูตรพลิกศพ
สมาคมผู้อำนวยการงานศพแห่งชาติ (สหรัฐ) เน้นย้ำว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านงานศพและฉีดยารักษาศพ ไม่มีคุณสมบัติที่จะสรุปผลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิดและลิ่มเลือด
วิดีโอดังกล่าว ยังรวมถึงฟุตเทจที่นำมาจากวิดีโอการศึกษาทางการแพทย์ ที่โพสต์บน YouTube ในเดือนเมษายน 2019 ซึ่งแสดงให้เห็นขั้นตอนที่เรียกว่า การผ่าตัดเอาหลอดเลือดอุดตันในปอด ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่อย่างใด
องค์กรอิสสระ FactCheck.org ได้ตรวจสอบคลิปวิดีโอดังกล่าวแล้วพบว่า เป็นข้อมูลไม่ถูกต้อง (fake news) https://www.factcheck.org/…/scicheck-died-suddenly…/
ล่าสุดนายนายทหารสหรัฐนอกราชการ Thomas Haviland ได้นำเสนอข้อมูลลักษณะดังกล่าวอีกครั้ง โดยการจัดทำโพล์ที่ไม่แสดงแหล่งอ้างอิง สอบถามไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการฉีดยารักษาศพ และส่งข้อมูลที่สรุปได้ไปยังหน่วยงานด้านสาธารณสุขในสหรัฐ กล่าวคือ US NIH, US CDC ให้พิจารณาถึงความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด-19 รวมทั้งให้สัมภาษณ์ในรายการของ Dr. John Cambell อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังของอังกฤษในด้านสุขภาพ
https://www.youtube.com/watch?v=4rAoqhTUU0g&t=2572s
สำหรับในไทยหากประสงค์จะตรวจสอบการเกิดลิ่มเลือดขนาดใหญ่ในหลอดเลือดจากศพบ้างหรือไม่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถทำโพลล์สอบถามผู้ที่มีหน้าที่ฉีดยารักษาศพได้เช่นกัน โดยอาจสอบถามว่า
ก่อนปี 2562 พบลิ่มเลือดในหลอดเลือดของศพหรือไม่ (ยังไม่เกิดการระบาดของโควิด-19)
ปี 2563 พบลิ่มเลือดในหลอดเลือดของศพหรือไม่ (ไวรัสอู่ฮั่นและไวรัสอัลฟา ระบาด ยังไม่มีวัคซีน)
ปี 2564-2565 พบลิ่มเลือดในหลอดเลือดของศพหรือไม่ (มีการระดมวัคซีนโควิด-19 มีผู้เข้ารับการฉีดถึง 80%)
ปี 2024 พบลิ่มเลือดในหลอดเลือดของศพหรือไม่ (มีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ลดลง) หากพบมีมากหรือน้อยเมื่อเทียบกับปี 2564-2565
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- แพทย์นิติเวช ยืนยันผู้รับวัคซีน mRNA เสียชีวิต พบสิ่งประหลาดในหลอดเลือด ไม่ใช่เรื่องจริง
- ‘หมอธีระ’ โต้ข่าวลวงปั่นให้กลัววัคซีน ผลกระทบวัคซีน mRNA ไม่ใช่เรื่องจริง
- ทำความเข้าใจภาวะลองโควิด vs ลองแวกซ์ ย้ำฉีดวัคซีนลดเกิดลองโควิด
ติดตามเราได้ที่
- เว็บไซต์: https://www.thebangkokinsight.com/
- Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
- X(Twitter): https://twitter.com/BangkokInsight
- Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
- Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg