COVID-19

สมาพันธ์บุคลากรสาธารณสุขชายแดนใต้ ร้อง ‘อนุทิน’ ทวงถาม ‘ค่าเสี่ยงภัยโควิด’

สมาพันธ์บุคลากรสาธารณสุขชายแดนใต้ ยื่นแถลงการณ์ “อนุทิน-ปลัดสธ.” ทวงถามความชัดเจน ค่าเสี่ยงภัยโควิด ฉบับ 10 เหตุจ่ายค่าเสี่ยงภัยให้แค่ 4 วิชาชีพ 

สมาพันธ์บุคลากรสาธารณสุขชายแดนใต้ ออกแถลงการณ์เรียกร้องความเป็นธรรมจาก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งทวงถามความชัดเจน กรณีค่าตอบแทนฉบับที่ 10 ชายแดนใต้ ที่ครอบคลุมทุกวิชาชีพ ทุกสายงานที่ปฏิบัติงานในชายแดนใต้

ค่าเสี่ยงภัยโควิด

ทั้งนี้  นายริซกี สาร๊ะ เลขาธิการสมาพันธ์เครือข่ายบุคลากรสาธารณสุขชายแดนใต้ ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือเพื่อติดตามแนวทางการแก้ไขความเหลื่อมล้ำ ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยบุคลากรสาธารณสุขชายแดนใต้ ถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)

นายริซกี กล่าวว่า จากการที่ สธ. ประกาศหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนบุคลากรสาธารณสุขชายแดนใต้ (ฉบับ10) โดยใช้เงินบำรุงแค่ 4 วิชาชีพ (แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ) ในอัตรา 1,000-1 หมื่นบาท ต่อเดือน

กรณีดังกล่าว นับเป็นความเหลื่อมล้ำ และส่งผลต่อขวัญกำลังใจผู้ปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากในจังหวัดชายแดนใต้มีสหวิชาชีพอื่น ๆ และสายงานอื่น นอกเหนือจาก 4 วิชาชีพข้างต้น ร่วมกันปฏิบัติงานด้วยความเหน็ดเหนื่อย และมีความเสี่ยงภัยไม่แตกต่างกัน

111 1

ที่ผ่านมาสมาพันธ์ฯ ได้ยื่นข้อเสนอและติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2559 จนมีการตั้งคณะทำงานร่างหลักเกณฑ์ฉบับ 10 ของเขตตรวจสุขภาพที่ 12 ในเวลาต่อมา และมีการเสนอร่างฉบับปรับปรุงต่อ สธ. กรมบัญชีกลาง และกระทรวงการคลัง ในปี 2562

จนถึงขณะนี้ สธ.ไม่เคยประกาศหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนฉบับ 10 ฉบับปรับปรุง แต่มีการประกาศให้ค่าตอบแทนเฉพาะ 4 วิชาชีพ อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา

แถลงการณ์

นอกจากนี้ ในการออกหลักเกณฑ์ค่าตอบแทน 5 ฉบับ ตาม ว.79 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 มีการปรับปรุงรายละเอียดทุกฉบับ โดยเฉพาะค่าตอบแทนชายแดนใต้ ที่มีการลงนามประกาศใช้โดยผู้มีอำนาจลงนามของ สธ. และปรากฏสาระสำคัญที่ให้สหวิชาชีพได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติม ตรงกับร่างของเขตตรวจสุขภาพที่ 12 ที่เคยยื่นเสนอมา แต่กลับมีความพยายามตัดทอนข้อความที่เป็นสาระสำคัญ 2-3 รอบในภายหลัง โดยไม่ทราบเหตุผล

นายริซกี กล่าวอีกว่า หลังจากยื่นหนังสือถึงท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ ปลัดสธ.แล้ว จะยื่นไปยังคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร และหากยังไม่ได้รับคำตอบก็จะยื่นเรื่องไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)  และศาลปกครองต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo