COVID-19

WHO เตรียมรับมือ ‘โรคเอ็กซ์’ ที่ระบาดในอัฟกานิสถาน ติดเชื้อเกือบร้อย คร่าชีวิตแล้ว 17 ราย หวั่นระบาดทั่วโลก

WHO เตรียมรับมือ ‘โรคเอ็กซ์’ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง กำลังระบาดในอัฟกานิสถาน คร่าชีวิตแล้ว 17 รายหวั่นระบาดทั่วโลก

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics  ระบุว่า องค์การอนามัยโลก กำลังเฝ้าติดตาม โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง ในอัฟกานิสถาน ข้อความดังนี้

โรคเอ็กซ์

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังเฝ้าติดตามการระบาดของ “โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง” ในหมู่บ้านปามีร์ คาลัน (Pamir Kalan) ในจังหวัดบาดัคชาน (Badakhshan) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน โดย WHO ได้กำหนดให้มีการรับมือภายใต้โค้ดเนม “โรคเอ็กซ์”

WHO ระบุว่าขณะนี้มีผู้ติดเชื้อโดยไม่ทราบสาเหตุว่าเป็นจุลชีพหรือไวรัสประเภทใดจำนวน 97 ราย ในหมู่บ้านปามีร์ คาลัน เสียชีวิตแล้ว 17 ราย

โรคเอ็กซ์

WHO เตรียมแผนรับมือ

WHO ได้ประสานให้ความช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะผู้สูงอายุและเด็กในหมู่บ้านดังกล่าวที่เข้าถึงลำบากเนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย หิมะตกหนักทำให้ “ทีมเผชิญเหตุ” ยังไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ แต่ยาและเวชภัณฑ์ได้ถูกส่งไปยังพื้นที่ระบาดล่วงหน้าแล้ว

WHO ได้เตรียมแผนรับมือโรค X (disease X) เป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565  “โรคเอ็กซ์” หมายถึงโรคติดเชื้อจากบรรดาจุลชีพหรือไวรัสก่อโรคที่เราไม่รู้จัก หรือยังรู้จักไม่เพียงพอ ซึ่งมีศักยภาพในการก่อให้เกิดโรคระบาดร้ายแรงระหว่างประเทศได้

โดย WHO เร่งอัปเดตรายชื่อเชื้อโรคที่สำคัญที่สามารถทำให้เกิดการระบาดและโรคระบาดทั่วโลก และประเทศต่างๆควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดย WHO ได้รวม“โรค X” ไว้ในรายการด้วย

โรคเอ็กซ์

โรคเอ็กซ์ 1 ใน 10 โรคที่ WHO ระบุว่าเป็นโรคที่สามารถระบาดไปทั่วโลก

พร้อมจัดลำดับความสำคัญครั้งสุดท้ายในปี 2561 รายชื่อปัจจุบันประกอบด้วย โควิด-19, ไข้เลือดออกไครเมียคอง, โรคไวรัสอีโบลาและโรคไวรัสมาร์บวร์ก, ไข้ลาสซา, โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) และ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS), โรคนิปาห์และโรคเฮนิปาไวรัส, ไข้ริฟต์วัลเลย์, ซิกา และ “โรค X”

WHO กำลังเร่งปรับปรุงรายชื่อเพื่อเป็นแนวทางให้ทั่วโลกทั้งภาครัฐ เอกชน และ NGO ร่วมกันลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวัคซีน การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ และการรักษา เพื่อจะผลิตภัณฑ์ใช้ได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดการระบาด

โรคเอ็กซ์

กระบวนการอัปเดตเริ่มต้นเมื่อปลายเดือนตุลาคม 2565 โดยอาศัยนักวิทยาศาสตร์กว่า 300 คนทั่วโลก มาร่วมกันวิเคราะห์หลักฐานเกี่ยวกับตระกูลไวรัสและแบคทีเรียมากกว่า 24 ตระกูล  มุ่งเน้นไปที่สายพันธุ์ที่ยังไม่มียารักษา ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน เป็นอันดับแรก

รายการเชื้อโรคที่สำคัญนี้ได้กลายเป็นจุดอ้างอิงสำหรับนักวิจัยทั่วโลก ว่าควรมุ่งเน้นสรรพกำลังเพื่อจัดการกับภัยคุกคามต่อประชาชนในระดับพื้นที่

โรคเอ็กซ์

มีไวรัส 219 ชนิด ที่พร้อมจะแพร่ติดต่อมาสู่คน

ปัจจุบันมีไวรัสไม่น้อยกว่า 320,000 ชนิดที่แพร่ติดต่ออยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่ไวรัสที่พบติดต่อและก่อโรคในมนุษย์มีเพียง “219 ชนิด” หรือเป็นเพียง “0.06%” อันหมายถึงยังมีไวรัสอีกมากจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พร้อมจะแพร่ติดต่อข้ามมาสู่คนหากมีโอกาสเหมาะ

นายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง ของสิงคโปร์ได้เตรียมพร้อมรับมือ “โรค X” เช่นกัน (ชมคลิป  https://www.youtube.com/watch?v=jGVJFS5UvZc&t=126s )

โรคเอ็กซ์

ในส่วนของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีได้เตรียมพร้อมสนับสนุนภาครัฐถอดรหัสพันธุ์จาก ทั้งดีเอ็นเอ และ อาร์เอ็นเอ ที่สกัดได้จากสิ่งส่งตรวจประเภทต่างๆ จากผู้ติดเชื้อที่คาดว่าเป็น“โรค X” รวมทั้งจากสิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์หาว่าเป็นจุลชีพหรือไวรัสสายพันธุ์ใดจากสิ่งส่งตรวจให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งสัปดาห์ เพื่อตอบโจทย์ของ “โรค X”

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม โรค X (disease X) คืออะไร และเหตุใดองค์การอนามัยโลกจึงเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด?

https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid0FN32964s9hrSWouew2F3mEDMN6qr2wHGHp2ivA6B5AkgJ3kW84wwgKVYHnoJ7fN6l

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo