COVID-19

ศูนย์จีโนม ระบุ ‘โอไมครอน BN.1.3’ ครองพื้นที่ในไทยแล้ว 45% คาดแทนที่ ‘BA.2.75’ ไตรมาสแรก ปีนี้

ศูนย์จีโนม ระบุ ‘โอไมครอน BN.1.3’ ครองพื้นที่ในไทยแล้ว 45% คาดแทนที่ ‘BA.2.75’ ไตรมาสแรก ปีนี้

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุ โอไมครอน “BN.1.2 และ BN.1.3” คาดจะมาแทนที่ BA.2.75 ในไทย ดังนี้

โอไมครอน “BN.1.2 และ BN.1.3”  ขณะนี้พบระบาดในไทยมากที่สุดในโลก คาดว่าจะมาแทนที่ โอไมครอน BA.2.75 ในไทยภายในไตรมาศแรก

ส่วนเดลตาครอน “XAY.2” จากรหัสพันธุกรรม (ประเมินจาก XAY.1.1) คาดว่าจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและจับกับผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อได้ไม่ดีเท่ากับโอใมครอน BN.1.3

โอไมครอน BN.1.3

BN.1.3 ครองพื้นที่ในไทยแทน BA.2.75 ในไตรมาสแรก

จากการวิเคราะห์ข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดทั้งจีโนม ที่หน่วยงานไทยนำโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ฯและภาคี ที่ได้อัปโหลดไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ใน 1 เดือนที่ผ่านมา (1ธันวาคม 2565-6 มกราคม 2566) จำนวน 161 ตัวอย่าง

พบว่าเป็นโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BN.1.3 ซึ่งมีส่วนแบ่งการระบาดในไทยเพิ่มขึ้นถึง 45% ติดตามด้วย BN.1.2 ประมาณ 16%  ส่วนอันดับที่ 3 ห่างจากอันดับหนึ่งและสองค่อนข้างมากคือ โอใมครอน CH.1.1  มีส่วนแบ่งการระบาดในประเทศประมาณ 5%

โอไมครอน BN 1.3, BN.1.2 และ CH1.1 เป็นรุ่นลูกและรุ่นหลานของโอไมครอน BA.2.75 ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งการระบาดในเดือนธันวาคม 2565 ลดลงเหลือเพียงประมาณ 1%

ภาพ 1-2

โอไมครอน BN.1.3

โอไมครอน BN.1.3

โอไมครอน BN.1.2   เดิมพบระบาดในญี่ปุ่น 18.0% เดนมาร์ก 12.0% ออสเตรเลีย 12.0% สหรัฐอเมริกา 9.0% เกาหลีใต้ 9.0% แต่ปัจจุบันพบระบาดในกัมพูชามากที่สุดในโลกถึง 27%  รองลงมาคือไทย 24%

ภาพ3

โอไมครอน BN.1.3

โอไมครอน BN.1.3 เดิมพบการระบาดในสหรัฐอเมริกา 16.0% ออสเตรเลีย 13.0% เยอรมนี 10.0% ญี่ปุ่น 9.0% เกาหลีใต้ 9.0% ปัจจุบันพบระบาดในประเทศไทยมากที่สุดในโลกถึง 34%  รองลงมาคือกัมพูชา 16%

ภาพ4

โอไมครอน BN.1.3

ในไทยพบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BN.1.3 มีส่วนแบ่งการระบาดมากที่สุดถึง 45% จากการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม พบโปรตีนส่วนหนามมีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโอไมครอน BA.2.75 จำนวน 4 ตำแหน่งคือ G339H, R346T, K356T, และ F490S (ภาพ5)

ส่งผลให้ BN.1.3 จับกับผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อได้แน่นกว่าโอไมครอน XBB.1.5 แต่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่า XBB.1.5 และ BQ.1.1

โอไมครอน BN.1.3

XAY.2 ฝ่าด่านยาก

ส่วนเดลตาครอน XAY.2 ที่พบในไทยหนึ่งรายมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ใกล้เคียงกับ XBB.1.5  ไม่มากนักคือประมาณ 34% (ภาพ10) ส่วนเดลตาครอน XAY.1.1 คำนวณจากรหัสพันธุกรรมพบว่ามีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและการจับกับผิวเซลล์ที่ด้อยกว่าโอไมครอน BN.1.3 และ XBB.1.5 ตามลำดับ

ทำให้พอประเมินจาก XAY.1.1 ได้ว่า XAY.2 ที่พบในไทย 1 ราย (ซึ่งยังไม่มีจำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมมากพอ ที่จะคำนวณหาประสิทธิภาพการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและการจับกับผิวเซลล์) น่าจะฝ่าด่านโอไมครอน BN.1.3 เข้ามาแพร่ระบาดในไทยได้ยาก

ภาพ6

6 4

จากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของโควิดในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่าโอไมครอนสายพันธุ์หลักในสหรัฐอเมริกา “XBB.1.5” ยังคงครองความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าโควิดทุกสายพันธุ์ในโลก และมากกว่าโอไมครอน “BN.1.3” ที่กำลังระบาดในไทยถึง 112 % (ภาพ7)

ในขณะที่ BN.1.2 และ BN.1.3  มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า BA.2.75 ไม่มากนักคือประมาณ 36% และ 33% ตามลำดับ

ภาพ 8-9

7 5

ถอดรหัสพันธุกรรมโควิด เร่งควบคุมการระบาด และเตรียมวัคซีนป้องกัน

ดังนั้นจึงมีความเป็นที่จำเป็นอย่างมาก ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขไทยทั้งภาครัฐ จิตอาสา และเอกชนต้องร่วมด้วยช่วยกันสุ่มตรวจ PCR และถอดรหัสพันธุกรรมโควิดทั้งจีโนม (genomic surveillance) ที่พบการติดเชื้อในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและในทันที เพื่อชี้เป้าให้หน่วยการที่เกี่ยวข้องเข้าควบคุมจำกัดวงการระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่

8 2

รวมทั้งมีข้อมูลล่าสุดของการกลายพันธุ์ของโควิด เพื่อเตรียมวัคซีนในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิต และเตรียมความพร้อมด้านยาต้านไวรัสที่เหมาะสม เพื่อการรักษาลดระยะเวลาของผู้ติดเชื้อในการเข้ารักษาตัวใน รพ. ให้สั้นลง และลดอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง 608 เมื่อมีการติดเชื้อได้ทันท่วงที

9 2

10 2

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo