COVID-19

ดร.อนันต์ เฉลย ระหว่าง ‘XBB.1.5’ กับ ‘BA.2.75’ ที่กำลังระบาดในไทย สายพันธุ์ไหนน่ากลัวกว่ากัน?

ดร.อนันต์ เฉลย ระหว่าง ‘XBB.1.5’ ที่ทั่วโลกกำลังจับตา กับ ‘BA.2.75’ ที่กำลังระบาดในไทย สายพันธุ์ไหนน่ากลัวกว่ากัน

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เปรียบเทียบโมไมครอนสายพันธุ์ XBB.1.5 ที่กำลังระยาดในอเมริกา และ BA.2.75 ที่ระบาดในไทย ดังนี้

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.5 กำลังเป็น talk of the town ครับ เพราะเชื่อว่ากำลังครองพื้นที่ในสหรัฐอเมริกาและอาจจะในยุโรปในไม่ช้า XBB.1.5 เป็นไวรัสสายพันธุ์ย่อยที่แตกมาจาก XBB เดิมซึ่งเคยระบาดในอินเดีย และ สิงคโปร์มาเมื่อไม่กี่เดือนก่อน

XBB.1.5

เชื่อว่า XBB ไปเปลี่ยนตัวเองต่อเมื่อเริ่มกินพื้นที่ในสหรัฐอเมริกา การเปลี่ยนแปลงของ XBB.1.5 เทียบกับ XBB เดิมมีไม่มากครับ บนหนามสไปค์มีเปลี่ยนแค่ 2 ตำแหน่ง

XBB.1.5

XBB.1.5 ไม่ได้ดูน่ากลัวกว่า BA.2.75

แต่ตำแหน่งที่นักไวรัสวิทยาสนใจคือ S486P ซึ่งข้อมูลจากทีมวิจัยในปักกิ่งเทียบ XBB กับ XBB+S486P พบระดับการหนีภูมิคุ้มกันไม่แตกต่าง แต่ S486P ดูเหมือนทำให้หนามสไปค์จับกับโปรตีนตัวรับ ACE2 ได้แน่นขึ้น (ดูจากค่า Kd ในกราฟ ยิ่งน้อยคือยิ่งแน่น 19 เทียบกับ 3.44 คือ Kd ลดลงเมื่อมี S486P) ทำให้คิดว่า XBB.1.5 อาจจะใช้กลไกการจับโปรตีนตัวรับ ACE2 ในการเอาชนะ XBB รุ่นเก่า

ข้อสังเกตจากข้อมูลชุดนี้คือ ถ้าเทียบ XBB+S486P กับ BA.2.75 ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักของไทยตอนนี้ จะเห็นว่า BA.2.75 ยังจับโปรตีนตัวรับได้แน่นกว่า (3.44 กับ 1.80) ถ้ามองมุมนี้ XBB.1.5 ไม่ได้ดูน่ากลัวกว่า BA.2.75

XBB.1.5

แต่ถ้าในอนาคต ประเทศไทยมี XBB.1.5 เข้ามาครองพื้นที่เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาตอนนี้ น่าจะเป็นคุณสมบัติที่ XBB.1.5 หนีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและจากธรรมชาติได้ดีกว่าสายพันธุ์เดิม เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรคงตอบได้ยากครับ เพราะ BA.2.75  ยังไม่เคยเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐอเมริกาเราคงตอบโดยอนุมานไม่ได้

ประเด็นสำคัญที่อยากสื่อสารคือ หัวข้อข่าวที่พาดหัวในสื่อใช้คำว่า Super variant หรือ Worst in the world สำหรับ XBB.1.5 คิดว่าอาจไม่ตรงตามข้อเท็จจริงครับ อย่างน้อยมีหนึ่งคุณสมบัติที่ XBB.1.5 ยังสู้ BA.2.75 ไม่ได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo