COVID-19

‘ภูมิคุ้มกันแบบผสม’ คืออะไร? เราควรฉีด ‘เข็มกระตุ้น’ ต่อไปหรือไม่? ที่นี่มีคำตอบ!

‘ภูมิคุ้มกันแบบผสม’ คืออะไร? เราควรฉีด ‘เข็มกระตุ้น’ ต่อไปหรือไม่? ที่นี่มีคำตอบ

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันแบบผสม ซึ่งนับเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะมี และะเราควรฉีดเข็มกระตุ้นต่อไปหรือไม่ ข้อความดังนี้

ภูมิคุ้มกันแบบผสม (hybrid immunity) คืออะไร?

นักวิทยาศาสตร์ใช้คำว่า “ภูมิคุ้มกันแบบผสม” เพื่อสื่อถึงภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากสองแหล่ง: การติดเชื้อตามธรรมชาติและการฉีดวัคซีนเต็มรูปแบบ (ครบโดส)

ภูมิคุ้มกันแบบผสม

ภูมิคุ้มกันแบบผสม ภูมิคุ้มกันดีที่สุดเท่าที่เรามี

แพทย์หญิง สุมยา สวามินาธาน (Soumya Swaminathan)  อดีตหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก เชี่ยวชาญด้านวัณโรคและเอชไอวีได้กล่าวว่า “ภูมิคุ้มกันแบบผสม” ต่อโควิด-19 จะเป็นภูมิคุ้มกันชนิดที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะมี

ประชาชนที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 และไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน เมื่อได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2)  ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะผลิตแอนติบอดีเข้าจับและทำลายกับทันที

นอกจากนี้ ร่างกายเรายังจะกระตุ้น T เซลล์เข้าจัดการกับเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส รวมทั้งพัฒนา เซลล์ความทรงจำ (memory cell)’ ขึ้นด้วยเพื่อป้องกันการโจมตีของไวรัสโควิดในครั้งต่อไปให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ในทางกลับกันการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19 จะเป็นการนำไวรัสที่ตายแล้วหรือส่วนที่ตายแล้ว เช่น “โปรตีนหนาม” ฉีดเข้าสู่ร่างกาย กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราตอบสนองต่อไวรัสในลักษณะเช่นเดียวกับการติดเชื้อตามธรรมชาติ

ภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากทั้งวัคซีน และที่เกิดจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ เมื่อรวมกันจะเกิดเป็น “ภูมิคุ้มกันแบบผสม”

ผลการวิจัยที่เผยแพร่ใน The Lancet เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ระบุว่า ร่างกายของผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนและจากนั้นได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส จะมีการสร้างแอนติบอดีต่อโควิด-19 ในระดับสูงมาก สูงกว่าผู้ที่ไม่เคยติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ

https://www.thelancet.com/…/PIIS2665-9913(21…/fulltext

ภูมิคุ้มกันแบบผสม

ภูมิคุ้มกันแบบผสม สู้โอไมครอน BQ.1.1 ได้

ล่าสุดทีมวิจัยจากแคนาดาได้พบว่าภูมิคุ้มกันแบบผสม จากวัคซีนเอ็มอาร์เอนเอร่วมกับการติดเชื้อโอไมครอนตามธรรมชาติจะทำให้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้นต่อโอมิครอน BQ.1.1

https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid02moj7tRmwrZSQ5gdAscsqH5MuFZvEwsuVPS8rMHDniyExoDMZ1hgksr4beAEta68Nl

อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์กำลังมองหาคำตอบว่า ภูมิคุ้มกันแบบผสมจะยืนยาวแค่ไหน และสามารถป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่จะอุบัติขึ้นในอนาคตได้ดีเพียงใด

เราคงต้องเฝ้าติดตามเหตุการณ์ในประเทศจีน ที่มีการระบาดใหญ่ของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่อุบัติขึ้นใหม่ เช่น BF.7  เนื่องจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ ทำให้ประชากรจีนส่วนใหญ่ได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนเพียงอย่างเดียว โดยมีมาตรการที่เข้มงวดป้องกันไม่ให้ประชาชนมีการติดเชื้อตามธรรมชาตินั้น จะทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากขึ้นหรือน้อยลงเท่าใด จากการระบาดใหญ่ของโอไมครอนเกิดขึ้นในขณะนี้ เมื่อเทียบกับประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ ได้รับทั้งวัคซีนและมีการติดเชื้อตามธรรมชาติร่วมด้วย จนเกิดเป็นภูมิคุ้มกันแบบผสมในประชากรมากกว่า 90%

ภูมิคุ้มกันแบบผสม

ควรฉีดเข็มกระตุ้มต่อไปหรือไม่?

ล่าสุดมีคำถามเกิดขึ้นว่าเราจะยังฉีดวัคซีน (เอ็มอาร์เอ็นเอ) เข็มกระตุ้นต่อไปหรือไม่ เพราะมีงานวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญหลายท่านที่ทยอยตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ แสดงให้เห็นว่า “ยิ่งฉีดวัคซีนโควิดหลายเข็มมากเท่าไรจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ”

https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid0qub4YJ8M7h78p2gLBTF998duATHb4Jqk8CcxdiFpCS6UzuAoDpaj1mJjY2rcLcSkl

https://jamanetwork.com/…/jama…/article-abstract/2794886

หากพิจารณาในช่วงสองปีที่ผ่านมา ที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปทั่วโลก ส่งผลให้อัตราการติดเชื้ออย่างรุนแรงจนต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. หรือเสียชีวิต รวมทั้งการเป็นลองโควิด (เหมือนในช่วงปีแรกของการระบาด) ลดลงเป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีการติดเชื้อโควิดก่อนหรือหลังการฉีดวัคซีนจะเกิดภูมิคุ้มกัน แบบผสม ต่อสู้กับโควิดที่สูงกว่าผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อตามธรรมชาติอย่างมีนัยสำคัญ

ข้อมูลเหล่านี้อาจช่วยประกอบการตัดสินใจว่าเราควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (booster shots) หรือไม่

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo