COVID-19

หวั่น ‘โควิดเป็นศูนย์-วัคซีนเชื้อตาย-ผ่อนคลายมาตรการ’ ของจีน อาจส่งผลมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต ‘นับล้านคน’

ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก หวั่น ‘โควิดเป็นศูนย์-วัคซีนเชื้อตาย-ผ่อนคลายมาตรการ’ ของจีน อาจส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต ‘นับล้านคน’

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า ผุ้เชี่ยวชาญทั่วโลก กำลังกังวลต่อมาตรการรับมือโควิดของจีน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ในปี 2566 มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก ดังขี้

บรรดาผู้เชี่ยวชาญ คาดการณ์ถึงการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการติดเชื้อในสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างกะทันหัน ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2565 -มกราคม 2566 อาจส่งผลให้มีประชาชนติดเชื้อเสียชีวิตนับ “ล้านคน” ในประเทศจีนเนื่องจาก

  • แม้จะมีอัตราการฉีดวัคซีนเชื้อตายครบโดสในประชากรถึง 90% แต่-มีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นน้อยมาก
  • ประชาชนแทบไม่มีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ เพราะนโยบาย “โควิดเป็นศูนย์(Zero-Covid policy)”
  • วัคซีนของเชื้อตายมีประสิทธิภาพป้องกันติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ลดลง
  • โอไมครอนสายพันธุ์ “BF.7” ซึ่งมีค่า R0 ถึง 10-18.6

โควิด

การวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ

การยกเลิกข้อจำกัดที่เข้มงวดป้องกันในอย่างกะทันหัน ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามการคาดการณ์จากสถาบันตัวชี้วัดและประเมินสุขภาพ (Institute of Health Metrics and Evaluation/IHME) ของสหรัฐฯ อาจส่งผลให้ผู้เสียชีวิตกว่าล้านคนภายในปี 2566

(ภาพ1)

โควิด

เช่นเดียวกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง ซึ่งได้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์คาดการณ์ว่า จากการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการติดเชื้อโควิดกันทั่วประเทศของจีน ในเดือนธันวาคม 2565 ถึงมกราคม 2566 อาจส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 684 คนต่อล้านคนในช่วงเวลาดังกล่าว จากจำนวนประชากรของจีน 1.41 พันล้านคน หากภาครัฐไม่มีมาตรการออกมาป้องกันและรักษา

เช่น การรณรงค์ใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางกายภาพ การเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มประชาชนเปราะบาง การสร้างคลังเครื่องช่วยหายใจและคลังยาต้านไวรัสที่จำเป็น ประกอบภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีนเชื้อตายภายในประเทศจีนเริ่มด้อยประสิทธิภาพลง เนื่องจากไวรัสมีการกลายพันธุ์

ในขณะที่รัฐบาลจีนยังลังเลที่จะนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศมาใช้ ร่วมใช้กับวัคซีนเชื้อตายที่ใช้กันทั่วประเทศ โดยประเมินว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตอาจสูงถึง 964,400 ราย หรือประมาณ 1 ล้านคน https://www.medrxiv.org/…/2022.12.14.22283460v1.full.pdf

การศึกษาอีกชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Medicine เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมาโดยนักวิจัยจาก School of Public Health แห่งมหาวิทยาลัย Fudan ในเซี่ยงไฮ้ คาดการณ์ว่าหากไม่มีมาตรการป้องดังที่กล่าวมาข้างต้น การระบาดระลอกใหม่ของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ อาจส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1.55 ล้านคนในช่วงเวลา 6 เดือน

และความต้องการโรงพยาบาลหรือศูนย์ดูแลผู้ป่วยหนักจากการติดเชื้อโควิด19 จะเพิ่มสูงขึ้น 15.6 เท่า อันเกินกว่าความสามารถของระบบสาธารณสุขของจีนจะรองรับได้ https://www.nature.com/articles/s41591-022-01855-7

โควิด

BF.7 ที่ระบาดในจีน แพร่เร็วมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่ง ในตระกูลโอไมครอน

โอไมครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ที่เป็นสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดในจีนคือโอไมครอน “BF.7” (หนึ่งในบรรดาลูกของ BA.5) ในประเทศไทยจากข้อมูล “กิสเสด(GISAID)” พบโอไมครอน BF.7 แล้ว 15 ราย (12/12/2565)

มีการประเมินว่าอัตราการแพร่ระบาด (R0) ของสายพันธุ์ “เดลต้า” อยู่ที่ประมาณ 5 ถึง 6 ซึ่งหมายความว่าผู้ติดเชื้อจะแพร่เชื้อไปยังคนอื่นโดยเฉลี่ย 5 หรือ 6 คน ส่วนโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BF.7 มีค่า R0 เท่ากับ 10-18.6 หรือผู้ติดเชื้อจะแพร่เชื้อไปยังคนอื่นโดยเฉลี่ยถึง 10 หรือ 19 คนเลยทีเดียว ซึ่งทำให้ BF.7 เป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่แพร่เชื้อได้รวดเร็วมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งในตระกูลโอไมครอน ทำให้เกิดความยากลำบากมากขึ้นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด

(หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยของความน่าจะเป็นของผู้ติดเชื้อรายหนึ่งที่สามารถแพร่เชื้อ (จุลชีพ หรือ ไวรัส) ไปสู่ผู้อื่นได้กี่คน เรียกค่านี้ว่า Reproductive number: R0 หรือ R naught (อ่านว่า อาร์ นอร์ต) ภายใต้เงื่อนไขที่กลุ่มตัวอย่างที่จะนำมาคิดคำนวณมาคำนวณหาค่า R0 ควรเป็นผู้ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่มีการเว้นระยะห่างทางกายภาพ ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน)

การวิวัฒนาการกลายพันธุ์ของโควิด19 ในประเทศจีนจะล่าช้ากว่านอกประเทศอยู่ระดับหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าโอไมครอนสายพันธุ์หลักในช่วงเดือนธันวาคม 2565 ถึงมกราคม 2566 ในประเทศจีนจะเป็น “BF.7”

ไทยพบ BF.7 แล้ว 15 ราย คาดฝ่าด่าน BA.2.75 ขึ้นมาเป็นสายพันธุ์หลักไม่ได้

สำหรับประเทศไทย ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ได้นำข้อมูลรหัสพันธุกรรมของโอไมครอนแต่ละสายพันธุ์ ที่ระบาดในประเทศในช่วงเวลา 6 เดือนของการระบาด มาคำนวณพบว่า เป็นไปได้ยากที่โอไมครอน BF.7 ที่พบในไทยจะเกิดระบาดแซงหน้าสายพันธุ์อื่นกลายเป็นสายพันธุ์หลักเหมือนในประเทศจีน

เนื่องจากประเทศไทยมีโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75, BN.1,XBB,XBB.1,BQ.1,BQ.1.1, และ CH.1.1 ครองพื้นที่อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วมีความได้เปรียบในการเติบโต แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า BF.7  ทั้งสิ้น

แม้ว่าขณะนี้โอไมครอน BF.7 จะเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศจีน ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าไม่ช้าจะถูกแทนที่ด้วย  XBB.1* (ลูกผสมของโอมิครอนสองสายพันธุ์), BQ.1* (หลานของ BA.5) และ CH.1.1 (เหลนของ BA.2) ที่แพร่มาทางฮ่องกง หรือจากต่างประเทศ

โอไมครอน BF.7 ไม่ใช่สายพันธุ์อุบัติใหม่ล่าสุด ในสหรัฐอเมริกาพบว่า BF.7 ไม่น่าจะสามารถแข่งขันและมีส่วนแบ่งการระบาดเหนือสายพันธุ์ย่อยอื่นที่ระบาดอยู่เดิมได้

ในรัฐนิวยอร์ก โอไมครอน BF.7 มีส่วนแบ่งการระบาดเพียง 0.43% เมื่อเทียบกับ

  • XBB.1.5  มีส่วนแบ่งการระบาดประมาณ 26.77%
  • BQ.1.1   ประมาณ 15.98%
  • BQ.1      ประมาณ 10.75%
  • XBB.1     ประมาณ 9.44%
  • ฯลฯ

(ภาพ2)

โควิด

ในประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งประเทศ โอไมครอน BF.7 มีส่วนแบ่งการระบาดเพียง 2.09% เมื่อเทียบกับ

  • XBB.1.1  มีส่วนแบ่งการระบาดประมาณ 16.41%
  • BQ.1  ประมาณ 10.70%
  • XBB.1.5      ประมาณ 9.67%
  • XBB.1     ประมาณ 4.15%
  • ฯลฯ

(ภาพ3)

โควิด

สำหรับประเทศไทย จากฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID”  ขณะนี้พบ BF.7 ประมาณ 15 ตัวอย่าง โดยพบ BA.2.75 ประมาณ 706 ตัวอย่าง และจากการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่า BF.7 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ในประเทศไทยสูงกว่า BA.2.75 เพียง  15%  จึงไม่ง่ายนักที่ BF.7 จะฝ่าด่านโอไมครอน BA.2.75 จำนวนมาก เข้ามาระบาดจนกลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทย

(ภาพ4)

โควิด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo