POLITICS-GENERAL

สธ.ว่าไง! ดร.อนันต์ เผยผลทดสอบ ‘ติดโควิด’ ใช้ยาต้านไวรัส ‘แพ็กซ์โลวิด’ ยังแพร่เชื้อได้

ดร.อนันต์ เผยผลทดสอบ ติดโควิด ใช้ยาต้านไวรัส ‘แพ็กซ์โลวิด’ ยังแพร่เชื้อได้ ขณะที่ ‘โมลนูพิราเวียร์’ ป้องกันการติดเชื้อได้ดี

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เผยผลทดสอบประสิทธิภาพของยาต้านไวรัส ระหว่าง แพ็กซ์โลวิด และ โมลนูพิราเวียร์ ในหัวข้อ ยาต้านไวรัสกับความสามารถในการแพร่เชื้อ ดังนี้

โควิด

ยาต้านไวรัสกับความสามารถในการแพร่เชื้อ

ช่วงนี้คนติดโควิดกันเยอะขึ้น ยาต้านไวรัสทั้งแพ็กซ์โลวิด (ขอย่อว่า Pax) และ โมลนูพิราเวียร์ (ขอย่อว่า MolV) มีพร้อมใช้งานมากขึ้น ความสามารถของยาต้านในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสมีข้อมูลประกอบมากพอสมควร แต่ คำถามข้อนึงที่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันคือ ผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงใช้ยาต้านมีความสามารถแพร่กระจายเชื้อในร่างกายให้คนอื่นมากแค่ไหน ซึ่งเป็นคำถามที่น่าสนใจและคงเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการแพร่ของโควิดได้ดี

โควิด

ผลวิจัยยาต้านไวรัส แพ็กซ์โลวิด-โมลนูพิราเวียร์

งานวิจัยชิ้นนึงได้เผยแพร่ออกมาเป็น Pre-print จากทีมวิจัยในสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Pax และ MolV ในสัตว์ทดลอง 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นหนูแฮมสเตอร์ที่จะตอบสนองต่อการติดเชื้อได้ไว และ เชื้อสามารถลงปอดและส่งผลให้สัตว์ทดลองตายได้ ชนิดที่สองคือ Ferret ซึ่งติดโควิดได้แต่ไม่มีอาการรุนแรง เชื้อจะไปอยู่ที่ทางเดินหายใจส่วนบน และ สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ Ferret ตัวอื่นๆได้

ซึ่งทีมวิจัยได้นำแฮมสเตอร์มาทดสอบประสิทธิภาพของยาต้านทั้งสองต่อการป้องกันอาการรุนแรงที่จะติดลงสู่ปอด พบว่า หนูที่ได้ยาทั้ง 2 ชนิด สามารถมีชีวิตรอดจากการติดเชื้อได้ดี ในขณะที่หนูตัวอื่นๆอาการหนักและส่วนใหญ่ตาย ผลยืนยันว่ายาต้านทั้งสองช่วยป้องกันอาการรุนแรงในหนูได้ดีมาก

โควิด

ติดเชื้อใช้ยาแพ็กซ์โลวิด ยังสามารถแพร่เชื้อได้

ผลใน Ferret มีอะไรที่น่าสนใจครับ ทีมวิจัยออกแบบการทดลองโดยใช้ Ferret ที่ติดเชื้อแล้วให้ยาต้านแต่ละชนิดตามไปหลังติดเชื้อ (ในขนาดที่เท่าๆกับให้คน เทียบกับน้ำหนักตัว) หลังจากนั้น นำไป Ferret ติดเชื้อที่ได้รับยาต้านเลี้ยงรวมกับ Ferret ปกติเป็นเวลา 2 วัน หลังจากนั้น แยก Ferret ปกติออกมาเพื่อติดตามการติดเชื้อจากตัวอย่างในช่องจมูกเป็นเวลา 4 วัน

ผลการทดลองพบว่า Ferret ที่ได้รับยา Pax สามารถแพร่กระจายเชื้อต่อให้กับ Ferret ตัวอื่นได้ เมื่อเทียบกับ Ferret ที่ได้ยา MolV ในการศึกษานี้พบว่า ไม่สามารถแพร่เชื้อต่อให้ Ferret ตัวอื่นได้ หรือ ได้น้อยมากๆ

โควิด

โมลนูพิราเวียร์ป้องกันการติดเชื้อได้

ผลการทดลองชุดที่สองคือ การนำ Ferret ที่ติดเชื้อไปเลี้ยงรวมกับ Ferret ปกติที่ให้ยาต้านแต่ละชนิดไปด้วยเป็นเวลา 6 วัน และ ติดตามการติดเชื้อไวรัสใน Ferret ปกติเหล่านั้น

ผลที่ได้มาคือ Ferret กลุ่มที่ได้ยา Pax รอไว้ก่อน ทุกตัวติดเชื้อจากการอยู่ร่วมกับ Ferret ติดเชื้อ แต่กลุ่มที่ได้ยา MolV ไม่พบการติดเชื้อตลอดเวลา 6 วันที่อยู่ร่วมกับ Ferret ติดเชื้อ

ซึ่งทีมวิจัยสรุปว่าการใช้ยา MolV อาจส่งผลให้ Ferret ป้องกันการติดเชื้อในสภาวะที่อยู่รวมกับสัตว์ที่ติดเชื้ออย่างใกล้ชิดได้ แต่ Pax อาจไม่มีคุณสมบัตินั้น

ทั้งนี้งานวิจัยนี้ยังต้องมีข้อมูลสนับสนุนจากมนุษย์ด้วยนะครับ ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี

ยาต้านไวรัส3

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo