POLITICS-GENERAL

อาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า มีการกลายพันธุ์ สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ดี

อาการโควิดเดลต้า ของโรคไวรัสโควิด-19 มีอาการคล้ายไข้หวัด ที่กำลังระบาดอย่างหนักในประเทศไทย มีความสามารถในการแพร่เชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษ ยังมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) ที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ดี

ปัจจุบันประเทศไทยพบการระบาดของเชื้อโควิด-19 ทั้งสิ้น 3 สายพันธุ์ด้วยกัน ได้แก่ โควิดสายพันธุ์เดลต้า (Delta) จากประเทศอินเดีย โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า (Alfa) จากประเทศอังกฤษ และโควิดสายพันธุ์เบต้า (Beta) จากแอฟริกาใต้

อาการโควิดเดลต้า
COVID 19 coronavirus Delta variant Sars ncov 2 2021. Delta plus Strain. Idia Coronavirus delta variant. B.1.617.2

โควิดสายพันธุ์เดลต้า (Delta ยังเป็นที่จับตาเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษในประเทศไทย เนื่องจากมีแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสถานการณ์ตอนนี้สายพันธุ์ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คือ โควิดสายพันธุ์เดลต้า (Delta)  

มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษ อีกทั้งยังมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) ที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ อาการโควิดเดลต้า โดยผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดหรือคล้ายอาการของโควิด-19 สายพันธุ์ทั่วไป

โควิดสายพันธุ์เดลต้าคืออะไร

“โควิดสายพันธุ์เดลต้า (Delta)” หรือที่เรารู้จักในชื่อ “โควิดสายพันธุ์อินเดีย” ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ B.1.617.2 พบครั้งแรกในประเทศอินเดียและเป็นที่น่าจับตามองในประเทศไทย ณ เวลานี้ นอกจากนี้ยังมีการพบการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) ที่มีการกลายพันธุ์บริเวณหนาม K417N ส่งผลให้ติดเชื้อง่าย และหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดี

โควิดสายพันธุ์เดลต้ามาจากไหน

โควิดสายพันธุ์เดลต้าเกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศอินเดีย ก่อนจะแพร่ระบาดไปหลายประเทศในเวลานี้ทั้งประเทศอังกฤษ จีน สหรัฐอเมริกา เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยพบการระบาดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจากแคมป์คนงานหลักสี่

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อจำนวน 661 ราย โดยโควิดสายพันธุ์นี้ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบการแพร่กระจายไปแล้วกว่า 92 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังถูกจับตามองว่าเป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่จะมาแทนที่สายพันธุ์อัลฟ่า ที่กำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทยในขณะนี้

ส่วนการพบเชื้อในประเทศไทยครั้งแรก มีการพบเชื้อที่บ้านพักคนงานย่านหลักสี่ ข้อมูลผู้ติดเชื้อจากการรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. พบผู้ติดเชื้อจำนวน 661 ราย โดยจังหวัดที่พบมากสุด คือ กรุงเทพมหานคร โควิดสายพันธุ์เดลต้า มีการระบาดอย่างรุนแรงที่ประเทศอังกฤษ อิสราเอล และออสเตรเลีย ที่ใกล้ตัวคนไทยมากที่สุดคือการตรวจพบโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่ศิริราชเกินครึ่ง โดยหมอนิธิพัฒน์ ออกมาโพสต์เฟสบุ๊ก หวั่นเป็นการระบาดระลอก 4

อาการโควิดเดลต้า หรือ อาการจากโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส

ถึงแม้เชื้อโควิดจะมีหลายสายพันธุ์ แต่โดยมากแล้วอาการที่แสดงออกมามักจะใกล้เคียงกัน สำหรับโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้นจะมีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา ได้แก่

  • ปวดหัว
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูกไหล
  • ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
  • อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา

ด้วยอาการที่กล่าวมานั้นเป็นอาการที่อาจสังเกตได้ยาก หรืออาจทำให้ผู้ป่วยคิดไปเองว่าตนเองไม่ได้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้า ดังนั้นเมื่อมีไข้ไม่สบายให้คอยสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการอื่น ๆ ที่เข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 ให้รีบพบแพทย์ทันที

โควิดสายพันธุ์เดลต้าติดง่ายจริงหรือไม่

ในเบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) สามารถแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าเชื้อโควิดปกติประมาณ 50% แต่สำหรับโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้นจะแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษประมาณ 60% อีกทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังเปิดเผยว่าเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถลอยตัวอยู่ในอากาศ ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายได้ แม้ไม่ต้องสัมผัสผู้ป่วย หรืออยู่ใกล้ผู้ป่วยตลอดเวลา

อาการโควิดเดลต้า

วัคซีนที่สามารถป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้

เนื่องจากการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์เดลต้า พลัสเพิ่มคุณสมบัติในการหลบภูมิคุ้มกันได้ดี และจากผลการทดลองยืนยันว่าวัคซีนประเภท mRNA ได้แก่ ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา และประเภทวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะมีประสิทธิภาพในการรับมือได้ดีกว่าวัคซีนชนิดอื่น

วัคซีนโมเดอร์นา: มีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้หลังจากได้รับครบ 2 โดส แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าป้องกันได้มากแค่ไหน

วัคซีนไฟเซอร์: มีการคาดการณ์ว่าสามารถรับมือกับโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ใกล้เคียงกับวัคซีนโมเดอร์นาเนื่องจากเป็นวัคซีนประเภท mRNA เหมือนกัน

วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า: จากข้อมูลของสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (PHE) หลังได้รับครบ 2 เข็มสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ประมาณ 64%

วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน: จากผลการทดลองของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (J&J) เองพบว่าสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ประมาณ 8 เดือน แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าป้องกันได้มากแค่ไหน

วัคซีนซิโนแวค: มีการยืนยันจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยว่า บริษัทซิโนแวคยังไม่มีผลการทดลองที่ยืนยันได้ว่าสามารถป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลต้าได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนชนิดนี้ต่อสายพันธุ์อังกฤษนั้นน้อยกว่าวัคซีนชนิดอื่น จึงอาจมีแนวโน้มว่าจะสามารถป้องกันการกลายพันธุ์สำหรับสายพันธุ์เดลต้าในประสิทธิภาพที่น้อยด้วยเช่นกัน

อาการโควิดเดลต้า

สถานการณ์โควิดสายพันธุ์เดลต้าในไทย

เนื่องจากเหตุการณ์การระบาดจากแคมป์คนงานหลักสี่ และด้วยความสามารถในการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโควิดสายพันธุ์เดลต้าจึงทำให้เป็นที่จับตามองและเป็นที่เฝ้าระวังในระดับสูง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าในอีก 2-3 เดือนอาจมีแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากกว่าสายพันธุ์อังกฤษที่มีมากที่สุดในไทย ณ ขณะนี้

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าการได้รับวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคมได้ในเวลานี้ และการรู้จักป้องกันตัวเองด้วยการรักษาระยะห่างทางสังคม การใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight