Opinions

อนาคตการคมนาคม…ไม่ได้มีแค่ทางออกเดียว!

Avatar photo
254

ในปี 2350 ขณะที่ ฟร็องซัว ไอแซก เดอ ริวาซ คิดว่าเขาคือผู้ค้นพบอนาคตของการคมนาคม หลังได้ทำการจดสิทธิบัตรเครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจนเป็นครั้งแรก

จนปัจจุบันล่วงเลยมากว่า 200 ปี เราก็ยังคงต่อสู้กับคำถามเดิมๆ ว่า พลังงานใดที่จะช่วยขับเคลื่อนเราไปข้างหน้าในวันพรุ่งนี้?

บางคนอาจกล่าวว่าเป็นไฮโดรเจน บ้างอาจบอกว่าเป็นแบตเตอรี่ไฟฟ้าหรือไม่ก็ก๊าซธรรมชาติ แต่ผมคิดว่าเราควรสำรวจทุกทางเลือกที่เป็นไปได้ เพราะผมเชื่อว่าอนาคตของการคมนาคมจะไม่ถูกจำกัดแค่เพียงวิธีเดียว แต่ต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน

รถยนต์ไฮโดรเจนของเดอ ริวาซ อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่เราสามารถเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากความเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นของเขา รวมถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการทำสิ่งที่แตกต่าง เพราะเมื่อเราพูดถึงอนาคตของการคมนาคม เราต้องการทุกหนทางที่เราสามารถหาได้ โดยในประเทศไทย ได้นำเชื้อเพลิงชีวภาพมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการคมนาคม ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่งคั่ง และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคส่วนของการคมนาคมตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

อีอีซี เทคโนโลยี

แน่นอนว่าเราเผชิญหน้ากับความท้าทายที่แสนกดดัน การคมนาคมใช้พลังงานมากกว่า 1 ใน 4 ของการใช้พลังงานทั่วโลก และ 1 ใน 5 ของการใช้พลังงานทั่วโลกคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจุบันมีรถยนต์กว่าพันล้านคันบนท้องถนนและคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปี 2583  จึงต้องพิจารณาถึงอนาคตของพลังงานในภูมิภาคนี้ ควบคู่กับการตอบโจทย์ความต้องการของสังคม พร้อมๆ กับลดการปล่อยก๊าซ(คาร์บอนไดออกไซด์) เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและมลภาวะในอากาศ

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้แสดงออกถึงความต้องการในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกที่มีก๊าซคาร์บอนน้อยลง โดยเริ่มจากลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งคืออีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ แสดงให้เห็นว่าพวกเราต้องการหนทางในการแก้ไขปัญหามากมาย เพราะไม่มีวิธีหนึ่งวิธีใดที่จะสามารถแก้ไขทุกปัญหาได้ในเวลาเดียวกันอย่างแน่นอน

นั่นก็คือข้อสรุปหลักของแบบจำลองล่าสุดของเชลล์ แบบจำลอง Sky Scenario อ้างอิงจาก IPCC ได้แนะแนวทางแก้ไขที่อาจฟังดูยากแต่ก็ทำให้เป็นจริงได้ และทั้งโลกสามารถปฏิบัติตามเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงปารีสที่กำหนดไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเกินสององศาในศตวรรษนี้

electric-car รถยนต์ไฟฟ้า
ภาพจาก pixabay

ในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีบทบาทสำคัญต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จะต้องหาทางแก้ไขและทำงานร่วมกัน แน่นอนว่าเชลล์กำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกับประเทศไทยและในภูมิภาค

รัฐบาลไทยได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 1.2 ล้านคัน บนท้องถนนภายในปี 2579 ส่วนประเทศอินโดนีเซียได้เริ่มผลักดันให้มีการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยการนำเข้าและตั้งโรงงานแบตเตอรี่โดยเฉพาะ ในขณะที่ประเทศจีนครอบครองการผลิตกว่าครึ่งหนึ่งทั่วโลกและมีจำนวนรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในโลกอีกด้วย

เชลล์ กำลังเดินหน้าพัฒนาในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน เช่น ในยุโรป ได้เข้าซื้อกิจการ NewMotion ซึ่งเป็นหนี่งในผู้ให้บริการจุดชาร์ตแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ซึ่งจะให้บริการจุดชาร์จแบตฯ กว่า 40,000 จุดที่บ้านและแหล่งธุรกิจต่างๆ

เมื่อพูดถึงไฮโดรเจนในฐานะเชื้อเพลิง พบว่ามีศักยภาพที่เหมาะกับยานพาหนะสำหรับบรรทุกสินค้าหนัก เช่น รถไฟ แนวคิดเกี่ยวกับ “สังคมไฮโดรเจน” ในประเทศญี่ปุ่น จะเริ่มต้นในปี 2563 พร้อมกับแผนผลิตยานพาหนะพลังไฮโดรเจนที่จะรองรับงานโอลิมปิคเกมส์ ในกรุงโตเกียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับเชลล์ ที่เพิ่มการลงทุนด้านพลังงานไฮโดรเจน ในประเทศเยอรมนี  โดยได้วางแผนที่จะร่วมลงทุนสร้างโครงข่ายสถานีเติมเชื้อเพลิงทั่วประเทศภายในปี 2562

ภาพเฟซบุ๊ก shell
ภาพเฟซบุ๊ก shell

ก๊าซธรรมชาติก็มีศักยภาพสำหรับรถบรรทุกและการขนส่งทางเรือเช่นกัน อย่างในประเทศจีน ที่มีจำนวนยานพาหนะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มากที่สุดในโลก โดยเมื่อปีที่แล้ว จำนวนรถบรรทุกที่ใช้ก๊าซ LNG ที่ผลิตในประเทศจีนพุ่งขึ้นถึง 96,000 คัน ซึ่งขณะนี้ เชลล์มีสถานีก๊าซ LNG ที่ร่วมลงทุนอยู่ในจีน 1 แห่งและอีก 9 แห่งในยุโรป เราได้ลงนามข้อตกลงในการขนส่งทางเรือร่วมกับ Carnival เพื่อส่งก๊าซให้กับเรือสำราญที่ใช้ก๊าซ LNG ลำแรกของโลก และกับ Sovcomflot เรือขนน้ำมันที่ใช้ก๊าซ LNG ลำแรกของโลกเช่นเดียวกัน

เชลล์และภูมิภาคได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง ที่จะช่วยอุตสาหกรรมการบินในอนาคต ประเทศไทยก็มีแผนที่จะนำน้ำมันไบโอดีเซล B20 มาใช้กับรถบรรทุก ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยพลังงานในประเทศ เชลล์เป็นหนึ่งในผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยการลงทุน ร่วมกับบริษัท Raízen ของบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเอธานอลจากอ้อยกว่า 2 พันล้านลิตรต่อปี และยังคงทำการสำรวจหาเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงอย่างต่อเนื่อง

ในประเทศไทย เชลล์ ได้ทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เพื่อแนะนำและสานต่อการพัฒนาตามกรอบการเจรจาเพื่อการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Round Table Sustainable Palm Oil) ซึ่งจะช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า ลดผลกระทบที่มีต่อน้ำบาดาลและพัฒนาความสามารถในการผลิตอย่างยั่งยืน

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ก็มีส่วนช่วยในการสร้างสรรค์แนวทางแก้ไขอื่นๆ อีกมากมาย เราเห็นอนาคตที่ยานพาหนะบังคับอัตโนมัติ จะเชื่อมต่อและทำงานร่วมกันเสมือนรถยนต์ปกติ ซึ่งเป็นหนึ่งในอนาคตของโมเดลธุรกิจเชิงนวัตกรรม ที่เริ่มจากการเดินทางร่วมกันไปจนถึงการเดินทางตามความต้องการ (mobility-on-demand)

ขณะเดียวกัน เชลล์ยังคงมุ่งมั่นสานต่อการพัฒนาด้านเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น ร่วมกับผู้ผลิตรถยนต์และผู้วางนโยบายขององค์กรเพื่อร่วมกันพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ในส่วนของการขนส่งทางเรือ สิงคโปร์คือหนึ่งในสามท่าเรือที่เชลล์กำลังทำการทดสอบเชื้อเพลิงน้ำมันซัลเฟอร์ต่ำแบบใหม่

แม้จะมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย แต่ถ้าเราอยากเห็นอนาคตของการคมนาคมเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เราจะต้องทำงานร่วมกันโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เพราะหากเราให้ความสำคัญกับวิธีการเดียว ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะล้มเหลวเหมือนตอนที่ “เดอ ริวาซ” คิดค้นเครื่องยนต์ไฮโดรเจน เพราะฉนั้น เราจะต้องไม่ปล่อยให้ความคิดดีๆ ผ่านไปอย่างสูญเปล่าในช่วงเวลาที่เราต้องการมันมากที่สุด

จอห์น แอ็บบอท
จอห์น แอ็บบอท

บทความโดย : จอห์น แอ็บบอท ผู้อำนวยการธุรกิจดาวน์สตรีมและกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทรอยัล ดัตช์ เชลล์