COLUMNISTS

กินแล้วดี – ความดันลดชัวร์!!

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
12299

ความดันเลือดสูง ถือเป็นสัญญาณที่เป็นจุดเริ่มต้นของอีกหลายโรค และมักมีสาเหตุสำคัญ ๆ มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ยกตัวอย่างแบบเห็นภาพเลยว่า ใครที่ชอบทานอาหารแบบติดรสเค็มหล่ะก็ ความดันสูงชัวร์ค่ะ แม้กระทั่งอาหารที่มีไขมันสูง นอกจากทำให้ร่างกายมีไขมันสูงแล้ว ยังดึงความดันเลือดสูงตามมาอีกด้วย ภาวะความดันสูง ถือเป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ และถือเป็นภาวะที่คนไทยเป็นกันเยอะทีเดียว

มารู้จักความดันเลือดสูง

คือความดันในหลอดเลือดขณะหัวใจสูบฉีดเลือดเข้าสู่หลอดเลือด โดยแบ่งเป็น ความดันซิสโตลิก (Systolic Pressure) คือ ค่าความดันเลือดสูงสุดขณะที่หัวใจบีบตัว และความดันไดแอสโตลิก (Diastolic Pressure) คือ ความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว ในการวัดผลความดันเลือดจึงปรากฏเป็นตัวเลข 2 จำนวน โดยจะบันทึกค่าความดัน ซิสโตลิกเป็นตัวแรก และตามด้วยความดันไดแอสโตลิก เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท (ภาวะความดันปกติเป็นเท่าไหร่ ผู้เขียนได้เคยเขียนในเพจ www.i-kinn.com )

bangkokกินแล้วดีความดันลดชัวร์ 01 01

ความดันเลือดสูง มีอาการอย่างไร

ความดันเลือดสูง ถือเป็นภัยเงียบ Silent Killer เพราะมักไม่แสดงอาการใด ๆ และเมื่อเกิดโรคนี้แล้ว มักเป็นเรื้อรัง รุนแรงหากว่าไม่สามารถควบคุมอาการที่เกิดขึ้นได้ และแน่นอน อาการของโรคความดันเลือดสูง มักเป็นอาการที่เกิดข้างเคียงจากการเป็นโรคในกลุ่มดังต่อไปนี้ :-

  • โรคหลอดเลือดสมอง (ไขมันในเลือดสูง)
  • โรคเบาหวาน โรคอ้วน

อายุมากขึ้น เสี่ยงความดันสูงมากขึ้น

ทราบไหมค่ะว่า เมื่อเราอายุมากขึ้น มีโอกาสเสี่ยงต่อความดันเลือดสูงขึ้น เพราะด้วยพฤติกรรมที่เรารับประทานอาหารอร่อย ๆ เข้าร่างกายเหมือนเดิม โดยที่ร่างกายเราเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง และจูงไขมันในเลือดสะสมในร่างกายมากขึ้นอีกด้วย แถมอาหารที่มีขายในท้องตลาด บอกได้เลยว่า ไม่ถูกหลักโภชนาการเสียทีเดียว ดังนั้น เมื่ออายุมากขึ้น เราต้องเลือกโภชนาการรับประทานอาหารให้มากขึ้น ถูกต้องค่ะ อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความดันเลือดขึ้นได้ และในทางกลับกัน ถ้าเราสามารถเลือกอาหารที่ทำให้ความดันเลือดลงได้ ก็จะดีไม่ใช่น้อย ใช่ไหมค่ะ

แล้วถ้าความดันสูงติดต่อกันนาน ๆ มีผลข้างเคียงไหม ?

ถือเป็นคำถามที่พบบ่อย เพราะหลายคนอาจยังไม่รู้ ด้วยโรคความดันสูง นั้นเป็นโรคเรื้อรัง ที่เรียกว่าเรื้อรัง เพราะรักษาให้หายขาดยาก แต่ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ หากมีการควบคุมอาการมาตั้งแต่ต้น ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด ปัจจุบันก็มีอาหารเสริม ที่สกัดจากถั่วนัตโตะธรรมชาติ ก็สามารถมาช่วยลดความดันเลือดสูง ได้ดีทีเดียว (ซึ่งอาจเป็นข้อเลือกเพื่อเลี่ยงยาเคมีได้ อีกทางหนึ่ง) ในทางตรงกันข้าม ทางหากเราดูแลหรือควบคุมอาการความดันเลือดสูงไม่ได้ ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง ฯลฯ

1 Z5 4R SdKXRMz9fTegnx6Q

อาหารที่ช่วยลดความดันเลือดสูงได้

  • อาหารคลีน

ขอหยิบมาไว้ลำดับแรกเลย อาหารคลีน หมายถึง อาหารที่ปรุงด้วยวิธีที่ใช้ไขมันต่ำ แป้งไม่ขัดสี อย่างถ้าเราเน้นทานข้าว ควรเลือกเป็นข้าวกล้อง ถ้าเลือกทานขนมปัง ก็เน้น ขนมปังโฮลวีท โดยอาหารคลีน มักจะผ่านการปรุงรสน้อย และถ้าเราสามารถทานอาหารคลีนได้เป็นประจำ (โดยไม่เบื่อ) ก็จะช่วยให้ระดับความดันเลือดลดลงได้ แถมระดับโซเดียมในร่างกายลดลงอีกด้วย

  • เน้นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง

เพราะด้วยโพแทสเซียม จะช่วยควบคุมระดับความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ผัก ผลไม้ ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น อินทผาลัม ผักโขม เห็ด กล้วย ส้ม แตงโม ยกเว้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ควรเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงค่ะ

  • ถั่วนัตโตะ และ ธัญพืชต่าง ๆ

ที่แนะนำถั่วนัตโตะ เพราะ เป็นสายพันธ์เดียวที่ช่วยลดความดันเลือดสูงได้เห็นผล แถมยังช่วยลดไขมันในเลือดได้ดีเยี่ยมอีกด้วย (อันนี้ เพื่อนผู้เขียนบอกต่อ ๆ กันมา) ถึงแม้ เจ้าถั่วนัตโตะ จะมีกลิ่นแรง ฉุน เป็นเอกลักษณ์ของถั่วชนิดนี้ แต่ปัจจุบัน ก็มีอาหารเสริมที่สกัดถั่วนัตโตะเข้มข้น จึงลดปัญหาเรื่องกลิ่น และควรเลือกอาหารเสริมถั่วนัตโตะสกัด ที่มีความเข้มข้นมาก ส่วนถั่วอื่น ๆ เราต้องเลือกทานถั่ว หรือ ธัญพืชที่อบแห้ง ไม่ใช่อบเกลือนะคะ แต่แนะนำควรทานในระดับที่พอดี ไม่มากเกินไป เพราะธัญพืช ให้พลังงานต่อร่างกายเช่นกันค่ะ

  • ปลานึ่ง

ปลานึ่ง ควรลอกหนังออก ซึ่งปลาจะให้โปรตีน ไขมันต่ำ และแมกนีเซียม ให้พลังงาน และช่วยทำให้หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง

  • น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดความดัน ลดไขมันในเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก

จะเห็นได้ว่า การปรับพฤติกรรมในการทานอาหาร ก็สามารถช่วยลดความดันเลือดสูงได้เช่นกัน นอกจากปรับพฤติกรรมในการทานอาหาร และเพิ่มการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยนะคะ โดยควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบาน ไม่เครียด เพียงง่าย ๆ เท่านี้ ร่างกายก็แข็งแรง ไร้โรคภัย พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ

(เครดิต : The 17 Best foods for high blood pressure, www.healthline.com, high blood pressure diet : Nutrient and Food Recommendations, www.webmd.com, www.i-kinn.com, bangkokpattayahospital.com, photo by : https://hopkinsdiabetesinfo.org/7-foods-to-eat-to-lower-blood-pressure/)

อ่านข่าวเพิ่มเติม