Opinions

เปิดวิธี ‘นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์’ เตือนประชาชน เตรียมรับมือ ‘ภาษีทรัมป์’

Avatar photo

“ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี” เปิดวิธีนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ “ลอวเรนซ์ หว่อง” ถึงการออกมาเตือนประชาชนในประเทศให้เตรียมรับมือกับผลกระทบต่าง ๆ กรณีสหรัฐประกาศมาตรการภาษีตอบโต้ ขึ้นภาษีต่อสินค้านำเข้าจากบรรดาประเทศคู่ค้า

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thanachart Numnonda ถึงกรณีที่สหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้ต่อประเทศคู่ค้า ซึ่งไทยโดนเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 36% โดยกล่าวถึงวิธีการแสดงออกในเรื่องนี้ ของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับนายลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ โดยระบุว่า

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์

แม้นายกรัฐมนตรีอุ๊งอิ๊ง บอกว่า การขึ้นภาษีของสหรัฐ 37% สำหรับประเทศไทย ไม่มีอะไรน่าห่วงเตรียมรับมือไว้แล้ว แต่ผมว่าเรายิ่งคงต้องห่วง และกังวล และมองอนาคตประเทศไทยอย่างมืดมน

เมื่อวานนี้ นายกรัฐมนตรีสิงค์โปร์ Lawrence Wong (ลอว์เรนซ์ หว่อง) ได้ออกทีวี 5 นาที มาเตือนประชาชนสิงคโปร์ให้เตรียมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

แม้สิงคโปร์จะเจอกำแพงภาษีเพียง 10% แต่ผู้นำเขามีวุฒิภาวะ เข้าใจสถานการณ์ เห็นปัญหาและสิ่งควรทำในการเตือนประชาชน

ผมอยากให้คนไทยได้ฟังคลิปสั้น 5 นาที ที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์พูด แม้จะกล่าวต่อคนสิงคโปร์แต่ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับคนไทย ช่วยแนะนำเตือนเราทุกคนได้

สรุปประเด็นจากคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีลอว์เรนซ์ หว่อง

การสิ้นสุดของยุคโลกาภิวัตน์แบบมีกฎเกณฑ์

นายกฯ หว่องเน้นย้ำว่า การเคลื่อนไหวของสหรัฐ ถือเป็นการสิ้นสุดของยุคที่สหรัฐเป็นผู้สนับสนุนหลักของระบบเศรษฐกิจเสรี และการค้าเสรีภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (WTO)

การละทิ้งระบบ WTO และการใช้มาตรการภาษีแบบทวิภาคี

สหรัฐได้เปลี่ยนไปใช้นโยบายการตั้งกำแพงภาษีแบบตอบโต้ทีละประเทศ ซึ่งนายกฯ หว่องมองว่าเป็นการ “rejection of the WTO framework” (ปฏิเสธกรอบการดำเนินงานของ WTO) อย่างสิ้นเชิง

ผลกระทบโดยตรงต่อสิงคโปร์

สหรัฐได้จัดสิงคโปร์อยู่ในระดับฐานล่างสุด โดยกำหนดอัตราภาษี 10% ซึ่งนายกฯ หว่องยอมรับว่า ผลกระทบโดยตรงอาจมีจำกัดในขณะนี้ แต่ผลกระทบในวงกว้างนั้นน่ากังวลกว่า

ผลกระทบในวงกว้าง และผลกระทบต่อประเทศขนาดเล็ก

หากประเทศอื่น ๆ ดำเนินรอยตามสหรัฐ และละทิ้ง WTO ไปทำการค้าตามเงื่อนไขที่ตนเองต้องการทีละประเทศ จะส่งผลเสียต่อทุกชาติ โดยเฉพาะประเทศขนาดเล็ก เช่น สิงคโปร์ ที่อาจถูก “squeezed out marginalized and left behind” (โดนบีบจนถูกละเลย และถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง)

ความเสี่ยงของการเกิดสงครามการค้าโลก

นายกฯ หว่องเตือนถึงความเป็นไปได้ที่ “likelihood of a fullblown global trade war is growing” (มีความเป็นไปได้มากขึ้น ที่จะเกิดสงครามการค้าโลกแบบเต็มรูปแบบ) เนื่องจากหลายประเทศอาจตอบโต้มาตรการภาษีของสหรัฐ แม้ว่าสิงคโปร์จะตัดสินใจไม่ใช้มาตรการตอบโต้ก็ตาม

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และสิงคโปร์

มาตรการภาษีที่สูงขึ้น และความไม่แน่นอนที่ตามมา จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศจะซบเซา และการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว ซึ่งสิงคโปร์จะได้รับผลกระทบมากกว่าประเทศอื่นเนื่องจากพึ่งพาการค้าอย่างมาก

การเปรียบเทียบกับทศวรรษ 30

นายกฯ หว่องได้เปรียบเทียบสถานการณ์ปัจจุบัน กับช่วงทศวรรษ 30 ซึ่งสงครามการค้าได้นำไปสู่ความขัดแย้งทางอาวุธ และสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเน้นย้ำถึงอันตรายที่กำลังก่อตัวขึ้น

ความอ่อนแอของสถาบันโลก และการเสื่อมถอยของบรรทัดฐานระหว่างประเทศ

นายกฯ หว่องชี้ให้เห็นว่า “Global institutions are getting weaker International norms are eroding More and more countries will act based on narrow self-interest and use force or pressure to get their way” (สถาบันระดับโลกกำลังอ่อนแอลง บรรทัดฐานระหว่างประเทศกำลังถูกกัดกร่อน ประเทศต่าง ๆ จะดำเนินการโดยอิงตามผลประโยชน์ส่วนตัว และใช้กำลังหรือแรงกดดันเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ )

การเตรียมความพร้อมของสิงคโปร์

รัฐบาลสิงคโปร์ตระหนักถึงความเสี่ยงและกำลังดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อม โดยจะ “stay vigilant We will build up our capabilities We will strengthen our network of partnerships with likeminded countries” (จะเฝ้าระวัง เราจะสร้างศักยภาพของเรา เราจะเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กับประเทศที่มีแนวคิดเหมือนกัน)

นายกฯ หว่องเชื่อมั่นว่าสิงคโปร์มีความพร้อมมากกว่าหลายประเทศด้วย “our reserves our cohesion and our resolve” (ทรัพยากรสำรอง ความสามัคคี และความมุ่งมั่นของเรา) แต่ก็เตือนว่า “we must brace ourselves for more shocks to come” (เราต้องเตรียมใจรับมือกับเรื่องน่าตกใจที่จะตามมาอีก)

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์

ความจำเป็นในการเตรียมพร้อมทางจิตใจ

นายกฯ หว่องได้กล่าวกับชาวสิงคโปร์เพื่อให้ทุกคน “be mentally prepared so that we will not be caught off guard Let us not be lulled into complacency The risks are rail and the stakes are high The road (เตรียมใจให้พร้อม เพื่อที่เราจะได้ตั้งตัวทัน อย่าหลงระเริง ความเสี่ยงกำลังเกิดขึ้น และมีเดิมพันสูง)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

เว็บไซต์ : https://www.thebangkokinsight.com/
Facebook : https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
X: https://twitter.com/BangkokInsight
Instagram : https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yxg