Wellness

แนะ 11 วิธีดูแล ‘ภาวะหัวใจล้มเหลว’

แพทย์แนะ 11 วิธีดูแล “ภาวะหัวใจล้มเหลว” เตือนผู้ป่วย หากมีอาการหายใจลำบากอ่อนเพลีย อาการบวมตามอวัยวะ อย่าละเลยรีบพบแพทย์ทันที  

674900 e1571625148543

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า “ภาวะหัวใจล้มเหลว” เป็นกลุ่มอาการการทำงานของหัวใจที่เกิดความผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากโครงสร้าง หรือการทำหน้าที่ของหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย และรับเลือดกลับเข้าหัวใจได้ตามปกติ

ปัจจัยเสี่ยงสาคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากความผิดปกติของ โรคเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจรูมาติก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รวมทั้งความผิดปกติ จากการติดเชื้อไวรัสโลหิตจางขั้นรุนแรง และภาวะไทรอยด์เป็นพิษ

สำหรับอาการ และสัญญาณเตือนของโรคผู้ป่วย จะมีอาการหายใจลำบาก ในขณะที่ออกแรง ขณะนอนราบ อาการอ่อนเพลีย ทำให้ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน และการออกกำลังกายลดลง

รวมถึงมีอาการบวมตามอวัยวะต่าง จากภาวะคั่งน้ำและเกลือ เช่น เท้าบวม ท้องบวม มีน้ำคั่งในปอด และอวัยวะภายใน ซึ่งเมื่อภาวะเหล่านี้ ผู้ป่วยต้องรีบเดินทางมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้อาการแย่ลง เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้

heartache 1846050 640 1

นพ.เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า แนวทางการวินิจฉัยของโรค ภาวะหัวใจล้มเหลว แพทย์จะซักประวัติจร่างกาย ประเมินภาวะสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย และทำการตรวจ ห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ตรวจเลือดและปัสสาวะ x-ray ทรวงอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจ อัลตราซาวด์หัวใจ หากพบว่ามีอาการเข้าได้กับภาวะหัวใจล้มเหลว แพทย์จะรีบทำการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องอย่างรวดเร็วที่สุด

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาการควบคุมปัจจัยเสี่ยง การใช้เครื่องกระตุกหัวใจ อัตโนมัติ เครื่องกระตุกหัวใจแบบถาวร การผ่าตัดใส่เครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจ การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และการวินิจฉัยของอายุรแพทย์หัวใจ

นอกจากนี้ผู้ป่วยต้องรู้จักดูแลสุขภาพตนเองในภาวะหัวใจล้มเหลว 11 แนวทาง ดังนี้

  1. ควรชังน่้าหนัก ก่อนทานอาหารเช้าทุกวัน หรือภายหลังเข้าห้องน้า
  2. ขับถ่ายช่วงเช้า หากพบว่าน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1-1.5 กก. ภายใน 1 – 2 วันให้รีบมาพบแพทย์
  3. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม
  4. ควบคุม การรับประทานเกลือโซเดียม
  5. จำกัดปริมาณการดื่มน้ำ ตามแผนการรักษาของแพทย์
  6. หลีกเลี่ยงการเดินทางไกลคนเดียว
  7. ไม่เครียด
  8. งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  9. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรหักโหมจนเกินไป เช่น การเดินราบ หากมีอาการหอบเหนื่อยควรหยุดพักทันที
  10. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
  11. พบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง

Avatar photo