Wellness

กินอยู่ดีตามพันธุกรรม มิติใหม่การป้องกันโรค NCDs ในประเทศไทย

กินอยู่ดีตามพันธุกรรม มิติใหม่การป้องกันโรค NCDs ในประเทศไทย

กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดตัว โครงการขับเคลื่อนนโยบายคนไทยห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดสงขลา โดยมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กว่า 1,800 คน

โรค NCDs

สถานการณ์โรค NCDs ในประเทศไทย

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง และมะเร็ง กำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การบริโภคอาหารรสจัด การขาดการออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี โดยมีผู้เสียชีวิตจาก NCDs มากกว่าปีละ 4 แสนคน ทำให้สูญเสียมูลค่าทั้งทางตรงและทางอ้อมรวมกว่า 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี

ในปี 2567 ได้รับรายงานว่า โรคเบาหวานต้องใช้งบประมาณกว่า 14,000 ล้านบาท ความดัน 14,000 ล้านบาท ไต 22,000 บาท โดยหากรวมแค่ 3 กลุ่ม ก็ใช้งบประมาณกว่า 50,000 ล้านบาทแล้ว ดังนั้นโรค NCDs จะลดลงได้ด้วยกลไก อสม. ซึ่งคือแนวทางการขับเคลื่อนงาน ให้ความรู้ การนับคาร์บ รวมถึงการจัดหาเครื่องมือให้ อสม.ด้วย

โรค NCDs

การนับคาร์บ

การนับคาร์บ หรือการนับคาร์โบไฮเดรต เป็นเทคนิคการวางแผนมื้ออาหารที่ใช้สำหรับผู้เป็นเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยจะต้องคำนวณปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานในแต่ละมื้อและปรับปริมาณอินซูลินให้เหมาะสมตามปริมาณที่บริโภค

การนับคาร์บช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีประโยชน์ในการควบคุมน้ำหนัก โดยควรปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหารเพื่อวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

465799605 1316342493038327 1005967535474875962 n

นโยบายและมาตรการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ โดยมีการดำเนินการดังนี้

  1. ปรับปรุงกฎหมายและมาตรการให้เอื้อต่อการต่อสู้กับ NCDs เช่นมาตรการทางภาษีกับอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
  2. สนับสนุนแนวคิดสุขภาพดีและเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับแต่ละบุคคลที่รับประทานอาหารสุขภาพและออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  3. ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านศูนย์คนไทยห่างไกล NCDs
  4. ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนผ่าน อสม.

465873033 1316342606371649 8348032742023146811 n

บทบาทของ อสม. ในการป้องกันโรค

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายนี้ โดยจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับการนับคาร์บและการให้คำแนะนำด้านโภชนาการแก่ประชาชน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน กล่าวว่า “NCDs ดีได้ ด้วยกลไก อสม.” และคาดว่าภายใน 2 ปี จำนวนผู้ป่วยจะลดลงอย่างชัดเจน

465783648 1316342613038315 4911061323145658613 n

นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการป้องกันโรค

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ร่วมกับภาคเอกชนพัฒนาแอปพลิเคชัน “กินอยู่ดี” (KinYooDee) เพื่อให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่แม่นยำและเฉพาะเจาะจงมากขึ้นแก่ประชาชน โดยมีการเพิ่มบริการดังนี้

  1. การตรวจโภชนพันธุศาสตร์: ผู้ใช้สามารถส่งตัวอย่าง DNA เพื่อรับการวิเคราะห์ความต้องการสารอาหารเฉพาะบุคคล ความไวต่ออาหารบางประเภท และความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการ
  2. การออกกำลังกายตามยีน: วิเคราะห์ยีนที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางร่างกาย เพื่อแนะนำรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับพันธุกรรมของแต่ละบุคคล
  3. การปรับแผนโภชนาการและการออกกำลังกายแบบเฉพาะบุคคล: ใช้ข้อมูลจากผลตรวจโภชนพันธุศาสตร์มาปรับแผนอาหารและการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo