Travel

เยือนถิ่น ‘สุพรรณบุรี’ ท่องเที่ยววิถีไทย แบบ New Normal

The Bangkok Insight ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดโครงการ “AMAZING ไทยเท่ เที่ยวไทย เที่ยวง่าย สนุกทุกทริป” ภายใต้แนวคิด  “5-5-5” เช็คอิน 5  สถานที่ท่องเที่ยว 5 แหล่งวัฒนธรรมพื้นถิ่น และ 5 มาตรฐานความปลอดภัย เที่ยวสนุก และรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่กันไป 

การเดินทางท่องเที่ยว “สุพรรณบุรี” ครั้งนี้ มี จุดเช็คอินแรก อยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อุทยานมังกรสวรรค์ สุพรรณบุรี  สถานที่ ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปี 2539

D85CA931 8A6C 4BBD 8569 B4D9CDE680CE

ภายในจัดแสดงประวัติศาสตร์ของจีน แบ่งเป็นห้อง 18 ห้อง ด้วยภาพ แสงสีเสียง และเทคนิคพิเศษ เล่าความเป็นมาของประเทศจีน ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และเป็นชนชาติ ที่มีอารยธรรมยาวนานกว่า 5,000 ปี มาจนถึงจักรพรรดิองค์สุดท้าย ก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ

ดร. ซุน ยัด เซ็น ยึดอำนาจจากจักรพรรดิ และสถาปนาระบอบประชาธิปไตย หลังจากซุน ยัด เซ็นเสียชีวิต เป็นช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยคือ เจียง ไคเช็ค กับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมา เจ๋อตุง ก่อนที่ฝ่ายหลังจะเป็นผู้ชนะ และทำให้เจียง ไคเช็คหนีไปยังเกาะไต้หวัน

3AB34E19 B81D 45C1 AC55 EEEC6B47D902

AA57F036 6A55 4DBA 8DB4 4277D2C1262D

นอกจากนี้  ยังมีส่วนอื่นๆ อย่าง ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องรับฝากของ จำหน่ายของที่ระลึก และห้องเครื่องเล่นสำหรับเด็ก  ส่วนบริเวณรอบนอก ก็จัดตกแต่งสวยงาม มีรูปปั้น ระฆังยักษ์ และน้ำตกขนาดใหญ่สวยงาม คุ้มค่ากับการแวะเที่ยวชม

ทุกส่วนเข้าชมฟรี ยกเว้น พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร (ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 299 บาท เด็ก 149 บาท) เปิดวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์-อังคาร)

ภายในอุทยานมังกรสวรรค์ ยังมี หมู่บ้านมังกรสวรรค์  ที่จำลองแบบมาจาก “หลี่เจียง” เมืองโบราณอายุนับพันปีของจีน มีรูปแบบที่สวยงาม จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเมืองมรดกโลก ภายในหมู่บ้าน เหมือนได้เดินเข้าไปในหมู่บ้านโบราณของเมืองจีน ซึ่งแต่ละหลังก็เป็นสถานที่ที่ให้บริการต่างกันออกไป มีร้านขายสินค้า และของที่ระลึก โรงหนัง โรงนวด โรงเตี๊ยม ร้านอาหาร

2683D321 4706 420B AFA2 9CF3DEAB0022 e1605243082884

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สถานที่เคารพของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้คนต้องแวะเวียนมากราบไหว้ขอพร ที่ซึ่งหลายคนเชื่อว่า หากได้มากราบไหว้แล้ว จะนำมาซึ่งโชคลาภ ความร่ำรวย ความสำเร็จ และความสุข และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราว รูปแบบ วิถีชีวิตของชนชาวจีน ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชาวไทยเสมือนพี่กับน้อง

จุดเช็คอินที่สอง วัดแค สุพรรณบุรี  สร้างขึ้นเมื่อปี 2034 อยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน วัดแค สุพรรณบุรี มีเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา อยู่ปลายสุดของคูเมืองทางด้านเหนือ  เป็นวัดที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดี เรื่องขุนช้างขุนแผน โดยมีการกล่าวถึง วัดแค อยู่หลายตอนด้วยกัน เป็นวัดที่ขุนแผน ได้มาเรียนวิชาเสกใบมะขามเป็นตัวต่อ ตัวแตน กับสมภารคง

9CBD74D5 1996 47C7 8347 DBC0457D90E3

ที่วัดแค สุพรรณบุรี แห่งนี้ ยังมีต้นมะขามยักษ์ ขนาดใหญ่ถึง 9 คนโอบ อายุเป็นร้อยปี มีความเชื่อว่า เป็นต้นเดียวกับที่สมภารคง ได้ใช้สอนวิชาเสกใบมะขามเป็นตัวต่อตัวแตน ให้สามเณรแก้ว หรือ ขุนแผน เมื่อครั้งมาจำพรรษาอยู่ที่วัดแคแห่งนี้

มีการบันทึกไว้ว่า เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จประพาสต้น จังหวัดสุพรรณบุรี พระองค์ท่านได้เสด็จประทับที่ท่าน้ำวัดแค เพื่อเสวยพระกระยาหารกลางวัน

D6B90249 1966 46AE 8F88 783F3B975F0E e1605243135286

 

ภายใน วัดแค ยังมีโบราณวัตถุที่ทรงค่าเป็นอย่างยิ่ง คือ ตู้หนังสือไม้สัก ที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ถวายแด่พระภิกษุคง รอยพระพุทธบาทสี่รอยเนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะยุคต้นรัตนโกสินทร์ ฝีมือประณีตงดงาม ภายในรอยฝ่าพระบาทซ้อนกันถึง 4 ชั้น มีรูปภาพต่างๆ ภายใน เช่น พระในซุ้มเรือนแก้ว เต่า หงส์ ฯลฯ คล้ายแสดงเรื่องราวพระเจ้าสิบชาติ  พระพุทธรูปปางมารวิชัย จีวรลายดอกพิกุล สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ระฆังทองเหลือง หม้อต้มกรักเนื้อสัมฤทธิ์

A9141B98 6CF3 4DE3 B791 6744BBE60CA0

ออกจากวัดแคมาอีกนิดเดี่ยวเราก็เจอกับ จุดเช็คอินที่สาม วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง

พูดกันว่า ถ้ามาเมืองสุพรรณ แล้วไม่ได้แวะมากราบไหว้หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองสุพรรณ โดยวัดป่าเลไลยก์ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณ ถ้าหากมีโอกาสมาเมืองสุพรรณ สถานที่แรกที่ไม่ควรผ่าน ต้องแวะชมความงามของหลวงพ่อโต และกราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคล

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1,200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 23.47 เมตร

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ถึงศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรว่า

“พระพุทธรูปป่าเลไลยก์ เป็นของเก่าก่อนวัตถุอื่น ลักษณะทันสมัยอู่ทอง และสร้างเป็นพระพุทธรูปปางแสดงพระธรรมจักร เหมือนอย่างพระประทาน ที่พระปฐมเจดีย์ มีกุฏิครอบเฉพาะองค์พระ มาร้างวิหารต่อชั้นหลัง ส่วนองค์พระนั้นเคยชำรุดถึงพระกรหักหาย คนชั้นหลังปฏิสังขรณ์ เมื่อมีความรู้เรื่องพระแสดงปฐมเทศนาสูญเสียแล้วจึงทำเป็นปางป่าเลไลยก์”

750F0EAC 1ACA 4527 9729 302AE6C44752

พุทธลักษณะของหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ พระพักตร์มีเค้าเป็นศิลปะอู่ทองกลาย ๆ เพราะพระหนุ (คาง) เป็นเหลี่ยม ความเป็นจริงแล้ว พระหนุเป็นเหลี่ยม ส่อเค้าให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลถ่ายทอดมาจากศิลปะทวารวดี วัดป่าเลไลยก์ มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีของไทย คือ เสภาขุนช้างขุนแผน นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่ มีภาพเขียนเรื่องราว ขุนช้าง-ขุนแผน รอบๆ วิหารของหลวงพ่อโต มีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวของขุนช้าง-ขุนแผน ตั้งแต่เริ่มเรื่อง จนถึงตอนสุดท้าย เป็นภาพที่สวยงาม และได้ความรู้

จุดเช็คอินต่อไปคือ ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย (นาเฮียใช้)  สถานที่นี้ นอกจากรูปแบบที่แสดงถึงความเป็นบ้านเรือนไทยที่งดงามแล้ว ที่นี้ยังเป็นที่ที่รวบรวมเรื่องราว และองค์ความรู้ในวิถีของเกษตรกรที่ทรงคุณค่า

เพียงก้าวแรกที่ได้เห็น ทำให้หวนคิดถึงภาพอดีต ภาพวิถีแห่งท้องทุ่ง ยุ้งฉาง ไอ้ทุยควายไทย และเครื่องมือในการดำรงชีวิติของผู้คนในถิ่นนี้ แค่อยากจะบอกว่า ถ้ามาสุพรรณ อย่าพลาดเข้ามาแวะเยี่ยมชมสถานที่ที่เป็น จิตวิญญาณ ของชาวนาไทย

EDC3DAD4 5FAE 45ED 81F0 98E92F11F204

ความเป็นมาของนาเฮียใช้ บิดาและมารดาของ เฮียใช้ พิชัย เจริญธรรมรักษา หนีความแห้งแล้งมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ เข้ามาตั้งรกรากที่ตำบลสวนแตง และย้ายมาอยู่ที่ อู่ยาในเวลาต่อมา มารดาประกอบอาชีพ หาบของแลกข้าวเปลือก ขายข้าวแกง ร้านกาแฟ และร้านขายของชำ ตามลำดับ เมื่อเฮียใช้เติบโตขึ้น ได้เข้ามาช่วยครอบครัวในการรับซื้อข้าวเปลือก ในปี พ.ศ. 2540 ครอบครัวได้ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพ จากรับซื้อข้าวเปลือกมาเป็นการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อการค้าโดยมีลูกๆคอยช่วยดูแล ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เฮียใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว”

นิทัศน์ เจริญธรรมรักษา บุตรชาย ของเฮียใช้  มีความคิดจะก่อตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทยขึ้น เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้ที่มีความสนใจศึกษาหาความรู้เรื่องข้าว และวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต

1AF57877 412F 4327 B294 B61E381218EF e1605243366270

ที่นี้จะมีอาคารต่างๆ เช่น เรือนศูนย์รวมดวงใจไทยทั้งชาติ จัดแสดงพระบรมรูป และพระบรมสาทิสลักษณ์ราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 และรูปบุคคลสำคัญๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาวงการข้าวไทย แปลงนาสาธิต การสาธิตชนิดพันธุ์ข้าวนาปรังทุกชนิด ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน สาธิตการอนุรักษ์การพัฒนาพันธุ์ข้าว เรือนวิถีชีวิตชาวนาไทยในอดีต ที่คงเอกลักษณ์ความเป็นไทย รวมทั้ง คอกควาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ อีกส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวนาไทยแต่ดั้งเดิม

นอกจากนี้ ยังมีเรือนหนังสือพระราชกรณียกิจ และเรือนหนังสือข้าว ก่อสร้างเป็นเรือนไทยทรงปั้นหยา จำลองรูปแบบให้เหมือนโรงเรียนในสมัยอดีต ภายในเรือนเก็บรวบรวมหนังสือพระราชกรณียกิจ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หนังสือข้าว และองค์ความรู้ต่างๆ ที่สามารถค้นคว้าได้จากแหล่งเรียนรู้แห่งนี้

หอเตือนภัยชาวนา ก่อสร้างเป็นหอคอยสูง 3 ชั้น ความสูง 14.5 เมตร ก่อสร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง ออกแบบด้วยความประณีตเป็นเอกลักษณ์ มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักผู้เข้าชมจำนวนมากได้อย่างปลอดภัย และยังเป็นจุดชมทัศนียภาพที่สวยงามจุดหนึ่ง

37474B01 E291 496F B8B6 446A27CA2C4C

9231219B 6642 41CC 9664 03963018F34E

นอกจากจะนั่งรถรางชมสถานที่แล้ว นาเฮียใช้ ยังมีกิจกรรมให้ทำมากมาย เช่น ไปเก็บไข่เป็ดมาทำไข่เค็ม  ทำขนมสาคูไส้หมู และข้าวเกรียบปากหม้อ สร้างความสนุกสนานกับนักท่องเที่ยว

AA1FED50 2D68 474F BAF6 7B88F6276BD5

มาถึงจุดเช็คอินสุดท้ายสำหรับการท่องเที่ยวสุพรรณบุรีครั้งนี้ คือ พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ (หลวงพ่ออู่ทอง) ณ พุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เขาทำเทียม อำเภออู่ทอง พุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เขาทำเทียม และภูผามังกรบิน เขตโบราณสถานเมืองอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเขตพื้นที่ ที่กรมศิลปากรยืนยันว่า เป็นจุดเริ่มต้นของการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ

หลักฐานทางโบราณคดีที่มีข้อพิสูจน์ว่า พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย ส่งพระธรรมทูตออกเผยแผ่พระพุทธศาสนา 9 สาย โดยสายที่ 8 ส่งทรงพระโสณะ และพระอุตตรเถระ เข้ามาดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 3 ซึ่งปรากฏร่องรอยพระพุทธศาสนาในอู่ทอง

BF52A4C4 7A53 4D4B 929C 81158542A3A7 1

การก่อสร้างพื้นที่นี้ เป็นพุทธมณฑล เพื่อใช้เป็นอุทยานทางพระพุทธศาสนา และให้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดสุพรรณบุรี การออกแบบพระพุทธรูปที่จะใช้แกะสลักบนหน้าผาของเขาทำเทียม โดยจะให้เป็นพระพุทธรูปที่มีลอยนูน เป็นพระพุทธรูปที่มีความสวยงาม

พระพุทธรูปองค์นี้นอกจากมีความสวยงามแล้ว ยังเป็นประธาน และเป็นหัวใจหลักของอุทยานทางพระพุทธศาสนาแห่งนี้ สำหรับหน้าผาโดยรอบ จะเป็นภาพแกะสลักเรื่องราวสำคัญทางพระพุทธศาสนาให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้

ทุกจุดเช็คอินผู้ร่วมทริป ให้ความสำคัญกับการใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ เพื่อสุขอนามัยที่ดี และป้องกันโรค ตามวิถีการท่องเที่ยวเดินทาง ในยุค นิว นอร์มัล

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo