Travel

ศุกร์ (สุข) ละวัด กับ วัดอุโปสถาราม (วัดโบสถ์)

วัดอุโปสถาราม (วัดโบสถ์) เดิมชื่อ “วัดโบสถ์มโนรมย์” เป็นวัดเก่าแก่ ที่สร้างขึ้นเมื่อ ปีพุทธศักราช 2324 ตั้งอยู่บนเกาะเทโพ ริมฝั่งแม่น้ำสะแกกรัง

ภายในอุโบสถและวิหาร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านหลังอุโบสถและวิหาร มีเจดีย์ สามยุคสามสมัย ทั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตั้งอยู่

cover วัดอุโปสถาราม

นอกจากนั้นยังมีมณฑปแปดเหลี่ยมศิลปะผสมไทย จีน อันวิจิตรอ่อนช้อยงดงาม หน้าวัดมีแพโบสถ์น้ำ ครั้งหนึ่งเคยใช้เป็นแพรับเสด็จ รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 เมื่อคราวเสด็จประพาส และเยี่ยมเยือนหัวเมืองฝ่ายเหนือ และใช้เป็นศาสนสถานลอยน้ำสำหรับชาวเรือนแพใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจและงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานโกนจุก บวชนาค งานแต่งงาน เป็นต้น

กรมศิลปากรประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นการขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2508 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2536 เล่ม 110

59832C61 AAD6 4FEB A120 EBAD8A19F4FC 1

D11983A6 44E8 426B 8E6F 63B559229829

เดิมชื่อวัดโบสถ์มโนรมย์ ชาวบ้านเรียกว่าวัดโบสถ์ เป็นวัดเก่าแก่อยู่ริมลำน้ำสะแกกรัง ในเขตเทศบาลเมือง จากตลาดสดเทศบาล มีสะพานข้ามแม่น้ำ ไปยังวัดอุโปสถาราม ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ

สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ และวิหาร เป็นภาพเขียนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในโบสถ์เป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ เริ่มตั้งแต่ประสูติ จนถึงปรินิพพาน ฝีมือประณีตมาก

9B9B11E2 D3BF 4387 9240 906E7182FB15

12304568 536E 4789 B9B8 06DBA718A30B

ส่วนในวิหารเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้า เสด็จโปรดเทพยดาบนสวรรค์ และภาพปลงสังขาร ด้านบนฝาผนัง เป็นพระสงฆ์สาวกชุมนุม สลับกับพัดยศ เหมือนจะไหว้พระประธานในวิหาร

ฝาผนังด้านนอกหน้าวิหาร มีภาพถวายพระเพลิงศพ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และภาพชีวิตชาวบ้าน ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เข้าใจว่าเป็นฝีมือชั้นหลัง

นอกจากนี้ ภายในวัดอุโปสถาราม ยังมีสิ่งของที่น่าชมอีกมาก เช่น ภาพจิตรกรรมในวิหาร ภายในวิหารประดิษฐานพระประธานปางห้ามญาติ ซึ่งมีฉัตรห้าชั้นประดับอยู่เหนือเศียร ด้านซ้าย และขวาของพระประธานประดิษฐาน พระพุทธรูปยืน ทำด้วยไม้แก่นจันทน์ 2 องค์ ที่ฝาผนังทั้งสี่ด้านมีภาพจิตรกรรม ที่นอกจากจะเขียนเป็นเรื่องพุทธประวัติแล้ว ยังมีภาพพระมาลัย ซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง และภาพพระอสีติมหาสาวก สาวกองค์สำคัญถึง 80 องค์ โดยช่างได้เขียนซ้อนกันเป็นสองแถว

D3264915 46D3 4BDC 84A8 6DBA1FE012A8

C9C53261 92DC 48C3 9D18 FDD5D1D7F3BF 1

อีกองค์ประกอบหนึ่งที่น่าสนใจคือ ภาพพัดยศที่คั่นระหว่างมหาสาวก ชั้นบนเป็นพัดยศทรงดอกพุดตาน ชั้นล่างเป็นพัดยศทรงหน้านาง เขียนบนพื้นสีม่วง ที่มีลายดอกไม้ร่วงอันสวยงาม มีภาพที่น่าชมอีกภาพหนึ่ง เป็นภาพพระอสุภกรรมฐาน คือการที่พระสงฆ์พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ

ภาพจิตรกรรมในโบสถ์ โบสถ์ตั้งอยู่คู่กับวิหาร ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยจำนวน 5 องค์ ซึ่งอยู่บนฐานชุกชีเดียวกัน ผนังด้านในโบสถ์ทั้งสี่ด้าน มีภาพจิตรกรรมเป็นเรื่องพุทธประวัติ

BAC6DEDA 4B2B 4C29 AECB 42B9454C3A74

ซึ่งมีความพิเศษคือ ภาพกองทัพเหล่าพญามาร ที่มาขัดขวางการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้านั้น เดิมนิยมเขียนไว้ที่ผนังด้านหน้า พระประธาน แต่ที่โบสถ์นี้กลับเขียนไว้ด้านหลัง ส่วนแม่พระธรณี ที่ผุดขึ้นมาแสดงปาฏิหาริย์ให้พญามารได้เห็นบุญมารมีของพระพุทธองค์ ที่ทรงสั่งสมมาจนพญามารต้องยอมแพ้นั้น ตามวัดทั่วไปจะเขียนอยู่ด้านหน้าพระประธาน แต่ที่โบสถ์นี้เขียนอยู่ด้านซ้ายของพระประธาน

9351FD4B 5A77 49AF B8D6 3A6A2660BA1A

มณฑปแปดเหลี่ยม เป็นอาคารแปดเหลี่ยม สองชั้น มีบันไดวนอยู่ด้านนอกอาคาร ซุ้มหน้าต่างเป็นวงโค้งแบบอาคารในยุคอาณานิคม ลายปูนปั้นบนผนังด้านนอก ที่เป็นภาพพระพุทธรูปปางถวายเนต อยู่ท่ามกลางหงส์ และนกกระสา ช่วยตกแต่งให้มณฑปงดงามยิ่งขึ้น มณฑปแปดเหลี่ยมนี้ หลวงพิทักษ์ภาษา (บุญเรือง พิทักษ์อรรณนพ) สร้างขึ้นเมื่อปี 2442 เพื่อถวายแด่พระสุนทรมุนี (จัน) หรือพระครูอุไททิศธรรม ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาสวัด และเจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานีในช่วงรัชกาลที่ 5

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo