Entertainment

เพจดังเฉลย! ทำได้หรือไม่ JSL จ่ายชดเชยลูกจ้าง 16% ในวันที่บริษัทไปต่อไม่ไหว?

เพจกฎหมายแรงงานชี้ JSL จ่ายชดเชยลูกจ้าง 16% ในวันที่บริษัทไปต่อไม่ไหว ทำได้หรือไม่…? พร้อมเผยข้อควรระวัง ถ้ายื่นเอกสารมาห้ามเซ็นเด็ดขาด อาจทำให้มีผลบังคับคดีได้

จากกรณีที่บริษัทชื่อดัง JSL ประกาศยุติการดำเนินงานบางส่วน นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2565 ส่งผลให้พนักงาน 89 คน ในบริษัทตตกงานโดยทันที ทว่ามีพนักงาน 10 คน ที่ยินยอมพร้อมรับเงินชดเชย 16% ที่บริษัทให้ ส่วนพนักงานอีก 79 คน ไม่พร้อมรับเงินดังกล่าว พร้อมประกาศเดินหน้าขอความเป็นธรรม

10 JSL จ่ายชดเชยลูกจ้าง 16 ได้หรือไม่3

เพจดังเฉลย! ทำได้หรือไม่ JSL จ่ายชดเชยลูกจ้าง 16% ในวันที่บริษัทไปต่อไม่ไหว?

ล่าสุด (4 ก.ค.)  เพจเฟซบุ๊ก กฎหมายแรงงาน ได้โพสต์ให้ความรู้ ระบุว่า JSL เลิกจ้างจ่ายค่าชดเลยร้อยละ 16 ของค่าจ้างได้หรือไม่…?

โดยปกติค่าชดเชยจ่ายเมื่อเลิกจ้าง หรือสัญญาจ้างสิ้นสุด หรือกิจการนายจ้างดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้ หรือเกษียณ เหล่านี้กฎหมายเรียกว่า “เลิกจ้าง”

เมื่อเลิกจ้าง ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชย โดยมีสิทธิได้รับในวันที่เลิกจ้าง หากไม่จ่ายในวันเลิกจ้างนายจ้างก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี หรือถ้าเป็นการจงใจเจตนาไม่จ่ายก็จะต้องจ่าย “เงินเพิ่ม” ร้อยละ 15 ทุก ๆ 7 วัน

10 JSL จ่ายชดเชยลูกจ้าง 16 ได้หรือไม่1

กรณีบริษัท JSL จะจ่ายค่าชดเชยร้อยละ 16 กรณีนี้บริษัทไม่สามารถทำได้ เพราะกฎหมายกำหนดอัตราการจ่ายค่าชดเชยเอาไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว ในมาตรา 118 โดยพิจารณาว่าทำงานมานานเพียงใด ก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามนั้น กล่าวคือ

1. หากทำงานครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 30 วัน

2. หากทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 90 วัน

3. หากทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 180 วัน

4. หากทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 240 วัน

5. หากทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชย 300 วัน

6. หากทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ต้องจ่ายค่าชดเชย 400 วัน

เช่น พนักงานมีเงินเดือน 36,000 บาท บาท หาร 30 จะได้เป็นค่าจ้างรายวัน ๆ ละ 1,200 บาท หากทำงานมานาน 12 ปี จะได้ค่าชดเชย 300 วัน ซึงคูณค่าจ้างรายวัน 1,200 บาท จะได้เป็นค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายคือ 360,000 บาท

นายจ้างจะอ้างว่าจ่ายร้อยละ 16 ของเงินที่ควรได้รับคือ 360,000 บาท ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ แม้ลูกจ้างตกลงด้วยก็เป็นโมฆะ

10 JSL จ่ายชดเชยลูกจ้าง 16 ได้หรือไม่2

ข้อควรระวัง

เมื่อถูกเลิกจ้างแล้ว หากไปเซ็นต์ตกลงรับเงินเพียงร้อยละ 16 ของเงินที่ควรได้รับ ก็อาจทำให้ข้อตกลงนั้นมีผลบังคับได้ เพราะตอนทำข้อตกลงลูกจ้างเป็นอิสระแล้ว
ซึ่งศาลฎีกาที่ 3121/2553 พิพากษาว่าการตกลงหลังเลิกจ้างแล้วลูกจ้างมีอิสระพ้นจากพันธกรณี และไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาโดยสิ้นเชิงแล้ว ข้อตกลงจึงใช้บังคับได้
จึงต้องระวังไม่ไปเซ็นตกลงยินยอมรับเงินที่น้อยกว่าสิทธิที่ควรจะได้

ประเด็นนี้ สามารถฟ้อง หรือร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้เลย หากได้เงินไม่พอก็อาจบังคับยึดทรัพย์ของบริษัทขายทอดตลาด และเงินที่ได้จะต้องนำมาจ่ายค่าจ้างแก่พนักงานก่อน

ประเด็นต่อไป การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ จากข้อเท็จจริงทราบว่าบริษัทขาดทุนสะสม และขาดทุนจริงกระทั่งต้องปิดกิจการ กรณีนี้ถือว่าการเลิกจ้างมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้ (แต่ถ้าไม่ขาดทุนจริง ก็เลิกจ้างไม่ได้เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม) ดังนั้น กรณีนี้คิดว่าไม่จำเป็นต้องฟัองคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ขอบคุณที่มา สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าวกฎหมายแรงงาน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo