Entertainment

เปิดประวัติ ท้าวทองกีบม้า ราชินีขนมไทย ตัวละคร #พรหมลิขิต จากชีวิตที่รุ่งโรจน์สู่จุดต่ำสุด

เปิด ประวัติท้าวทองกีบม้า ราชินีขนมไทย ตัวละคร #พรหมลิขิต จากชีวิตที่รุ่งโรจน์สู่จุดต่ำสุด

กลับมาให้หายคิดถึงกันแล้ว สำหรับ ละครแห่งปีเรื่อง พรหมลิขิต จักรวาลออเจ้า ที่ได้พระเอกหนุ่มสุดฮอต โป๊ป-ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ และนางเอกซูปเปอร์สตาร์ เบลล่า-ราณี แคมเปน เป็นพระนางคู่กันอีกครั้งหนึ่ง เรียกได้ว่ากระแสดีตั้งแต่ตอนตอนแรก มีรายงานว่ายอดคนดูผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นสูงถึง 4.2 แสนคน และกระแสตอบรับอย่างดี ทำเอาแฮชแท็ก #พรหมลิขิตep1 ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ในเว็บเอ็กซ์ (ทวีตเตอร์)

ปกประวัติท้าวทองกีบม้า

ประวัติท้าวทองกีบม้า ราชินีขนมไทย ตัวละคร #พรหมลิขิต 

ซึ่งอีกหนึ่งตัวละครที่หลาย ๆ คนคิดถึงก็คงจะเป็น แม่มะลิ หรือ นางมารี กีมาร์ เดอ ปิน่า ลูกครึ่งโปรตุเกส–ญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้คิดค้นสูตรตำรับคาวหวานอันเลื่องชื่อ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “ราชินีแห่งขนมไทย” โดยทางเว็บไซต์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น museumthailand ได้เคยมีการเปิดเผยข้อมูล ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์) เอาไว้ว่า ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ (Marie Guimar) เป็นสุภาพสตรีช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภรรยาของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางกรีกที่ทำราชการในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ท้าวทองกีบม้า เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส, เบงกอล และญี่ปุ่น เป็นธิดาคนโตของฟานิก กูโยมาร์ (Fanik Guyomar) บิดามีเชื้อสายโปรตุเกส, ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสในเมืองกัวกับมารดาชื่ออูร์ซูลา ยะมะดะ (Ursula Yamada) ลูกหลานผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2135 ตามคำบัญชาของ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ทำให้ เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ หรือ อิกเนซ มาร์ตินซ์ ย่าบ้างก็ว่าเป็นยายของท้าวทองกีบม้า ถูกนำตัวมาไว้ที่เมืองไฮโฟในเวียดนาม

ท้าวทองกีบม้า15212018513 1522307168

ระหว่างนั้นนางได้สมรสกับลูกหลานไดเมียวตระกูลโอโตะโมะ ภายหลังครอบครัวของนางจึงได้อพยพมาลงหลักปักฐานในกรุงศรีอยุธยาอีกทอดหนึ่ง แต่ข้อมูลในบางแห่งก็ว่า ครอบครัวของนางไปอยู่ที่กัมพูชาก่อนถูกกวาดต้อนมาสู่กรุงศรีอยุธยาเมื่อครา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงตีเมืองละแวก ในปี ค.ศ. 1593 จากข้อมูลนี้มารีอาอาจมีเชื้อสายเขมรหรือจามผ่านทางมารดาด้วยก็เป็นได้

ครอบครัวของ ยะมะดะ เป็นตระกูลที่เคร่งครัดในคริสต์ศาสนา เซญอรา อิกเนซ มาร์แตงซ์ ผู้เป็นยาย อ้างว่านางเป็นหลานสาวของนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ (Saint Francis Xavier) นักบุญชื่อดัง ที่ได้ประทานศีลล้างบาปและตั้งนามทางศาสนาให้ แต่อย่างไรก็ตาม มารดาของ ท้าวทองกีบม้า ค่อนข้างจะมีประวัติด่างพร้อยว่านางคบชู้กับบาทหลวงทอมัส วัลกัวเนรา (Thomas Vulguaneira) บาทหลวงเยสุอิตเชื้อสายซิซิลี และกล่าวกันว่าท้าวทองกีบม้า มิใช่ลูกของฟานิก สามีตามกฎหมายของนางยะมะดะ แต่เกิดกับบาทหลวง

ทั้งนี้ ไม่มีการชี้ชัดว่าฟานิกเป็นบิดาแท้จริงของมารีอาหรือไม่ เพราะในงานเขียนของ E. W. Hutchinson มีการกล่าวถึงประวัติชีวิตของท้าวทองกีบม้า คือ Adventure in Siam in the 17th Century. และ 1688 Revolution in Siam. เมื่อกล่าวถึงฟานิกเขามักใช้คำว่า “ผู้เลี้ยงดู” หรือ “พ่อเลี้ยง” แต่เอกสารบางชิ้นก็ว่า ท้าวทองกีบม้า ผิวคล้ำละม้ายฟานิก และเอกสารของบาทหลวงฝรั่งเศส ต่างไม่ลังเลใจที่จะเรียกฟานิกว่าเป็นบิดาของนาง

เมื่อ ท้าวทองกีบม้า มีอายุ 16 ปี ได้สมรสกับเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางชาวกรีกอันเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เดิมที่บิดาของนางไม่พอใจในพฤติกรรมของลูกเขยที่หลงลาภยศสรรเสริญและความเจ้าชู้ แต่ฟอลคอนจึงแสดงความจริงใจด้วยยอมละนิกายแองกลิคันที่ตนนับถือ เปลี่ยนเป็นนิกายโรมันคาทอลิกตามมารีอา ฟานิกจึงเห็นแก่ความรักของคอนสแตนตินและยินยอมได้ทั้งสองสมรสกัน โดยมีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและขุนนางผู้ใหญ่เข้าร่วมงานมงคลสมรสดังกล่าวด้วย

ท้าวทองกีบม้า155 1522307169

หลังการสมรส มารีอา ก็ยังดำรงชีวิตอย่างปกติไม่โอ้อวดในยศถาบรรดาศักดิ์ ซ้ำยังชี้ชวนให้สามีคือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ประพฤติและปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอขึ้นกว่าเก่า
ท้าวทองกีบม้าและเจ้าพระยาวิชเยนทร์ มีบุตรด้วยกันสองคนคือ จอร์จ ฟอลคอน (George Phaulkon) กับคอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantin Phaulkon) บ้างว่าชื่อควน ฟอลคอน (Juan Phaulkon)

แต่ก่อนหน้านี้ ฟอลคอน มีบุตรสาวคนหนึ่งที่เกิดกับหญิงชาววังที่ได้รับพระราชทานจากกรมหลวงโยธาเทพเพื่อผูกมัดฟอลคอนไว้กับราชสำนัก หลังสมรสแล้วมารีอาจึงส่งหญิงผู้นั้นไปเมืองพิษณุโลก และนำบุตรของหญิงผู้นั้นมาเลี้ยงเองเป็นอย่างดี นอกจากนี้เธอและสามียังอุปถัมภ์เด็กเข้ารีตกว่า 120 คน

แต่ชีวิตสมรสของเธอก็ไม่ราบรื่นนัก เหตุก็เพราะความเจ้าชู้ของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ที่นอกใจนางไปมีสัมพันธ์สวาทกับคลารา (Clara) นางทาสชาวจีนในอุปการะของเธอ มารีอาจึงขนข้าวของและผู้คนจากลพบุรีกลับไปที่กรุงศรีอยุธยา

แต่ชีวิตที่รุ่งโรจน์ของเธอก็พลันดับวูบลงเมื่อเจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นสามี ถูกตัดสินประหารชีวิตและริบราชบาตรหลังเกิดจลาจลก่อนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพียงไม่กี่วัน ขณะที่เจ้าพระยาวิชเยนทร์กำลังจะถูกประหารนั้น บางบันทึกระบุว่า “[นาง]เศร้าโศกร่ำไห้ปิ่มว่าจะขาดใจ”

บ้างก็ว่า นางมิได้ร่ำไห้ให้สามีแม้แต่น้อย แต่นางกลับถ่มน้ำลายรดหน้าสามี และไม่ยอมให้จูบลาลูก หลังจากนั้นนาก็ถูกริบสมบัติที่มีอยู่ทั้งหมด รวมถึงเคหาสน์อันเป็นที่พำนักของนางและสามีที่เมืองลพบุรี

แต่กระนั้นเธอยังลอบแบ่งทรัพย์สินและเครื่องเพชรออกเป็นสามกล่อง สองกล่องแรกไว้กับบาทหลวงเยสุอิต ส่วนอีกกล่องเธอฝากไว้ที่ทหารฝรั่งเศสชั้นนายร้อยไป แต่บาทหลวงเยสุอิตเกรงจะไม่ปลอดภัยจึงฝากไว้กับนายพันโบช็อง แต่เมื่อทั้งบาทหลวงและนายพันโบช็องมาถึงบางกอก นายพลเดฟาร์ฌ (General Desfarges) จึงเก็บทรัพย์สินทั้งหมดไว้เอง

ท้าวทองกีบม้า27893137 355145598222330 3920

ครั้นเมื่อถึงเวลาคืนทรัพย์สินของฟอลคอนแก่ออกญาโกษาธิบดีผู้แทนของไทย “ทรัพย์สินที่คงเหลือมีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น ด้วยเหตุนี้มารีอาจึงมีสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว นางต้องประสบเคราะห์กรรมและความทุกข์อย่างสาหัส ทั้งยังต้องทนทุกขเวทนากับกับคุมขัง

ท่ามกลางความโชคร้ายก็ยังมีความโชคดี เพราะผู้คุมที่เคยได้รับการอุปการะเอื้อเฟื้อจากนางได้ลักลอบให้ความสะดวกบางประการแก่นาง ขณะที่ชาวต่างด้าวคนอื่นจะถูกกักขังและทำโทษอย่างรุนแรง ต่อมาได้ถูกนำตัวไปเป็นคนใช้ในวัง แต่โชคร้ายของนางยังไม่หมดเท่านี้ เมื่อหลวงสรศักดิ์ พระโอรสในสมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าแผ่นดินใหม่ ได้หลงใหลพึงใจในรูปโฉมของนาง และมีพระประสงค์ที่จะนำนางไปเป็นภริยา

มีการส่งคนมาเกลี้ยกล่อมพร้อมคำมั่นนานัปการ หวังเอาชนะใจนาง เมื่อไม่สมดั่งใจประสงค์ก็แปรเป็นความเกลียดและขู่อาฆาต ตลอดเวลาทุกข์ลำบากนี้ นางพยายามหาทุกวิถีทางที่จะติดต่อกับชาวฝรั่งเศส เพื่อขอออกไปจากแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา นายพลเดฟาร์ฌที่ประจำการที่ป้อมวิไชยเยนทร์ที่บางกอกได้ให้สัญญากับนางว่าจะพาออกไปพ้นกรุงสยาม แต่นายพลเดฟาร์ฌได้บิดพลิ้วต่อนาง

เรื่องราวของ มาดามฟอลคอน หรือมารีอา กูโยมาร์ ปรากฏอีกครั้ง โดยเธอเขียนจดหมายส่งไปยังบิชอปฝรั่งเศสในประเทศจีนเมื่อปี พ.ศ. 2249 เพื่อขอให้บาทหลวงกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บังคับให้รัฐบาลฝรั่งเศสส่งส่วนแบ่งรายได้ของบริษัทฝรั่งเศสที่สามีเคยเป็นผู้อำนวยการแก่นางบ้าง และพรรณนาความทุกข์ยากลำบากของนาง
หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าเสือ

ชีวิตของมาดามฟอลคอนได้กลับมาดีขึ้นโดยลำดับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดเกล้าให้ มาดามฟอลคอน เข้ามารับราชการฝ่ายใน โดยไว้วางพระราชหฤทัยให้นางดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง และเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และมีสตรีในบังคับบัญชากว่า 2,000 คนทั้งนี้ท้าวทองกีบม้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต คืนเงินสู่ท้องพระคลังปีละครั้งมาก ๆ ทุกปี จนเป็นที่โปรดปรานในองค์พระมหากษัตริย์ รวมทั้งจอร์จ บุตรชายของเธอที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดไว้ใกล้ชิดพระองค์

ในปี พ.ศ. 2260 รัฐบาลฝรั่งเศสได้มีมติอนุมัติให้ส่งเงินรายได้ที่เป็นของฟอลคอนแก่นางตามที่นางขอร้องในจดหมายที่เคยส่งไปมาให้ ที่สุดหลังพ้นจากวิบากกรรมอันนิสัยไม่ดีร้าย ท้าวทองกีบม้าได้ใช้เวลาแห่งบั้นปลายชีวิตที่เหลือด้วยการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดโดยพำนักอยู่กับลูกสะใภ้ที่ชื่อ ลุยซา ปัสซัญญา (Louisa Passagna) ภริยาม่ายของคอนสแตนติน และได้ถึงแก่มรณกรรมในปี พ.ศ. 2265

ท้าวทองกีบม้า28151871 630645593947696 8479772602162741248 n 1522307157

หลวงสิทธิสยามการ ได้เขียนบรรยายถึงบุคลิกของท้าวทองกีบม้าในหนังสือ The Greek Favorite of The King of Siam ความว่า “ท้าวทองกีบม้าเป็นหญิงสาวชาวญี่ปุ่น รูปร่างผอม ผมดำ ตาสีน้ำตาล ผิวหน้าสะอาดสดใส สูงราว 5 ฟุต รูปร่างเล็ก สดใส ร่าเริง แม้จะไม่สวยมาก แต่ก็เป็นหญิง “ผิวคล้ำ” ที่ดึงดูดใจและมีรูปร่างดี”

แต่ขณะที่ Mémoire en forme de lettre d’un anglais catholique อธิบายว่านางมีผิวขาวกว่าบิดาและในกระบวนพี่น้อง [9] และสันนิษฐานว่าท้าวทองกีบม้าน่าจะแต่งกายอย่างชาวสยามหรืออาจจะแต่งอย่างญี่ปุ่น ทั้งนี้ท้าวทองกีบม้าพูดภาษาไทย, ญี่ปุ่น และโปรตุเกสในการสื่อสาร เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าและสามีน่าจะสื่อสารกันด้วยภาษาโปรตุเกสมากกว่าภาษาไทย ทั้งยังมีรสนิยมการแต่งบ้านแบบญี่ปุ่น ที่ตกแต่งโดยภาชนะ, ฉากญี่ปุ่น หรือแม้แต่ภาพที่ฝาผนัง และเป็นที่แน่ชัดว่าเธอไม่ชอบอาหารไทย โดยให้เหตุผลว่าไม่ถูกจริต

ท้าวทองกีบม้า นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และเป็นผู้ที่เคร่งครัดในศาสนา นอกจากนี้นางมีใจเมตตาเผื่อแผ่คนทุกข์ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ท้าวทองกีบม้าได้อุดหนุนจุนเจือพวกเขาและเผยแผ่ศาสนาคริสต์ไปในตัว

นางมีความเคร่งครัดในศาสนามาก แม้ขณะที่นางถูกคุมขัง นางก็ลอบออกจากที่คุมขังไปยังวัดในหมู่บ้านโปรตุเกสตอนตีสามโดยเรือเปิดประทุน และต้องกลับมาให้ทันก่อนหกโมงเช้า บางครั้งนางต้องทนความหนาวของอากาศหรือความชุ่มโชกจากฝน เธอมีชื่อเสียงจากการปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าห้องเครื่องต้นวิเสทในราชสำนัก ตำแหน่ง “ท้าวทองกีบม้า” ว่ากันว่านางได้ประดิษฐ์ขนมไทยที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารโปรตุเกส อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองม้วน และหม้อแกง

จนได้สมญาว่าเป็น “ราชินีแห่งขนมไทย” แต่ก็มีกระแสคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า ขนมโปรตุเกสเหล่านี้แพร่หลายมาพร้อมกับกลุ่มชนเชื้อสายโปรตุเกสที่เข้ามาพำนักในกรุงศรีอยุธยามากว่า 150 ปีก่อนที่นางจะเกิดเสียอีก เรื่องที่นางดัดแปลงขนมไทยจากตำรับโปรตุเกสเป็นคนแรกเห็นจะไม่จริงดั่งที่เราเข้าใจ

ขอบคุณ : museumthailand

ท้าวทองกีบม้าF8usKTGbkAArwrJ

ท้าวทองกีบม้า262662

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo