Lifestyle

ศุกร์ (สุข) ละวัด เที่ยว ‘วัดราชโอรสาราม’ ชมความงาม ‘ศิลปะจีน’

วัดราชโอรสเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 แห่งบรมราชวงศ์จักรี เป็นวัดโบราณมีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ เป็นวัดราษฎร์ ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกว่า “วัดจอมทอง” บ้าง “วัดเจ้าทอง” บ้าง หรือ “วัดกองทอง” บ้าง

สมัยราชกาลที่ 2 ในปี 2363 มีข่าวว่าพม่าตระเตรียมกำลังจะยกเข้ามาตีสยาม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3) ทรงเป็นแม่ทัพคุมพล ไปขัดตาทัพพม่าทางด่านเจดีย์ 3 องค์ จังหวัดกาญจนบุรี

B75A3E92 BBAD 403A AE0F BE903E54EA61

พระองค์ได้เสด็จประทับแรมที่หน้าวัดจอมทองนี้ และทรงทำพิธีเบิกโขลนทวาร ตามลักษณะพิชัยสงคราม ทรงอธิษฐานให้ประสบความสำเร็จกลับมาโดยสวัสดิภาพ แต่พม่าไม่ได้ยกทัพมาตามที่เล่าลือกัน และเมื่อพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงเลิกทัพเสด็จกลับพระนครแล้ว จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งวัด และถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชโอรส”

สิ่งน่าสนใจอย่างแรกของวัดนี้ คือ แผนผังของวัด เพราะเป็นการนำแผนผังแบบฮวงจุ้ยจีน เข้ามาใช้เป็นครั้งแรก แผนผังแบบฮวงจุ้ยนั้น บ้านจะหันหน้าไปยังน้ำโดยมีภูเขาใหญ่อยู่ข้างหลัง ขนาบสองข้างด้วยเนินเขา

58D8C996 9223 41BE A608 0971B95545A1

วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ เป็นอาคารประธานของวัด หันหน้าไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นคลอง ด้านหลังเป็นวิหารพระนอนขนาดใหญ่ ขนาบสองข้างด้วยวิหารพระนั่ง และศาลาการเปรียญ ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่า น่าจะนำไอเดียของฮวงจุ้ยมาประยุกต์ใช้ที่นี่

พระอุโบสถ ซึ่งเป็นอาคารแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 แบบไทยประเพณีดั้งเดิม หน้าบันก่ออิฐแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนประดับด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นสัญลักษณ์แห่งความมงคล ไม่ว่าจะเป็นแจกัน ช่อดอกไม้ หงส์คู่ เมฆ ผีเสื้อ

ส่วนชั้นล่างเป็นภาพทิวทัศน์ ประกอบด้วยบ้านมีคนอยู่ ภูเขา ต้นไม้ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีการใช้ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ มีเสาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่รองรับน้ำหนักของหลังคาซึ่งมีความคงทนแข็งแรง ทำให้พระอุโบสถ และพระวิหารในรัชกาลนี้มีขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

82A71FFC D715 45A7 BCA7 13F7C4B75A8A

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก่อนที่จะเข้าไปภายในพระอุโบสถก็คือ ทวารบาล ตามปกติแล้วทวารบาลหากไม่แกะสลัก หรือวาดบนบานประตู ก็มักจะเป็นประติมากรรมหินตั้งไว้

แต่ที่นี่เป็น ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ ขนาดใหญ่ 2 ตัวตั้งเอาไว้แทน ส่วนบานประตูด้านใน วาดเป็น เซี่ยวกาง หรือ ทวารบาลจีน โดยที่ด้านนอกเป็นบานประตูประดับมุกรูปมังกรดั้นเมฆ เรียกได้ว่าเป็นการใช้ทวารบาลซ้อนทวารบาลเลยทีเดียว

ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธอนันตคุณอดุลยญาณบพิตร พระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร

ต่อมา ในปี 2504 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้ยกขึ้นประดิษฐาน เหนือพระประธาน เนื่องจากที่บริเวณผ้าทิพย์ของพระพุทธรูปองค์นี้ มีรูปปราสาทอันเป็นตราแผ่นดินรัชกาลที่ 3 เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และศิลาจารึกดวงพระชันษาที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนำมาบรรจุเมื่อปี 2397 พร้อมกับการถวายพระนามให้พระพุทธรูปองค์นี้

75A3B8A0 1875 44DB BD9A DD6BD8D21A14

นอกเหนือจากพระประธาน ผนังภายในของพระอุโบสถหลังนี้ ยังตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังลายเครื่องตั้งเครื่องมงคลอย่างจีน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เพิ่งจะเกิดขึ้นในรัชกาลนี้ จากที่แต่ก่อนจะต้องเขียนภาพทศชาติชาดกบ้าง พุทธประวัติบ้าง จักรวาลบ้าง

โดยเหตุที่มีการนำภาพเครื่องตั้งแบบจีนมาเขียนบนฝาผนังวัดนั้น น่าจะมาจากการที่ชาวจีนนิยมประดับเครื่องตั้งไว้ในบ้านพักอาศัย เพื่อความมีโชคลาภ และมีการเขียนตามศาลเจ้าจีน วัดจีน อยู่ก่อนแล้ว เครื่องตั้งเหล่านี้เขียนอยู่ในช่องที่มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน

พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ กำแพงด้านนอกของระเบียงคด มีแผ่นจารึกตำรายาคล้ายกับที่พบที่วัดโพธิ์ เมื่อผ่าประตูที่เหมือนจะเป็นประตูทรงกลม จะมีแนวระเบียงคดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจากหลากหลายสมัย ที่รวบรวมลงมาจากหัวเมืองเหนือ (หัวเมืองเหนือในทีนี้หมายถึงเมืองที่อยู่เหนือกรุงเทพฯ) ที่อัญเชิญลงมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์

8FF36572 7332 4763 9501 2213798DCB99

ล้อมรอบชั้นที่ 2 คือแถวเจดีย์จำนวน 32 องค์ เมื่อรวมกับพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ก็จะกลายเป็นตัวเลข 33 ทันที ตัวเลข 33 นี้มีจำนวนเท่ากับของเทวดาทั้งหมด 33 องค์ รวมพระอินทร์ด้วย

ดังนั้น พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นเหมือนการจำลองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในอีกวิธีหนึ่ง พระวิหารพระพุทธไสยาสน์มีลักษณะภายนอกคล้ายกับพระอุโบสถ แต่หน้าบันมีการประดับน้อยกว่าพระอุโบสถ และไม่ได้ใช้กระเบื้องเคลือบ แต่ใช้ปูนปั้นแล้วทาสี

ภายในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐาน พระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่นามว่า พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินสากยบรมสมเด็จสรรเพชญพุทธบพิตร

EA46D27B E7AE 4BB5 8066 904AA6AD53D2

พระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีการทำลวดลายมงคล 108 ประการ ที่พระบาท แบบเดียวกับพระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ แต่วัดราชโอรสใช้เทคนิคลายรดน้ำ ส่วนวัดโพธิ์ใช้เทคนิคฝังมุก บานหน้าต่างของพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ทำเป็นรูปไม้ดัดและนก ซึ่งเป็นการวาดภาพบนหน้าต่างแนวใหม่ ที่เพิ่งเริ่มทำที่นี่เป็นที่แรก ๆ เช่นกัน

วัดราชโอรสจึงตกแต่งด้วยศิลปะจีนเป็นส่วนมาก นับเป็นวัดแรกที่คิดสร้างนอกแบบอย่างวัดที่สร้างกันอย่างสามัญ ศิลปกรรมไทยที่มีอยู่ในวัดนี้ พระองค์ทรงสร้างได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนงดงามยิ่งนัก อย่างหาที่ติมิได้

This slideshow requires JavaScript.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo