Lifestyle

IF คืออะไร ‘หมออนุตตร’ เล่าประสบการณ์ ลดน้ำหนัก พร้อมข้อห้ามการทำ IF

ไขข้อสงสัย IF คืออะไร ‘หมอนุตตร’ เล่าประสบการณ์ลดน้ำหนัก ด้วยการทำ IF พร้อมข้อห้ามสำหรับคน 6 กลุ่ม

หลังจากสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊ก Pattharaporn Limhoksee โพสต์อาการเด็กหญิงอายุ 14 ปี ที่ทำ IF ติดต่อกันเป็นเวลานาน ตั้งแต่อายุเพียง 13 ปี จนมีผลตรวจเลือดที่น่าเป็นห่วง น้ำหนักลดจาก 48 กิโลกรัม เหลือ 39 โล จนผอมหนังติดกระดูก

ทำ IF

สิ่งที่น้องกำลังเจอ ได้แก่ ภาวะธาลัสซีเมีย ไขมันในเลือดสูงมาก ตัวร้อน Heat แต่วัดอุณหภูมิปกติ ผิวหยาบกร้าน แห้งรุ่นแรง ปากแตก ผมแห้งหยาบ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ร่างกายไม่รับอาหารทุกชนิด และนอนซมไม่มีแรงขยับร่างกาย

สำหรับ Intermittent Fasting หรือ IF คือ การกินแบบจำกัดช่วงเวลา ซึ่งเป็นวิธีลดน้ำหนักที่คนทั่วโลกนิยมใช้กันมากว่า 10 ปี และยังเป็นวิธีลดน้ำหนักฮิตในหมู่ผู้บริหารและคนรุ่นใหม่มากมาย

ขณะที่ พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anutra Chittinandana บอกเล่าประสบการณ์ พร้อมข้อห้ามของการทำIF โดยระบุว่า

ดารอดอาหารเป็นช่วง ๆ (intermittent Fasting, IF) เพื่อลดน้ำหนักเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีนี้

ประสบการณ์ส่วนตัวก็ใช้ได้ผลดีทีเดียว ตอนนี้มีรีวิวใน Nature Review Endocrinology เกี่ยวกับเรื่องนี้ สรุปว่า รูปแบบของ IF มี 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ

IF

  • อดอาหารวันเว้นวัน (Alternate Day Fasting, ADF)
  • ทานปกติ 5 วัน อดอาหาร 2 วัน (5:2 diet)
  • การจำกัดเวลาทานอาหารทุกวัน (Time-Restricted Eating, TRE) เช่น ทานอาหาร 8 ชม. อดอาหาร 16 ชม.)

IF ทำให้น้ำหนักลดลงเล็กน้อยถึงปานกลาง (ลดลง 3–8% จากการตรวจวัดพื้นฐาน) ในช่วงเวลาสั้น (8–12 สัปดาห์) ซี่งเทียบเท่ากับวิธีการควบคุมอาหารแบบดั้งเดิม (การจำกัดแคลอรี่รายวัน)

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีประสิทธิภาพของ IF ในการควบคุมน้ำหนักในระยะยาว เนื่องจากการศึกษาส่วนใหญ่จนถึงปัจจุบันเป็นการศึกษาระยะสั้น

การศึกษาบางฉบับแสดงว่า IF ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอล LDL และไตรกลีเซอไรด์ การดื้อต่ออินซูลิน และ HbA1c ในขณะที่การศึกษาอื่น ๆ ไม่มีพบการเปลี่ยนแปลง

พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์
พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์

IF โดยทั่วไปมีความปลอดภัย และก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ฮอร์โมน หรือเมตาบอลิซึมเล็กน้อย

ข้อห้ามของการทำ IF

  • เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • วัยรุ่นที่มีน้ำหนักปกติ
  • สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร
  • มีประวัติเป็นโรคการกินผิดปกติ
  • ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 กก./ตร.ม
  • อายุเกิน 70 ปี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo