Lifestyle

รวมไว้ที่นี่!! บทสวดมนต์สำคัญ ‘วันมาฆบูชา’ 16 กุมภาพันธ์

เปิดบทสวดมนต์ “วันมาฆบูชา” 16 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อให้จิตใจผ่องใส ในวันพระใหญ่ ที่เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญทางศาสนาของพทุธศาสนิกชน 

วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี จะเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ซึ่งก็คือ “วันมาฆบูชา” ซึ่งในปีนี้ ตรงกับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ สำหรับความสำคัญของวันนี้ ในอดีตถือเป็นเหตุการณ์ที่อัศจรรย์ เมื่อพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ เรียกว่า วันจาตุรงคสันนิบาต

นอกจากนี้ ยังเป็นวันที่ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปาติโมกข์ ที่ถือกันว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แก่พระสงฆ์ทั้ง 1,250 รูป ดังกล่าว ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้าทั้งหมด มีเนื้อหาโดยสรุปคือ ให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใส

ในวันมาฆบูชานี้ พุทธศาสนิกชน มักจะไปทำบุญที่วัด พระสงฆ์ จะเป็นผู้นำประกอบพิธีต่างๆ ให้โอวาท สวดมนต์ แสดงธรรม และประวัติความเป็นมาของวันสำคัญทางศาสนา และเจริญสมาธิภาวนา จากนั้นนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปเวียนเทียนกันรอบโบสถ์

วันมาฆบูชา
buddhism

บทสวดมนต์ วันมาฆบูชา

(หันทะ มะยัง มาฆะปะณามะคาถาโย ภะณามะเสฯ)

มาฆะนักขัตตะยุตตายะ ปุณณายะ ปุณณะมายัง โย อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา โคตะโมหะโย

สุทธานันตะทะยาณาโณ สัตถา โลเก อะนุตตะโร วิหะรันโต ราชะคะเห มาฆะทานัง คิริพภะเย

วิหาเร เวฬุวะนัมหิ กะลันทะกะนิวาปิเย สังฆัสสะ สันนิปาตัมหิ อุตตะเม จะตุรังคิเก อัฑฒะเตระสะหัสเสหิ

ภิกขูหิ ปะริวาริโต ตีหิ คาถาหิ สังขิปปัง สัพพัง พุทธานะ สาสะนัง สะโมสาเรหิ โอวาทัง ปาฏิโมกขัง อะนุตตะรัง

ตะเมวัมภูตะสัมพุทธัง สักขีณาสะวะสาวะกัง จิระกาละมะตี ตัมปิ ปะสาเทนะ อะนุตตะรัง อะยัมปิ ปะริสา สัพพา

ปะสันนา ธัมมะคามินี สัมปัตตา ตาทิสักการัง สุนักขัตตัง สุมังคะลัง ทีปะธูปาทิสักกาเร อะภิสัชชิ ยะถาพะลัง

เตหิ ปูเชตะเวหัตถะ ตุฏฐะ อิธะ สะมาคะตา อะภิวันทะติ ปูเชติ ภะคะวันตัง สะสาวะกัง กาเลนะ สัมมุขีภูตัง

อะตีตารัมมะนัตตะนา โอสาเรนะตัง ปาฏิโมกขัง วิสุทธักขะมุโปสะเถ อิโตชะเน สุปุญเญนะ โสตถี โหนตุ สะทาปิโน

สาสะนัง สัตถุ อัมหากัง จิรัง ติฏฐะตุ ตาทิโนติฯ

วันมาฆบูชา

คำบูชาดอกไม้ธูปเทียน 

อัชชายัง มาฆะปุณณะมี สัมปัตตา มาฆะนักขัตเตนะ ปุณณะ จันโท ยุตโต

ยัตถะ ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ จาตุรังคิเก สาวะกะสันนิปาเต

โอวาทะปาติโมกขัง อุททิสิ ตะทา หิ อัฑฒะเตระสานิสัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง

สัพเพ เต เอหิภิกขุกา สัพเพปิ เต อะนามันติตาวะ ภะคะวะโต สันติกัง อาคะเต เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป มาฆะปุณณะมิยัง วัฑฒะมานะกัจฉายายะ

ตัสมิญจะ สันนิปาเต ภะคะวา วิสุทธุโปสะถัง อะกาสิ อะยัง อัม๎หากัง ภะคะวะโต

อโกเยวะ สาวะกะสันนิปาโต อะโหสิ จาตุรังคิโก อัฑฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ

สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง มะยันทานิ อิมัง มาฆะปุณณะมี นักขัตตะสะมะยัง

ตักกาละสะทิสัง สัมปัตตา จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะระมานา

อิมัสมิง ตัสสะ ภะคะวะโต สักขิภูเต เจติเย อิเมหิ ทีปะธูปะปุปผาทิสักกาเรหิ ตัง

ภะคะวันตัง ตานิ จะ อัฑฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ อะภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต

ภะคะวา สะสาวะกะสังโฆ สุจิระปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโน อิเม สักกาเร

ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

วันมาฆบูชา

บทสวดมนต์เวียนเทียน

  • เวียนเทียน รอบที่ 1 สวดมนต์ระลึกถึงพระพุทธ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

  • เวียนเทียน รอบที่ 2 สวดมนต์ระลึกถึงพระธรรม

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

  • เวียนเทียน รอบที่ 3 สวดมนต์ระลึกถึงพระสงฆ์

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ”

วันมาฆบูชา

บทสวดมนต์โอวาทปาติโมกข์

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง, การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา, การทำกุศลให้ถึงพร้อม,

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง, การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง, ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา, ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา, ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง,

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี, ผู้กำจัดสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต, ผู้ทำลายสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต, การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย,

ปาติโมกเข จะ สังวะโร, การสำรวมในปาติโมกข์,

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง, ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค,

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง, การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด,

อะธิจิตเต จะ อาโยโค, ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง, ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo