Lifestyle

ศุกร์ (สุข) ละวัด กับ ‘วัดพระแก้ว’ จังหวัดชัยนาท

ศุกร์ (สุข) ละวัด กับ ‘วัดพระแก้ว’ จังหวัดชัยนาท  โดยวัดพระแก้วตั้งอยู่ที่ ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ 23 กิโลเมตร วัดพระแก้ว เป็นวัดที่เก่าแก่รุ่นเดียวกับ วัดมหาธาตุ เมืองสรรคบุรี “วัดพระแก้ว” หรือวัดพระแก้วเมืองสรรค์ แต่เดิมมีชื่อว่า วัดป่าแก้ว เป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ซึ่งต่อมามีคนพบพระพุทธรูปองค์เล็กขนาดเท่าปลายนิ้วมือทำด้วยแก้วจากในเจดีย์

พญานาค03 01

จึงเรียกกันติดปากว่า วัดพระแก้ว ที่หน้าประตูทางเข้าวัดพระแก้ว จังหวัดชัยนาท เขียนอธิบายไว้ว่า  ศิลปกรรมชิ้นนี้…ซึ่งอยู่ด้านหลังขององค์หลวงพ่อฉาย นักโบราณคดีเรียกว่า “ทับหลัง”เป็นภาพจำหลักบนศิลาทราย ภาพที่เห็นเป็นรูปพระอิศวรทรงช้างเอราวัณ อยู่ในซุ้มเรือนแก้วเป็นศิลปะขอมที่มีอายุเป็นพันปีขึ้นไป

ศุกร์ละวัดวัดพระแก้ว8 e1596775789925

เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงคงมีผู้นำโบราณชิ้นนี้มาจากอาณาจักขอม และนำแท่งศิลทรายที่มีภาพจำหลักพระอิศวรทรงช้างเอราวัณมาแกะเป็นพระพุทธรูป แต่ได้หงายเศียรช้างเอางวงขึ้นด้านบน คงบอกเป็นปริศนาธรรมว่า “ผู้ที่ต้องการความสำเร็จสูงสุดเช่นพุทธองค์ จะต้องรู้จักปฏิบัติตนทวนกระแสแห่งโลภะ โทสะ โมหะ ถึงจะพบกับความสุขในชีวิต”

ภายในพระอุโบสถที่ด้านหลังพญานาค จะมีพระพุทธรูปพระประธานคือ หลวงพ่อฉาย ที่สำคัญด้านหลังองค์หลวงพ่อฉายมี “ทับหลัง” แกะสลักด้วยหินทรายติดอยู่ ลักษณะเป็นภาพหงายไม่ใช่ภาพคว่ำแตกต่างจากทับหลังทั่วไป เป็นรูปช้างมอบหงายอยู่บนแท่น

ศุกร์ละวัดวัดพระแก้ว10 e1596775811828

ศุกร์ละวัดวัดพระแก้ว2 e1596769134795

โดยส่วนบนสุดเป็นรูปพระอินทร์ หรือพระศิวะ กำลังหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ไหลถึงตัวช้าง โดยสันนิษฐานว่า ทับหลัง น่าจะขนย้ายมาจากปราสาทแห่งหนึ่ง ในประเทศกัมพูชา ภายในวัดพระแก้ว มีสิ่งที่สำคัญคือ องค์สถูปเจดีย์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะอู่ทอง ที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะแบบปาละ ของอินเดีย

เป็นเจดีย์ที่มีความงามที่สุดแห่งหนึ่งของไทย มีลักษณะเป็นเจดีย์แบบละโว้ทรงสูงผสมกับเจดีย์แบบทวาราวดีตอนปลาย ใช้เทคนิคการสร้างแบบสอปูน เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานไพที ฐานเขียงและฐานเรือนธาตุแบบลดท้องไม้ มีพระพุทธรูปปูนปั้นแบบนูนสูงประดับ ทั้งสี่ด้านมีเจดีย์ต่อจากฐานเรือนธาตุตอนบน ทั้งสี่มุมต่อจากเรือนธาตุเป็นฐานสูงแปดเหลี่ยมมีซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ ต่อขึ้นไปเป็นบัวลูกแก้วและบัวถลาจนถึงองค์ระฆัง

ศุกร์ละวัดวัดพระแก้ว11 e1596775848478

ศุกร์ละวัดวัดพระแก้ว3 e1596769121647

ลักษณะของเจดีย์คล้ายเจดีย์สุโขทัย อาจได้รับอิทธิพลร่วมระหว่างศิลปะสุโขทัยกับศรีวิชัย บนฐานชั้นสามในซุ้มตรงกลางเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางถวายเนตรมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางประทานอภัยอยู่สองข้าง ลักษณะของพระพุทธรูปน่าจะเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น เพราะมีเค้าโครงศิลปะสุโขทัยผสมที่เห็นได้ชัดถัดจากแท่งสี่เหลี่ยมทรงสูงขึ้นไป เป็นแท่งแปดเหลี่ยม มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางถวายเนตรทั้งสี่ด้าน

ศุกร์ละวัดวัดพระแก้ว12 e1596775872527

ศุกร์ละวัดวัดพระแก้ว13 e1596732063980

เหนือขึ้นไปเป็นย่อเหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ต่อจากองค์ระฆังเป็นปล้องไฉน 12 ปล้องรวมความสูง 77 เมตร สันนิษฐานว่า สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 น่าจะได้มีการแฝงคติธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาเอาไว้ด้วย หลายประการ อาทิ ฐานสี่เหลี่ยมหมายถึงอริยสัจสี่ฐานสูงแปดเหลี่ยมหมายถึงอริยมรรคมีองค์แปด ปล้องไฉน 12 ปล้อง หมายถึง ปฏิจจสมุปบาท12 ข้อ ที่เกี่ยวพันกันเหมือนลูกโซ่ ยอดเจดีย์หมายถึงพระนิพพาน

ศุกร์ละวัดวัดพระแก้ว6 e1596769104820

โดยอาจารย์ น. ณ ปากน้ำ บรมครูทางด้านศิลปะไทย ถึงกับยกย่องว่า สถูปวัดพระแก้วเมืองสรรคบุรีนี้ เป็น “ราชินีแห่งเจดีย์ในเอเชียอาคเนย์”เดิมพระสมุท์โปร่งเจ้าอาวาสวัดพระแก้วได้พบ “หลวงพ่อฉาย”ในสภาพชำรุดหักเป็นสามท่อนอยู่ในป่าแฝกจึงได้จัดทำฐานไว้ชั่วคราวและต่อมา พ.ศ. 2498 ได้บูรณะซ่อมแซมให้สมบูรณ์ดังเช่นในปัจจุบัน และประดิษฐานอยู่ในวิหารหน้าเจดีย์วัดพระแก้ว เป็นที่เคารพสักการะของประชาชน วัดนี้จึงเป็นอีกวัดหนึ่งที่เป็นวัดสำคัญของจังหวัดชัยนาทที่คุณต้องมาให้ได้สักครั้ง

ศุกร์ละวัดวัดพระแก้ว7 e1596769076765

เรื่อง-ภาพ : ประเสริฐ เทพศรี

Avatar photo