หน้าร้อนทุกปี เป็นที่รู้กันว่า ต้องเตรียมเงินไว้จ่ายค่าไฟที่พุ่งพรวดจนกระเป๋าเบา ยิ่งช่วงทำงานจากที่บ้าน เรียนออนไลน์ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ด้วยแล้ว การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น
แล้วค่าไฟมาจากอะไรกันบ้าง ถ้าเรารู้เท่าทันการกินไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด ก็น่าจะช่วยให้ปรับพฤติกรรมการใช้งาน ประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้บ้าง
เพจเฟซบุ๊ก “การไฟฟ้านครหลวง MEA” ได้โพสต์เรื่องราวของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละขิ้นที่่คอยอำนวยความสะดวกให้เรา โดยคำนวณเปรียบเทียบการใช้งานภายใน 1 ชั่วโมงว่า ชิ้นไหน กินไฟ เท่าไรกันบ้าง มาดูกันเลย
1. เครื่องดูดฝุ่น ขนาด 1,400-2,000 วัตต์ ค่าไฟ 6 – 8 บาท /ชม.
2. เตารีดไฟฟ้า 1,000-2,800 วัตต์ ค่าไฟ 3.5 – 10 บาท/ ชม.
3. เครื่องเป่าผม ขนาด 1,600 – 2,300 วัตต์ ค่าไฟ 6 – 9 บาท /ชม.
4. เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 3,500 – 6,000 วัตต์ ค่าไฟ 13.5 -23.5 บาท /ชม.
5. เครื่องซักผ้า ฝาบน – ฝาหน้า ขนาด 10 kg ค่าไฟ 2 – 8 บาท /ชม.
6. เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed speed ขนาด 9,000-22,000 บีทียู/ชม. ค่าไฟ 2.5 – 6 บาท /ชม.
7. พัดลมตั้งพื้น ขนาดใบพัด 12 – 18 นิ้ว ค่าไฟ 0.15 – 0.25 บาท /ชม.
8. โทรทัศน์ LED backlight TV ขนาด 43-65 นิ้ว ค่าไฟ 0.40 – 1 บาท /ชม.
9. เตาไมโครเวฟ ขนาด 20-30 ลิตร ค่าไฟ 3 – 4 บาท /ชม.
10. ตู้เย็น 2 ประตู ขนาด 5.5 – 12.2 คิวบิกฟุต ค่าไฟ 0.30 – 0.40 บาท /ชม.
11. หม้อหุงข้าว ขนาด 1.0-1.8 ลิตร ค่าไฟ 3 – 6 บาท /ชม.
12. เครื่องปิ้งขนมปัง ขนาด 760 – 900 วัตต์ ค่าไฟ 3 – 3.5 บาท /ชม.
13. เตาแม่เหล็กไฟฟ้า 1 -2 หัวเตา ขนาด 2,000-3,500 วัตต์ ค่าไฟ 8 – 14 บาท /ชม.
จะเห็นได้ว่า เครื่องทำน้ำอุ่น กินไฟมากที่สุด ตามด้วย เตาแม่เหล็กไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า ตามด้วยไดร์เป่าผม แต่อย่าลืมว่า เครื่องปรับอากาศแม้จะกินไฟ 2.5 – 6 บาท /ชม.แต่หน้าร้อนแบบนี้ ชั่วโมงการเปิดใช้งานห็เพิ่มตามไปด้วย และส่งผลถึงค่าไฟเช่นกัน
ที่สำคัญ อย่าลืมถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้ เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร และยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย
- อย่าเพิ่งจ่ายค่าไฟ! รอการไฟฟ้าปรับเสร็จ 8-12 พ.ค.นี้ ได้ส่วนลดเลย
- โซเชียลจวก ‘กฟภ.’ เปลี่ยนฐานคำนวณส่วนลด ‘ค่าไฟ’ ชาวบ้านแทบไม่ได้ประโยชน์
- เอกชนกว่าแสนราย ขอผ่อนชำระค่าไฟ-เว้นค่าไฟขั้นต่ำถึงสิ้นปี พิษโควิด-19