อย่าเชื่อเฟคนิวส์! ฟลูออไรด์ในยาสีฟัน-ในแหล่งน้ำของไทย ไม่เกินค่ามาตรฐาน 0.7 มก./ลิตร ไม่ส่งผลต่อสมองและ IQ เด็ก
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่เรื่องโทษของฟลูออไรด์ในสื่อออนไลน์ที่ไม่ถูกต้องนั้น
ยาสีฟัน-แหล่งน้ำของไทยมีฟลูออไรด์ต่ำ ไม่ส่งผลกระทบต่อเด็ก
ล่าสุดสมาคมทันตกรรมเด็กแห่งประเทศไทย ระบุว่า ประเทศไทยมีปริมาณฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำอยู่ที่ไม่เกิน 0.7 มก./ลิตร ซึ่งต่ำมากจนไม่ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมอง อีกทั้งไทยไม่มีนโยบายการเติมฟลูออไรด์ในน้ำประปาเหมือนบางประเทศ
สำหรับฟลูออไรด์ที่ใช้ในยาสีฟันมีปริมาณเพียงเล็กน้อยและปลอดภัย โดยยาสีฟันเด็กที่มี 1,000 ppm ในปริมาณที่ใช้แปรงฟัน (แตะแปรงพอเปียกหรือขนาดเมล็ดข้าวสาร) จะมีฟลูออไรด์เพียง 0.1 มก./ครั้ง การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ก็ยังคงน้อยกว่าปริมาณที่ทำให้เกิดฟันตกกระได้
และเมื่อผู้ปกครองเช็ดยาสีฟันหลังแปรงฟัน ก็ยิ่งเหลือในช่องปากลูก น้อยมาก ๆ ที่ไม่ทำให้เกิดโทษ แต่ยังได้ประโยชน์จากฟลูออไรด์ เด็กโตขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น ยิ่งปลอดภัยขึ้น เพราะปริมาณที่เริ่มทำให้เกิดโทษ ก็มากขึ้นตามน้ำหนักเมื่อเด็กควบคุมไม่กลืนยาสีฟันได้ ก็ใช้ปริมาณยาสีฟันเพิ่มขึ้นได้ และยังปลอดภัย ซึ่งห่างไกลจากระดับที่เป็นอันตราย การใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ตามคำแนะนำช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่มีผลเสียต่อสมอง
ปริมาณฟลูออไรด์ที่จะส่งผลต่อสมองของเด็ก
สำหรับโทษของฟลูออไรด์ มี 2 แบบ คือ 1.แบบฉับพลันทันที เมื่อได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณมาก คือ 5mg/kg ขึ้นไป จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และ 2.โทษจากการได้รับสะสม หากได้รับฟลูออไรด์เกิน 0.05-0.07 mg/kg ต่อวัน เป็นระยะเวลาหนึ่งจะทำให้ฟันตกกระ ที่เรียกว่า fluorosis
สำหรับฟลูออไรด์ที่จะมีผลต่อสมองจากการวิจัยในส่วนของฟลูออไรด์พบว่า สำหรับเด็กอายุ 7 เดือน – 4 ปี ต้องได้รับในปริมาณที่เกิน 1.6 – 3.2 มก. ต่อวัน เป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงจะได้รับผลกระทบ แต่ประเทศไทยไม่มีแร่ฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำสูงขนาดนั้น ยิ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำน้อยกว่า 0.3 มก./ลิตร ถ้าหากจะได้รับผลกระทบเด็กต้องดื่มน้ำวันละ 5-10 ลิตรทุกวัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้
“ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ต้องกังวลเรื่องฟลูออไรด์ทำให้เด็กไอคิวต่ำลง แต่หากไม่ใช้ฟลูออไรด์เลย อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เด็กฟันผุได้” นายคารม กล่าว
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- รู้ให้ไว ไตไม่วาย ‘AL-Strip’ ชุดตรวจโรคไต รู้ผลได้ใน 5 นาที นวัตกรรมสุดเจ๋ง เพิ่มโอกาสรอดจากโรคไตเรื้อรัง
- GSK ชูกลยุทธ์ ‘Healthier People, Healthier Planet’ ดูแลคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
- ไวรัส RSV ในผู้สูงอายุ ติดต่อได้ อันตรายไม่แพ้ในเด็ก
ติดตามเราได้ที่
- เว็บไซต์ : https://www.thebangkokinsight.com/
- Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
- Twitter: https://twitter.com/BangkokInsigh
- Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
- Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yx