Lifestyle

Dow หนุน ‘ประกวดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับโลก’ ครั้งที่ 35 ตัดสินผลงานกว่า 300 ชิ้นที่กรุงเทพ

Dow หนุน “ประกวดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ระดับโลก” ครั้งที่ 35 ดึงผู้เชี่ยวชาญร่วมตัดสินผลงานจากทั่วโลกกว่า 300 ชิ้นที่กรุงเทพฯ

การแข่งขันรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ ครั้งที่ 35 สนับสนุนโดยบริษัท Dow (ดาว) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย ที่กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ชี้ให้เห็นทิศทางการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ของโลกในปัจจุบัน ที่มุ่งสู่การรักษาสมดุลระหว่างความต้องการของผู้บริโภคและความยั่งยืน

ร่วมลุ้นประกาศผลผู้ชนะจากผลงานที่ส่งเข้าแข่งขันจากทั่วโลกกว่า 300 ชิ้น ที่งาน โตเกียว แพ็ค (Tokyo Pack) ในวันที่ 24 ตุลาคม 2567 นี้

Dow

รางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ ครั้งที่ 35

รางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ (Packaging Innovation Award: PIA) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยบริษัท Dow เป็นรางวัลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ โดยพิจารณาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความยั่งยืน และประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นของผู้ใช้งาน เป็นหนึ่งในรางวัลที่มีการตัดสินอย่างอิสระที่ยาวนานที่สุดของอุตสาหกรรม จัดต่อเนื่องมายาวนานมากว่า 30 ปี

โดยปีนี้มีความพิเศษ คือ เป็นครั้งแรกที่กิจกรรมการตัดสินและการมอบรางวัลเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย โดยการตัดสินจัดขึ้นที่ประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

การประกวดในปีนี้ มีจำนวนผลงานที่ส่งเข้าร่วมมากเป็นประวัติการณ์ถึง 300 ชิ้นงานจากมืออาชีพด้านบรรจุภัณฑ์และแบรนด์จากทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 74.4% จากการประกวดครั้งก่อน

Dow

โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญและผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ 18 ท่าน ได้มารวมตัวกันที่สำนักงานของ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ที่กรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาผลงานของผู้ส่งเข้าประกวดจากทั่วโลกอย่างเข้มงวด

โดย Dow คาดว่าจะเปิดเผยรายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้ายได้ในเดือนสิงหาคม 2024 และประกาศผลผู้ชนะในงาน โตเกียว แพ็ค (Tokyo Pack) ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนตุลาคมนี้

Dow

40% ของผลงานที่ส่งเข้าประกวดมาจากเอเชีย

ในโอกาสนี้ ตัวแทนคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนภาคอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และสื่อมวลชน ได้ร่วมอภิปรายถึงแนวโน้มและทิศทางของนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ โดยมี นายเดวิด ลุทเทนเบอร์เกอร์ ผู้อำนวยการด้านบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท มินเทล จำกัด เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เช่น นายทอม สไกคส์ ผู้อำนวยการแบรนด์ สำนักข่าวแพคเกจจิ้ง ยุโรป

นางดาเนียลล่า ซูซา มิรันดา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดระดับโลก บริษัท Dow นายกูทัม บูททาชาจี ผู้อานวยการอาวุโสด้านการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ บริษัท พีแอนด์จี และนางลอว์รา บูเอน อบัด รองประธานฝ่ายเทคโนโลยีและการตลาดกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนและพลาสติกขึ้นรูปด้วยความร้อน บริษัท โซโนโก เข้าร่วมการสนทนา

นางดาเนียลล่า ซูซา มิรันดา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดระดับโลก บริษัท Dow กล่าวว่า ไม่น่าแปลกใจเลยที่ปัจจุบันเอเชียได้กลายเป็นศูนย์กลางของนวัตกรรม จากมุมมองของการผลิต ภูมิภาคนี้เป็นผู้ผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์เกือบครึ่งหนึ่งของโลก จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้เห็นว่าราว 40% ของผลงานที่ส่งเข้าประกวดรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ในปีนี้ มาจากเอเชีย

S 193585164

ใช้นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความรับผิดชอบต่อโลก

นางแดเนียลล่า แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การเติบโตของผู้บริโภคชนชั้นกลางและการขยายตัวของเมืองในเอเชียเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาค นำมาสู่นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ล้ำสมัย โดยได้แบ่งปันตัวอย่างผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวด PIA ที่ผ่านมา ซึ่งมีความเรียบง่าย สามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถรีไซเคิลได้

ซึ่งรวมถึงบริษัท OF Packaging ของออสเตรเลียที่สร้างถุงกราโนล่าที่ท้าทายแบบแผนเดิมๆ เพราะสามารถรีไซเคิลได้ง่าย และบริษัท DNP ของญี่ปุ่นที่สร้างขวดพลาสติกใสชนิด PET สำหรับบรรจุสุราที่ยังคงคุณสมบัติที่ผู้บริโภคชื่นชอบเกี่ยวกับขวดแก้วไว้ ขณะที่สามารถรีไซเคิลได้ น้ำหนักเบา และแตกได้ยากกว่า

S 193585161

นางแดเนียลล่า เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความรับผิดชอบของโลกในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ยังตอบสนองความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์

“เมื่อเราพูดถึงนวัตกรรมและความสำคัญของการคิดอย่างแตกต่างเพื่อกำหนดผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มี ‘ระบบนิเวศวัสดุ’ เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบของเราในฐานะสมาชิกของห่วงโซ่คุณค่าของบรรจุภัณฑ์  ทุกคนจึงมีหน้าที่ร่วมกันในการเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (linear economy) ไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)”

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นางแดเนียลล่าได้กล่าวถึงวิธีที่ Dow ทำวิสัยทัศน์นี้ให้เป็นจริง โดยยกโครงการของ Dow กับ Liby และ Mengniu ในประเทศจีน และ Lion Corporation ในประเทศไทยเป็นตัวอย่างของความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จในการทำให้การบรรจุภัณฑ์ที่โดยปกติแล้วรีไซเคิลได้ยากถูกนำเข้าสู่วงจรรีไซเคิล

“นวัตกรรมและความยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญควบคู่กัน และต้องอาศัยความร่วมมือกันตลอดทั้งอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงความร่วมมือระหว่างพันธมิตรในอุตสาหกรรม เพื่อการพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เราเชื่อว่านวัตกรรมเป็นทางเดียวที่จะก้าวไปข้างหน้า และรางวัลนี้คือการสนับสนุนของ Dow ต่ออุตสาหกรรมนี้ เพื่อสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนและส่งเสริมความยั่งยืน”

S 193585162

เกณฑ์การตัดสิน

ด้านนายเดวิด ลุทเทนเบอร์เกอร์ ผู้อำนวยการด้านบรรจุภัณฑ์ระดับโลก บริษัท มินเทล หัวหน้าคณะกรรมการตัดสินรางวัลนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ครั้งที่ 35 ได้กล่าวบรรยายถึงเกณฑ์การตัดสินและปัจจัยที่สำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่ดี

“บรรจุภัณฑ์ที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ต้องสอดคล้องกันกับสินค้าที่บรรจุไว้ข้างในเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น สะดวกสบายขึ้น และปลอดภัยขึ้น คุ้มค่าต่อเงินที่จ่ายไป” นายเดวิดอธิบาย

S 193585166

เทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ในปีนี้เน้นการออกแบบที่สร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับผู้บริโภค เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ บรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องใช้งานได้จริง ราคาเหมาะสม รูปทรงเป็นมิตรกับผู้ใช้ เชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้ มีความดึงดูดใจ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมถึงสอดคล้องกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

เดวิด ยังย้ำถึงความเป็นอิสระของรางวัล โดยระบุว่าความคิดเห็นของกรรมการเป็นมุมมองของผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม ไม่ใช่ตัวแทนของบริษัทหรือแบรนด์ที่พวกเขาทำงานอยู่ และบริษัท Dow ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการจัดประกวดไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการตัดสิน และไม่มีอิทธิพลใดๆ ในการประเมินผู้ชนะของคณะกรรมการ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo