Lifestyle

หอภาพยนตร์ วธ. ประกาศ ’10 รายชื่อหนัง’ ขึ้นทะเบียน ‘มรดกภาพยนตร์ของชาติ ปี 66’

หอภาพยนตร์ วธ. ประกาศ “10 รายชื่อหนัง” ขึ้นทะเบียน “มรดกภาพยนตร์ของชาติ ปี 66” มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีอิทธิพลต่อสังคม วัฒนธรรมและศิลปะ

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 4 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย หอภาพยนตร์ กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศ 10 รายชื่อภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2566 ทั้งหนังเรื่อง และหนังสารคดี จากการคัดเลือกจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาอาชีพ 33 ท่านที่คัดสรรมาโดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

โดยภาพยนตร์ส่วนหนึ่งมาจากมาจากประชาชนกว่า 1,000 คนที่ร่วมเสนอรายชื่อ โดยพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์คุณค่า ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ อิทธิพลต่อสังคม วัฒนธรรม และศิลปะ

หอภาพยนตร์

คัดเลือกจากคณะกรรมการ และประชาชนร่วมกันเสนอชื่อ

ภาพยนตร์ 10 เรื่องในที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้ ครอบคลุมหลากหลายมิติทางสังคม ประวัติศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงรากฐานวัฒนธรรมภาพเคลื่อนไหวอันแข็งแรงของผู้สร้างไทย

เนื่องด้วยปี 2566 เป็นปีครบรอบ 50 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516  มีภาพยนตร์สามเรื่องที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นี้ได้กรับการคัดเลือก ได้แก่

  • วันมหาวิปโยค (2516) เป็นบันทึกเหตุการณ์ 14 ตุลาคมที่ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ นักข่าวภาพยนตร์อิสระได้ถ่ายเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไว้
  • ส่วนหนัง [สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า] [2528] เป็นฟุตเทจหายากที่ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ได้สัมภาษณ์อดีตนักศึกษาและนักเคลื่อนไหวที่ออกจากป่าหลังจากไปเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ไทย เช่น จิระนันท์ พิตรปรีชา, เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, จรัล ดิษฐาอภิชัย, เหวง โตจิราการ, เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ, เกรียงกมล เลาหไพโรจน์, คณะวงดนตรีคาราวาน และชาวบ้านคนอื่น ๆ ไกรศักดิ์ตั้งใจจะตัดต่อฟุตเทจเป็นสารคดีน แต่ทำไม่เสร็จสิ้น คงเหลือไว้แต่ฟุตเทจที่มีความกว่า 11 ชั่วโมง
  • เรื่องสุดท้ายได้แก่ 14 ตุลาสงครามประชาชน (2544) ภาพยนตร์ชีวประวัติ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล  บุคคลสำคัญทางการเมืองในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทย เป็นงานกำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
  •  เทวดาเดินดิน (2519) โดย ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นหนังที่จับภาพวัยรุ่นไทยในช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างเข้มข้น เป็นทั้งหนังสะท้อนสังคมและหนังแอคชั่นผจญภัยไปพร้อม ๆ กันหอภาพยนตร์
  • นอกจากนี้ ภาพยนตร์คลาสสิกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนที่สำคัญยังมี ปักธงไชย (2500) สร้างโดยบริษัท ละโว้ภาพยนตร์ ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ถือเป็นผลงานที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงหลงเหลืออยู่ของพระองค์ ผู้ทรงเป็นนักทำหนังที่มีบทบาทสำคัญต่อวงการภาพยนตร์ไทย และเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกและหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่เล่าถึงสงครามปราบฮ่อ สมัยรัชกาลที่ 5
  •  กตัญญูปกาสิต (2501) หนังร่วมทุนไทยฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จทั้งที่ไทยและต่างแดนด้วยความสามารถของยอดฝีมือแห่งวงการหนังไทยยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทั้ง ครูเนรมิต ผู้กำกับ ส. อาสนจินดา ผู้เขียนบท และบรรดานักแสดงชั้นครู
  •  ภาพยนตร์ LGBTQ สองรสชาติอันแตกต่าง และแสดงให้เห็นการเดินทางของหนังแห่งความหลากหลายทางเพศของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีนี้ ได้แก่ เพลงสุดท้าย (2528) หมุดหมายสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในภาพยนตร์ไทย ที่ส่งอิทธิพลต่อเนื่องอย่างกว้างขวางยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน กำกับโดย พิศาล อัครเศรณี
  • และอีกเรื่องได้แก่ หัวใจทรนง (2546) งานกำกับร่วมของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และ ไมเคิล เชาวนาศัย กับเรื่องราวของสายลับไออ้อน พุซซี่ งานที่คารวะสุนทรีศาสตร์ของหนังไทยุค 16 มม. พร้อมไปกับการสร้างอารมณ์ขันสำหรับผู้ชมร่วมสมัย
  •  ภาพยนตร์สารคดีเก่าอีกสองเรื่องที่ได้รับการขึ้นทะเบียนได้แก่  โกนจุก [2510]  เป็นภาพบันทึกพิธีโกนจุก ซึ่งเป็นพิธีกรรมในวิถีชีวิตของสังคมไทยสมัยก่อน ได้อย่างละเอียดครบถ้วนตามประเพณีทั้งคติพราหมณ์และพุทธ
  • สุดท้ายคือ Thailand (2501) ภาพยนตร์เรื่องแรก ๆ ที่รัฐบาลไทยจัดทำเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้ผู้ชมในโลตะวันตก

หอภาพยนตร์

หอภาพยนตร์ ได้จัดกิจกรรมประกาศรายชื่อภาพยนตร์ขึ้นทะเบียนมรดกภาพยนตร์ของชาติมาเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2554 หลังประกาศรายชื่อภาพยนตร์ในปีนี้ 10 เรื่อง ทำให้ภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ มีจำนวนทั้งหมด 243 เรื่อง

ซึ่งหอภาพยนตร์เตรียมนำภาพยนตร์เหล่านี้ออกฉายตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในโรงภาพยนตร์ Facebook YouTube Tiktok ของหอภาพยนตร์ รวมถึงการจัดงานเสวนาถึงภาพยนตร์ และการให้บริการในห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี ของหอภาพยนตร์ ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.fapot.or.th หรือที่เฟซบุ๊กช่อง หอภาพยนตร์ Thai Film Archive

หอภาพยนตร์

10 รายชื่อภาพยนตร์ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ปี 66

รายชื่อภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติประจำปี 2566

  1. ปักธงไชย (2500)
  2. Thailand (2501)
  3. กตัญญูปกาสิต (2501)
  4. โกนจุก [2510]
  5. วันมหาวิปโยค (2516)
  6. เทวดาเดินดิน (2519)
  7. [สัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่กลับออกจากป่า] [2528]
  8. เพลงสุดท้าย (2528)
  9. 14 ตุลาสงครามประชาชน (2544)
  10. หัวใจทรนง The Adventure of Iron Pussy (2546)

หอภาพยนตร์

หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือก

  1. คุณค่าทางประวัติศาสตร์และความทรงจำ

เป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ สถานที่ กาลสมัย บุคคล เหตุการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับคนไทยและสังคมไทย ในมิติต่างๆ เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ทั้งในฐานะปัจเจกและกลุ่มหรือมวลชน สามารถทำให้ผู้ชมเข้าถึงและเข้าใจมิติเหล่านั้นในเชิงประวัติศาสตร์หรือความทรงจำ

  1. คุณค่าทางศิลปะภาพยนตร์

เป็นผลงานภาพยนตร์ที่สร้างสรรค์ อันแสดงถึงศิลปะวิทยาทางด้านภาพยนตร์

  1. มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

เป็นภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น การนำเสนอภาพยนตร์นั้นไม่ว่าการถ่ายทำ การแสดง การตัดต่อ ฯลฯ  มีความคิดริเริ่ม ไม่เคยมีแบบอย่างมาก่อนในภาพยนตร์อื่นๆ

IMG 20231005112253000000

  1. บูรณภาพ

คือความสมบูรณ์ครบถ้วนของผลงานภาพยนตร์ตรงตามต้นฉบับของผู้สร้างสรรค์ ภาพยนตร์ที่ออกฉายแล้วอาจถูกตัดทอน ถูกเสริมเติมแต่งเพิ่มเติม ถูกดัดแปลงไปด้วยเหตุต่าง ๆ

  1. ความเสี่ยงต่อการสูญเสียหรือยากแก่การหาทดแทน

เป็นภาพยนตร์ที่ยังมีฟิล์มต้นฉบับหรือสำเนาในรูปแบบอื่นใดอยู่ แต่ตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงที่จะสูญเสียภาพยนตร์นั้นไป ด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น มีต้นฉบับหรือสำเนาอยู่เพียงชุดเดียว หรือภาพยนตร์นั้นกำลังเสื่อมสภาพ หรือสภาพการจัดเก็บไม่ปลอดภัย ไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น

  1. อิทธิพลต่อคนและสังคม

ภาพยนตร์ที่สามารถส่งผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อปัจเจกชนและหรือต่อสังคม ไม่ว่าทางด้านพฤติกรรม ความคิด ความเชื่อ อารมณ์ ฯลฯ อาจก่อให้เกิดกระแสสมัยนิยมเกิดการเปลี่ยนแปลง ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ไม่ว่าชั่วระยะเวลาสั้นหรือยั่งยืนนาน

IMG 20231005112250000000

IMG 20231005112251000000

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo