Lifestyle

เช็ก 7 ข้อ ดูแลสุขภาพ ‘ผู้สูงอายุ’ หน้าร้อน-ฝุ่น PM 2.5

เช็ก 7 ข้อ ดูแลสุขภาพ “ผู้สูงอายุ” หน้าร้อน-ฝุ่น PM 2.5 พร้อมโหลด 4 แอปเช็กฝุ่นติดสมาร์ทโฟนไว้ ก่อนออกจากบ้าน เพื่อความปลอดภัย

จากสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นร่วมกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน ทำให้ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ การดูแลตัวเองในหน้าร้อนและช่วงฝุ่น PM 2.5 สำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยป้องกันอันตรายและลดความเสี่ยงจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและฝุ่น PM 2.5 ที่เกินมาตรฐานได้

สูงอายุ

แพทย์หญิงพัชรินทร์ ปิงเมืองแก้ว รองผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ข้อแนะนำการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในหน้าร้อนและฝุ่น PM 2.5 ประกอบด้วย 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานผักและผลไม้ที่มีสีส้มและเหลือง เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น มะเขือเทศราชินี แครอท ฟักทอง มะม่วงสุก เป็นต้น 
  • การปรับอุณหภูมิของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วด้วยการดื่มน้ำ โดยปกติควรดื่มน้ำวันละประมาณ 6-8 แก้ว แต่ถ้าหากอยู่กลางแดดร้อนอาจดื่มได้มากกว่านี้ 
  • การป้องกันสายตาและผิวหนังจากแสงแดดจ้าในการทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน เช่น สวมแว่นกันแดด สวมหมวก ใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกาย เป็นต้น 
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่าง กลางแจ้งหากเป็นวันที่ค่าของฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานพิจารณาให้ออกกำลังกายภายในอาคารแทน 
  • ผู้สูงอายุที่มีโรคภูมิแพ้จมูก โพรงจมูกอักเสบ และหอบหืด ควรใช้ยาสูดทางปาก และยาพ่นจมูกต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ พิจารณาการล้างจมูกอาจช่วยลดทั้งฝุ่น “PM 2.5” ในทางเดินหายใจส่วนบน และสารก่อภูมิแพ้ได้ 
  • ผู้สูงอายุที่มีโรคภูมิแพ้ผิวหนัง แนะนำใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายมิดชิด และหลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผม ชำระล้างร่างกายที่อาจนำพาฝุ่นเข้ามาภายในอาคาร 
  • สวมหน้ากากอนามัยที่สามารถกรอง PM 2.5 ได้ ทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน 

ผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ การให้ผู้สูงอายุได้สัมผัสแสงแดด ช่วงเช้าตรู่และช่วงเย็น ระยะเวลาสั้น ประมาณ 10 – 15 นาที เพื่อให้ร่างกายผลิตวิตามิน D ซึ่งเป็นวิตามินที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้โดยการกระตุ้นจากรังสียูวีบี (UVB) จะมีส่วนช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย สามารถป้องกันโรค โดยเฉพาะภาวะกระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรงในวัยผู้สูงอายุได้

นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันสภาพอากาศของประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นและปัญหาฝุ่น “PM 2.5” เกินมาตราฐานติดอับดับต้นๆ ของโลก ทำให้ประชาชนต้องหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุเนื่องจากอายุที่มากขึ้นภูมิคุ้มกันต่าง ลดลง ร่วมกับประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายลดลงจึงส่งผลอันตรายมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ  

4 แอปเช็กฝุ่น PM 2.5 ก่อนออกจากบ้าน

ในปัจจุบันสภาพอากาศของประเทศไทยหลากหลายพื้นที่ถูกปกคลุมไปด้วย ฝุ่นมลพิษ PM 2.5 หลายพื้นที่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นมลภาวะทางอากาศชนิดหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว เมื่อค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นเกินระดับมาตรฐาน ทำให้สามารถมองเห็นฝุ่นละอองที่ปกคลุมจนคล้ายกับหมอกหนา บางครั้งแทบจะแยกไม่ออกอันไหนฝุ่น อันไหนหมอก

ดูแลสุขภาพ

โดยฝุ่นละออง PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองในอากาศที่มีอนุภาคขนาดเล็ก ที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน พร้อมทั้งยังไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากท่อไอเสียของเครื่องยนต์ การเผาไหม้ขยะ การเผาเชื้อเพลิงทั่วไป ตลอดจนการเผาไหม้เชื้อเพลิงภายในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนั้นเพื่อเช็กพื้นที่ไหนมีฝุ่น PM 2.5 จะได้หลีกเลี่ยงหรือป้องกัน ควรจะมีแอปพลิเคชันเช็กค่าฝุ่น PM 2.5 ที่ควรโหลดติดสมาร์ทโฟนไว้

1.Air4Thai

แอปพลิเคชันรายงานดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย โดยรายงานข้อมูลรายชั่วโมง ข้อมูลรายวัน กราฟคุณภาพอากาศย้อนหลัง 7 วัน โดยเป็นข้อมูลจากที่ตรวจวัดจากกรมควบคุมมลพิษครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย

ดูแลสุขภาพ

2. IQAir AirVisual | Air Quality

แอปพลิเคชันที่รวบรวมข้อมูลคุณภาพอากาศสำหรับกว่า 10,000 เมืองทั่วโลกกว่า 80 ประเทศ โดยมลพิษทางอากาศในช่วง 7 วัน และการพยากรณ์สภาพอากาศเพื่อช่วยวางแผนกิจกรรมกลางแจ้งและการเดินทางไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

ดูแลสุขภาพ

3.แอปฯ เช็คฝุ่น

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA  ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนา Application “เช็คฝุ่นสามารถบอกว่าจังหวัดที่เราอยู่ เขตไหน อำเภอไหน มีปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 มากที่สุด

ดูแลสุขภาพ

4.Air Matters 

แอปพลิเคชัน Air Matters สามารถค้นหาค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ได้แบบรวดเร็วทันใจ โดยไม่ได้บอกค่าแค่ในเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้งานตรวจสอบได้กว่า 50 ประเทศทั่วโลก

ดูแลสุขภาพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo