Waste Management

‘GC’ จับมือ ‘ม.สุรนารี’ เดินหน้า ‘Chemical Recycling’ แปรรูป-เพิ่มมูลค่า ‘ขยะพลาสติกปนเปื้อน’

“GC” เดินหน้าต่อยอดแพลตฟอร์ม การจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจรด้วย “Chemical Recycling” จับมือ “สุรนารี” สร้างระบบการคัดแยกขยะพลาสติก จากต้นทางสู่ปลายทาง พร้อมเพิ่มมูลค่าให้ขยะพลาสติกปนเปื้อน

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (จำกัด) มหาชน หรือ GC ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือ SUT ในโครงการศึกษาการจัดการขยะพลาสติกจากต้นทางสู่ปลายทางแบบครบวงจร ช่วยเพิ่มมูลค่าขยะพลาสติกปนเปื้อนต่าง ๆ โดยการรีไซเคิลพลาสติก ผ่านกระบวนการ Chemical Recycling หรือ กระบวนการแปรรูปขยะพลาสติกปนเปื้อน ให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

GC2

พร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ด้วยแผนการจัดการขยะพลาสติก เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก และ การดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร GC กล่าวว่า GC มีความเชื่อ และมุ่งมั่น ดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืน เพราะความยั่งยืน เป็นการสร้างสมดุล และการเติบโตไปข้างหน้าร่วมกัน ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยขับเคลื่อนบนกรอบของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ GC มุ่งเน้น คือ การนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน  มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทุกกระบวนการ โดยมีเป้าหมายในการยกระดับการทำงานร่วมกับพันธมิตร  สู่การสร้างความเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน  ที่แข็งแรง สามารถต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ได้

MOU GC x SUT ภาพจรดปากกา

GC ได้ริเริ่ม “YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม” ซึ่งเป็นตัวอย่างของแผนการจัดการขยะพลาสติก เพื่อนำขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง สามารถแก้ปัญหาขยะพลาสติกแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การคัดแยก รวบรวมขยะพลาสติก ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากเครื่องรับขยะ และขนส่งไปยังปลายทาง เช่น โรงงานรีไซเคิล หรือ โรงงานอัพไซเคิล โดยในปลายปี 2564 นี้ GC จะเปิดดำเนินการโรงงานพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ครบวงจร เป็นแห่งแรกในไทย

ถึงวันนี้ GC มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้สนับสนุนเทคโนโลยีของคนไทย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยการร่วมมือกับ SUT พันธมิตรภาคการศึกษา ที่มี นวัตกรรม และเทคโนโลยี การรีไซเคิลพลาสติก เพื่อร่วมกันวางแผน จัดการคัดแยกขยะพลาสติกที่ต้นทาง ส่งเสริมการให้ความรู้ เรื่องการจัดการขยะพลาสติก พร้อมสนับสนุนถังขยะต้นแบบ เพื่อการคัดแยก

รวมถึง จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะพลาสติกในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่รูปแบบการจัดการคัดแยกขยะพลาสติกต้นทาง ที่สามารถลงมือทำได้จริง สู่ปลายทางแบบครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ โดย GC มีบริษัทในกลุ่มที่สามารถส่งเสริมมหาวิทยาลัย ในการขยายผลไปในระดับประเทศได้

นอกจากนี้ GC ยังร่วมศึกษาวิจัย และสนับสนุนงบประมาณ ในการทดสอบการแปรรูปขยะพลาสติกปนเปื้อน ให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับขยะพลาสติกปนเปื้อนในรูปแบบต่าง ๆ อีกด้วย

MOU GC x SUT ภาพถือสัญญา

ความร่วมมือในครั้งนี้ ส่งผลให้ GC มีแผนการจัดการขยะพลาสติก อย่างครบถ้วนครอบคลุม 3 ด้าน

  • พลาสติกชีวภาพ (Bio-based) มุ่งเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถสลายตัวได้ด้วยการฝังกลบ เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียว
  • พลาสติกทั่วไป (Fossil-based) มุ่งเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ด้วยความรับผิดชอบ นำขยะพลาสติกกลับมารีไซเคิล หรืออัพไซเคิล เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่สามารถคัดแยก และนำกลับมารีไซเคิล ด้วยกระบวนการ Mechanical Recycling ได้
  • Chemical Recycling ซึ่งได้ร่วมมือกับ SUT ในการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปขยะพลาสติกปนเปื้อน ที่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบปกติ ให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือวัตถุดิบ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พร้อมวางระบบการจัดการขยะด้วยเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่ง GC มีพันธมิตรที่สามารถรองรับวัตถุดิบที่ได้มาจากกระบวนการ Chemical Recycling นี้อีกด้วย

MOU GC x SUT ภาพขยะพลาสติกที่เตรียมเข้าสู่กระบวน

ทางด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า SUT มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะการใช้ความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

อีกทั้งได้ศึกษา และวิจัยการบริหารจัดการขยะ ตั้งแต่ ปี 2549 เป็นต้นมา เริ่มตั้งแต่การคัดแยก จนถึงการแปรรูปเป็นพลังงานรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาระบบแปรรูปขยะพลาสติก เป็นน้ำมันด้วยกระบวนการไพโรไลซิสขึ้นในมหาวิทยาลัย โดยมีกำลังการผลิตน้ำมันประมาณ 5,000 ลิตร/วัน และมีความพร้อมในการทำวิจัยต่อยอดเพื่อสร้างรูปแบบการจัดการของเสียแบบครบวงจร

SUT มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมมือกับ GC ผู้นำในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีอันดับหนึ่งของประเทศไทย ใน “โครงการศึกษาการจัดการขยะพลาสติก และการเพิ่มมูลค่าขยะพลาสติกปนเปื้อน” ซึ่งเป็นการอาศัยความร่วมมือ ประสบการณ์ และความพร้อมของทั้ง 2 ฝ่าย โดยจะใช้พื้นที่ของ SUT เป็นกรณีศึกษา ในการสร้างรูปแบบการจัดการขยะชุมชนที่ต้นทางที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาการคัดแยกขยะพลาสติก การนำขยะพลาสติกมาแปรรูป ให้สามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิง หรือวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์

MOU GC x SUT ภาพเครื่องไพโรไลซิส

โดยคาดหวังว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้เกิดระบบจัดการขยะ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นแนวทางในการขยายผล ทั้งด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้กับประเทศต่อไปในอนาคต

จากการผสานพลังความร่วมมือและนวัตกรรมจากภาคการศึกษาและภาคเอกชนในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมืออีกหนึ่งขั้น ที่มุ่งหวังให้เยาวชน และบุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมถึง คนไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกวัน

อีกทั้งยังสอดคล้องกับร่างแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติกของรัฐบาล เรื่องการนำขยะพลาสติกกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และนำกลับมาใช้ประโยชน์ทั้งหมดในปี 2570 เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Waste Society) ต่อไปอย่างยั่งยืน

MOU GC x SUT ภาพกองขยะพลาสติกปนเปื้อน

#GC #ChemistryforBetterLiving #GCCircularLiving #มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo