Circular Economy

DOW ชู นวัตกรรม ‘INNATE’ ร่วมสร้างอนาคตแพคเกจจิ้ง รีไซเคิล 100% ลดใช้พลาสติก ลดโลกร้อน

นวัตกรรม INNATE จาก DOW สานต่อนโยบายยั่งยืน เศรษฐกิจหมุนเวียน ประเดิมพัฒนาข้าวถุงรักษ์โลก เล็งต่อยอดร่วมมือยักษ์ระดับโลก สู่หลากบรรจุภัณฑ์คอนซูเมอร์

นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (DOW) เปิดเผยว่า DOW ได้นำ นวัตกรรม INNATE ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกเพื่อความยั่งยืน แข็งแรง ทนทานมากขึ้น ด้วยนวัตกรรมการจัดเรียงโมเลกุลของพลาสติก เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ทำให้เหนียวกว่าพลาสติกทั่วไป จึงทำให้ใช้ปริมาณวัสดุ หรือใช้เม็ดพลาสติกน้อยลงประมาณ 18% เมื่อเทียบจากปริมาณการใช้ในเม็ดพลาสติกรูปแบบเดิม

นวัตกรรม INNATE

การนำนวัตกรรม INNATE มาใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก ยังเป็นส่วนหนึ่งของการเดินหน้าสู่เป้าหมายสู่ความยั่งยืนของ DOW ที่มุ่งบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเท่ากับศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593, พลาสติกจำนวน 1 ล้านตันจะถูกเก็บกลับเพื่อนำมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล ภายในปี 2573 และผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของดาว ที่นำไปผลิตเป็นแพคเกจจิ้ง จะต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ ภายในปี 2578

นวัตกรรมดังกล่าว สามารถผลิตเป็นถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดเติม (ถุงรีฟิล) รวมถึงถุงทรงตั้งสำหรับของแห้ง และของเหลว ถุงใส่ข้าวสาร ถุงใส่อาหารสัตว์ ถุงบรรจุภัณฑ์ที่ต้องรองรับสินค้าที่มีน้ำหนักมากๆ นั่นหมายความว่า สามารถต่อยอดและขยายผลไปยังผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายต่อไป

ทั้งนี้ เพื่อสานเป้าหมายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ได้ประกาศความร่วมมือกับ 2 พันธมิตรสำคัญ คือ บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด ผู้ผลิตและจำหน่าย ข้าวถุงตราฉัตร ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และบริษัท พรีแพค ประเทศไทย จำกัด ในเครือ เอสซีจีพี ผู้ผลิตแพคเกจจิ้งพลาสติกชั้นนำ พัฒนา ข้าวถุงรักษ์โลก สำหรับบรรจุข้าวตราฉัตร โดยจะเริ่มวางจำหน่ายในต้นปีหน้า

สำหรับความร่วมมือดังกล่าว เป็นการนำความเชี่ยวชาญของแต่ละบริษัท มาผนึกกำลังกัน เพื่อพัฒนาและยกระดับ ถุงข้าวสารตราฉัตร ให้เป็นข้าวถุงรักษ์โลก ด้วยการสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 100% ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะได้จำนวนมาก ประกอบกับเทคนิคการผลิตแพคเกจจิ้ง “ดาวน์ เกจจิ้ง” (Down Gauging) จาก พรีแพค ที่ทำให้การผลิตถุงบางลง แต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยวางเป้าหมายทำให้ถุงข้าวสารบางลงจากเดิม 110 ไมครอน เหลือ 90 ไมครอน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกลง แต่ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม

304909
ฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย

ความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นโครงการนำร่อง ที่จะช่วยลดการใช้พลาสติก และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของ DOW ในการต้านโลกร้อน ด้วยการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการลดขยะพลาสติก และส่งเสริมวงจรรีไซเคิล

สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน จะประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ เทคโนโลยี, โครงสร้างพื้นฐาน และ การมีส่วนร่วมของแบรนด์ และผู้บริโภค ดังนั้น จากนี้ จะเดินหน้าประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ และรณรงค์ในการนำพลาสติกกลับเข้าสู่วงจรรีไซเคิลอย่างต่อเรื่อง เพื่อร่วมกันลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยอย่างยั่งยืน

ในเบื้องตัน ได้วางเป้าหมายที่จะลดปริมาณการใช้พลาสติกได้กว่า 300 ตันต่อปี จากปริมาณการใช้เม็ดพลาสติกของข้าวตราฉัตรปีละ 1,600 ตันต่อปี ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 600 ตันคาร์บอนต่อปี เทียบเท่ากับปลูกต้นไม้กว่า 600 ไร่ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการรีไซเคิล เนื่องจากเป็นถุงฟิล์มหลายชั้น ที่ผลิตจากพลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดเดียวที่รีไซเคิลได้ง่าย

นวัตกรรม INNATE

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า การจะทำให้โครงการลดปริมาณการใช้พลาสติก เพื่อลดปริมาณขยะ และลดโลกร้อน ประสบความสำเร็จได้ ต้องมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ซึ่งขณะนี้เมื่อเทคโนโลยีพร้อม เป้าหมายต่อไปคือ การดึงแบรนด์สินค้าและเจ้าของแบรนด์ เข้ามาร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ที่ใช้พลาสติกน้อยลง และสามารถนำกลับไปสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ 100%

ดังนั้น ดาวและพรีแพค จึงขยายผลโครงการ หลังจากประเดิมนำร่องกับข้าวตราฉัตร ด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีดังกล่าว ไปยังเจ้าของแบรนด์สินค้าระดับโลก เพื่อสร้างความร่วมมือระดับโลก เนื่องจากแบรนด์ชื่อดังระดับโลกเหล่านี้ ต่างก็มีเป้าหมายด้านความยั่งยืนด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะการวางเป้าหมายปี 2573 ที่จะใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมด

หลังจากสร้างความร่วมมือกับแบรนด์สินค้าแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ผู้บริโภค ที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม และปรับพฤติกรรมการทิ้งขยะพลาสติก ให้สามารถนำกลับเข้ามาสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ 100% โดยไม่ทิ้งเป็นขยะเหลือไว้บนโลก

1036012

ประธานบริหารกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย เล่าถึงแนวคิดในการทำให้ผู้บริโภคปรับพฤติกรรม ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้นไว้อย่างน่าสนใจว่า หากสามารถทำให้ขยะพลาสติกมีมูลค่า เชื่อว่าจะลดการทิ้งขยะพลาสติก และสร้างพฤติกรรมในการเก็บเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้

ตัวอย่างที่ดำเนินการแล้วคือ การเข้าร่วมโครงการ “มือวิเศษ x วน โดย PPP Plastics” หรือ “ถังวนถุง” ในการรณรงค์ให้ผู้บริโภค นำถุงข้าวตราฉัตรมาบริจาคที่จุดดรอปพอยต์ของโครงการฯ ที่มีกว่า 350 จุดทั่วกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง หรือรวบรวมส่งทางไปรษณีย์ เพื่อให้ถุงข้าวตราฉัตรเข้าสู่วงจรเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกตกค้างในสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

นอกจากนี้  ผู้บริโภคยังสามารถนำถุงข้าวตราฉัตรทิ้งลงในถังรีไซเคิลตามปกติ หรือ นำมาบริจาคที่ “ถังวนถุง” ในห้างสรรพสินค้า อาทิ มาบุญครอง เซ็นทรัล เดอะมอลล์ เทสโก้ โลตัส และปั๊มน้ำมันบางจาก เป็นต้น โดยสามารถเช็คจุดตั้ง “ถังวนถุง” ใกล้บ้านได้ที่ shorturl.at/wBGKV) หรือ รวบรวมส่งทางไปรณีย์มาที่ “โครงการ วน” บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) 42/174 ม.5 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210

304921

“ถุงข้าวตราฉัตรที่ประชาชนนำมามอบให้ “ถังวนถุง” จะมีมูลค่า กิโลกรัมละ 5 บาท เป็นเงินบริจาคให้กับมูลนิธิด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป ซึ่งถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติก และทำให้เกิดการปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น”นายฉัตรชัยกล่าว

สิ่งที่เกิดขึ้น จากการดำเนินโครงการคือ การคัดแยกขยะพลาสติก เพื่อรวบรวมกลับไปยังโรงงานรีไซเคิล และผลิตพลาสติกนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการสร้าง Circular Economy หรือสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้อย่างครบวงจรนั่นเอง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo