Circular Economy

GC มุ่งสู่องค์กรยั่งยืน  ชู ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ รับกระแส New Normal

“ความยั่งยืน” เป็นคำที่กล่าวที่พูดถึงมานานในการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจ แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนทั่วโลกหันมาหาแนวทาง “ปฏิบัติ” อย่างจริงจัง โดยเฉพาะแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า ความยั่งยืน (Sustainability) คือ การพัฒนาโลกไปพร้อมกับดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยการพัฒนานี้ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของคนยุคปัจจุบัน แต่ไม่ทำให้ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลังลดน้อยลง

cover GC เศรษฐกิจหมุนเวียน

GC มีวิสัยทัศน์ คือ เป็นผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ดังนั้นเรายึดหลักความยั่งยืน 17 ข้อ ขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) ซึ่งคำนึงถึงความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (2E1S) โดยนำเรื่องความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในทุกระบวนการ และมุ่งมั่นขยายผลสู่สังคมในวงกว้าง ซึ่งเราได้กำหนดเรื่องความยั่งยืนไว้เป็น หนึ่งในกลยุทธ์หลักของบริษัทฯ

GC เชื่อว่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน คือ การใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาองค์กรควบคู่กับการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นให้เกิดการปฏิบัติได้จริงในทุกด้าน

ในด้านเศรษฐกิจ เชื่อว่าธุรกิจเติบโตและทำกำไรไม่ได้ หากสิ่งแวดล้อมแย่และสังคมไม่มีความพร้อมที่จะสนับสนุน กำไรไม่ใช่ตัววัดผลสำเร็จและความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจ GC มี Business Model: การทำเรื่องความยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจ โดยเน้นถึงความร่วมมือและการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เติบโตไปด้วยกันตลอด Supply Chain

ในด้านสังคม มุ่งส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ดูแลชุมชนรอบรั้วโรงงาน ท้องถิ่นจังหวัดระยอง ได้แก่ สนับสนุนภาคการศึกษา การจ้างงาน สร้างอาชีพ การดูแลระบบนิเวศน์ และด้านสาธารณสุข พร้อมขยายผลไปยังระดับจังหวัด และประเทศ หากเกิดสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น การเคียงข้างสังคมไทยรับมือ COVID-19

ในขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อม GC มุ่งขับเคลื่อนความยั่งยืนบนกรอบของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) โดยเน้นเรื่อง Climate Change (Greenhouse Gas Emission Reduction) ที่พร้อมสนับสนุนและปฏิบัติตามเป้าหมายของประเทศ และ Circular Economy การใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เปลี่ยนประเทศไทยจากประเทศที่ถูกมองว่าเป็นผู้สร้างปัญหาขยะ เป็นผู้แก้ปัญหาขยะ และเป็นแบบอย่างในการแก้ไขอย่างยั่งยืนผ่านการสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่ต้องทำอย่างบูรณาการร่วมกัน

ทำไมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงสำคัญ

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เป็นกลจักรสำคัญของความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่ง GC เชื่อในหลักการนี้ จึงดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิด GC Circular Living ใน 3 ด้าน

  • Smart Operating

นำเทคโนโลยีแบบใหม่มาพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดย GC มีเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อย GHG จากกระบวนการผลิตลง 20% ภายในปี 2030 และลดความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือกระจกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลง 52% ภายในปี 2050

ทั้งนี้ เป้าหมายของ GC ไม่ได้เป็นการลด GHG จากผลิตภัณฑ์และพลังงานของ GC เองเท่านั้น แต่ในอนาคตเราจะขยายไป Scope 3 ซึ่งครอบคลุม Supply Chain ทั้งหมด รวมไปถึง Smart Office ที่คำนึงถึงการประหยัดทรัพยากร ด้วยการออกแบบและเลือกใช้วัสดุที่เบาขึ้น แต่แข็งแรงขึ้น

  • Responsible Caring

วิธีการจัดการ ในการคิดค้น พัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำขยะพลาสติกกลับมา Recycle และ Upcycling ให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่นำมาหมุนเวียนให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ยาวนานและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ยกตัวอย่าง การนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น Construction หรือ Automobile ก็สามารถออกแบบเลือกใช้วัสดุที่มีนำหนักเบาลง ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนและพลังงานได้

  • Loop Connecting

ขยายความร่วมมือร่วมกับทุกภาคส่วน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ ต้นทาง / กลางทาง / ปลายทาง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในวงกว้าง และเชื่อมต่อธุรกิจให้ครบวงจร
GC จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะด้านขยะ น้ำ และอากาศ ของประเทศ มุ่งเน้นให้มีการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ

koo

GC มองว่ากรณีปัญหาขยะพลาสติก “พลาสติกเองไม่ใช่ปัญหา” แต่อยู่ที่วิธีการจัดการ ดังนั้นการจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจรพร้อมสร้างความร่วมมือแบบ Super Collaboration จึงจำเป็น

ตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จชัดเจน จับต้องได้ เช่น Upcycling the Oceans, Thailand ซึ่งได้มาตรฐาน BS 8001:2017 และจีวรรีไซเคิลร่วมกับวัดจากแดง

เราเริ่มจากจุดเล็ก ๆ และขยายผลต่อยอด จากวัดจากแดง สู่ถนน ในโครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน จนถึงระดับประเทศ ในโครงการเปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ และ โครงการความร่วมมือกับกรมอุทยานฯ รวมทั้งการขยายผลไปสู่ภาคการศึกษา (Waste This Way) และกลุ่มคนรุ่นใหม่

วิกฤติโควิด-19 กับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของผู้คนอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งคนไทยและผู้คนทั่วโลก เข้าสู่วิถีปกติใหม่ หรือ New Normal

ดร.คงกระพัน กล่าวว่าผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าการพึ่งพากันในประเทศมีความสำคัญอย่างมาก เมื่อเราถึงจุดวิกฤติที่ไม่สามารถหาอุปกรณ์การแพทย์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น ทำให้ความร่วมมือของทุกฝ่ายจึงเป็นทางออกของปัญหา นั่นคือเราต่างบูรณาการองค์ความรู้ ทรัพยากรที่แต่ละองค์กรมี จนสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือวงการแพทย์ และสังคมไทยในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดได้

ความร่วมมือกันเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยกันสร้าง Resilience ให้กับประเทศ นั่นก็คือการที่เราช่วยกันแก้ปัญหา และพาประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด ตระหนัก ตื่นตัว และพร้อมรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น นับเป็นความร่วมมือที่ทำให้เราต่างใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค้า แก้ปัญหาได้ถูกจุดและมีประสิทธิภาพ

นอกจากผลกระทบทางด้านการแพทย์แล้ว COVID-19 ยังส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะคนต้องการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย มีการใช้ Single-Use Plastics มากขึ้น โดยพบว่ามีปริมาณขยะเพิ่มขึ้น เช่น ขยะพลาสติกจากกล่องอาหารเดลิเวอรี่ สะท้อนว่าเราต้องทำเรื่อง Circular Economy มากขึ้น พร้อมทั้งน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Self Sufficiency) มาใช้

ดังนั้น ถึงเวลาที่เราต้องร่วมมือกันสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น เพราะนี่ไม่ใช่ภาระของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่คือจิตสำนึกและความรับผิดชอบของมวลมนุษยชาติทุกคนบนโลก เพื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการปฏิวัติทรัพยากรให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

แนวคิด GC Circular Living จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่เข้ามาช่วยปลดล็อคโลกของเราจากวิกฤติ ให้เกิดการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การขับเคลื่อนโลกด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและยั่งยืน

GC

ระดมความคิดเห็นครั้งใหญ่ผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน

วันที่ 12 พฤศจิกายนนี้ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมกับพันธมิตรระดับโลก National Geographic และเครือข่ายพันธมิตร จัดประชุม GC Circular Living Symposium 2020: Tomorrow Together ซึ่งเป็นการประชุมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

ทั้งนี้ จะพบกับผู้นำความคิด นวัตกร และนักธุรกิจจากทั่วโลกมาร่วมแบ่งปันความคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อขับเคลื่อนโลกสู่ความยั่งยืน ด้วยนวัตกรรม การสร้าง Business model เพื่อก่อให้เกิดระบบนิเวศทางธุรกิจ (Ecosystem)

งานนี้จึงเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองและส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องราวที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์จากองค์กรชั้นนำของไทยและหลากหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงสตาร์ทอัพและผู้นำความคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแนวทาง Circular living เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การบริหารจัดการขยะหลังการใช้ การ Recycle & Upcycle หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีการผลิตที่ที่ถูกออกแบบให้ใช้ได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ เป็นการจุดประกายความคิดทั้งในการดำเนินธุรกิจและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตแบบ Circular Living เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่การปฏิวัติการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

การประชุมในปีนี้ ต้องการแสดงให้เห็นว่าหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้จริง (Practical) มีตัวอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน “วิถีการพึ่งพาตนเอง..ใช้ในสิ่งที่มีให้คุ้มค่า เปลี่ยนแนวความคิดสู่การปฏิบัติที่พร้อมขยายผล” โดยจะถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรง ที่เข้าใจง่ายและเกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม เป็นประโยชน์ทั้งในไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวัน เป็นประโยชน์ต่อ SMEs องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนถึงสังคมของเราทุกคน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo