Circular Economy

รวมพลังขับเคลื่อน Circular in Action – ปฏิบัติการหมุนเวียนพลาสติกด้วยจุดดรอปพ้อยท์

ร่วมขับเคลื่อน “ปฏิบัติการหมุนเวียนพลาสติก ด้วยจุดดรอปพ้อยท์” นำพลาสติกสะอาด กลับไปรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติก และนำไปผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ ที่สามารถนำวนกลับมาใช้งานได้อีกหลายรอบ “แบบไม่รู้จบ” เพื่อไม่ให้พลาสติกเหล่านี้หลุดรอดไปสู่สิ่งแวดล้อม

ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  เป็นประธานเปิดงาน แสดงพลังความร่วมมือ Circular in Action – Drop Point of Used Plastic หรือ ปฏิบัติการหมุนเวียนพลาสติกด้วยจุดดรอปพ้อยท์ ซึ่งจัดขึ้นโดยโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน หรือ PPP Plastics ภายใต้การนำของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) และ องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)

โครงการนี้ มีภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมร่วมกันแสดงจุดยืนในการขับเคลื่อน การนำพลาสติกสะอาด กลับไปรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติก และนำไปผลิต เป็นผลิตภัณฑ์ ที่สามารถนำวนกลับมาใช้งานได้อีกหลายรอบ “แบบไม่รู้จบ” เพื่อไม่ให้พลาสติกเหล่านี้หลุดรอดไปสู่สิ่งแวดล้อม และไม่ไปที่หลุมฝังกลบ  เป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องขยะพลาสติกในทะเล ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยการนำกลับมาหมุนเวียนเพื่อทำประโยชน์ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

PIC 41855

ดร. สุวิทย์ ยังกล่าวมอบนโยบาย BCG ขับเคลื่อนประเทศไทย และกล่าวว่า “วันนี้ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ มาร่วมผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ของพลาสติกในประเทศไทย

“ขอชื่นชม และขอบคุณ PPP Plastics ที่สามารถเชื่อมโยงหลากหลายหน่วยงานที่สำคัญให้มาทำงานร่วมกัน เพราะทุกคนทราบดีว่าการจะทำให้เกิด Circular Economy ขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ไม่มีบริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งสามารถสร้างให้เกิดขึ้นเองได้”

งานเริ่มขึ้น ด้วยการจัดแสดงวีดิโอสรุปผลงานโครงการ PPP Plastics ในรอบปี 2562 จนถึงปัจจุบัน และพิธีส่งมอบตำแหน่งประธานโครงการ PPP Plastics ระหว่าง นายภราดร จุลชาต ประธานโครงการ PPP Plastics ซึ่งได้ดำรงตำแหน่งประธาน มาตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2561 จนถึงปัจจุบัน  ครบตามระเบียบวาระประธานที่กำหนดไว้ 2 ปี

เมื่อครบวาระจะมีการสลับกันระหว่างผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กับผู้แทนจาก องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้มีการส่งมอบตำแหน่งประธานโครงการ PPP Plastics ให้กับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา เพื่อสานต่องานโครงการ PPP Plastics ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามที่ตั้งไว้

หลังจากนั้นจึงเป็นพิธีแสดงความร่วมมือ Circular in Action – Drop Point of Used Plastic หรือ ปฏิบัติการหมุนเวียนพลาสติกด้วยจุดดรอปพ้อยท์ โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาสังคม ร่วมกันแสดงพลังกว่า 60 หน่วยงาน

ดร.วิจารย์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ประธาน PPP Plastics กล่าวว่า  ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนและระบบเศรษฐกิจ โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เป็นหน่วยงานหลักสำคัญในการขับเคลื่อน BCG Model ให้เห็นผลเป็นรูปธรรม”

“ในฐานะประธาน PPP Plastics ผมก็จะเดินหน้าสานต่อและขยายผลการดำเนินงานของ PPP Plastics เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยที่จะลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570”

H98A2692

ทางด้าน นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) กล่าวว่า TBCSD ในฐานะองค์กรร่วมก่อตั้งโครงการ PPP Plastics พร้อมร่วมเดินหน้า เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างบูรณาการแบบครบวงจร และมีประสิทธิภาพ

TBCSD จะเชิญชวนองค์กรที่เป็น value chain ของกระบวนการจัดการพลาสติก ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางมาเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งเชื่อว่าหากมีหุ้นส่วนมากขึ้น จะทำให้การดำเนินงานโครงการประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น รวมถึง TBCSD จะเดินหน้าขยายผลการดำเนินงานโครงการนี้ไปในวงกว้าง โดยอาศัยความร่วมมือขององค์กรสมาชิก TBCSD ที่เข็มแข็ง และความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายและองค์กรพันธมิตรต่างๆ

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นได้จริงนั้น สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงการขับเคลื่อนของหน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง แต่เป็น “การสร้างการมีส่วนร่วม” ของทุกภาคส่วน ทางสภาอุตสาหกรรมฯ จึงมีความยินดีและขอร่วมเป็นหนึ่งในพันธมิตรกว่า 60 องค์กร ในการร่วมแรงร่วมใจ ทำให้เกิดโมเดลการดำเนินธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและแก้ปัญหาขยะตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำอย่างเป็นรูปธรรมร่วมกันต่อไปในอนาคต”

นายอดิศร นุชดำรง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “PPP Plastics ถือเป็นความร่วมมือแรกของภาคเอกชนที่เข้ามามีบทบาททำงานร่วมกับภาครัฐ โดยได้เข้ามาเป็นหนึ่งในคณะทำงาน ภายใต้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานอนุกรรมการ เพื่อร่วมกันดำเนินงานตาม Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 และ แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2565”

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นการนำพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ช่วยสร้างงานให้กับประชาชน และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยให้ร่วมมีบทบาทส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เราเผชิญอยู่และยังเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปในแนวทางที่ยั่งยืนอีกด้วย”

PIC 13

โครงการของ PPP Plastics และการขยายผลสู่ความร่วมมือ Circular in Action ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD)
  • สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  • กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรม
  • กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรม
  • สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย
  • สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม TIPMSE
  • สถาบันพลาสติก

หน่วยงานภาครัฐ

  • กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  • กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ระทรวงอุตสาหกรรม
  • กรมควบคุมมลพิษ
  • กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

หน่วยงานภาคเอกชน 

  • กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย
  • บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด
  • บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
  • บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท สุเอซ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จํากัด
  • บริษัท เอ็ช เอ็ม ซี โพลีเมอส์ จำกัด
  • บริษัท มิตซุย เคมิคอลส์ (ประเทศไทย) จํากัด
  • บริษัท อิวิคท์ (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด
  • บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จํากัด
  • บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จํากัด
  • บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จํากัด (มหาชน)
  • บริษัท อูเบะ เคมิคอลส์ (เอเชีย) จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
  • บริษัท กลุ่ม เซ็นทรัล จำกัด
  • บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน)

H98A2692

สมาชิกเครือข่ายโครงการมือวิเศษ x วน 

  • บริษัท ทีพีบีไอ จํากัด (มหาชน)
  • บริษัท ไร่ขิงพลาสติกรีไซเคิล จํากัด
  • บริษัท ยูเนี่ยน เจ. พลัส (ไทยแลนด์) จำกัด
  • บริษัท ลาวัณย์วิสุทธิ์พลาสติกไทย จํากัด
  • บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด
  • บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • บริษัท เดอะมอลล์กรุ๊ป จํากัด
  • บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จํากัด
  • บริษัท อิออน (ไทยแลนด์) จำกัด
  • บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จํากัด (มหาชน)
  • บริษัท อิมพีเรียล พลาซ่า จำกัด
  • Less Plastic Thailand
  • TRBN (Thailand Responsible Business Network)

สถาบันการศึกษา

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ASEAN Institute of Technology (AIT)

องค์การระหว่างประเทศ

  •  IUCN (ไอยูซีเอ็น) : The International Union for Conservation of Nature
  • UNEP (ยูเอ็นอีพี) : United Nations Environment Programme
  • GIZ (จีไอเซด) : German International Cooperation to support sustainable development in Thailand and ASEAN
  • ธนาคารโลก
  • · UNDP (ยูเอ็นดีพี) : United Nations Development Programme
  • Terra Cycle (เทราไซเคิล)
  • WWF (ดับเบิ้ลยูดับเบิ้ลยูเอฟ) : World Wide Fund For Nature

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

Avatar photo