Environmental Sustainability

‘ซีพีเอฟ’ ชูกระบวนการผลิต-ผลิตภัณฑ์ยั่งยืน สู่เป้าหมาย Net-Zero งานประชุมเอเปค 2022

“ซีพีเอฟ” ร่วมแสดงศักยภาพ โชว์กระบวนการผลิต และ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Sustainable Kitchen of the World Towards Net-Zero ในงานประชุมเอเปค 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ต้อนรับผู้นำจากนานาประเทศใน 21 เขตเศรษฐกิจโลก

วันนี้ (17 พ.ย.) นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง และนางสาวอนรรฆวี ชูรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ให้การต้อนรับสื่อมวลชน ที่ให้เกียรติเยี่ยมชมบูธ CP-CPF  ตอกย้ำแนวทางการดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน

ซีพีเอฟ

ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับแนวทาง BCG เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular- Green- Economy Model -BCG) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี  2593 สอดรับเป้าหมายของรัฐบาลและเป้าหมายของโลก

นายพีรพงศ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟ มีนโยบายมุ่งสู่ Net-Zero อย่างชัดเจน ในปี 2593  ซึ่งปัจจุบัน ได้นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่ เป็นเทคโนโลยีสะอาด และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

อย่างเช่น การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ มีเป้าหมายว่า ในปี 2568 จะต้องทำให้ได้ 100 เมกะวัตต์ เป็นเรื่องของการใช้พลังงานสะอาด และอยู่ระหว่างการศึกษา นำรถอีวีมาใช้ในกระบวนการผลิต ใช้เทคโนโลยีไอโอทีบันทึกข้อมูลการผลิต เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ซีพีเอฟ

ทั้งยังให้ความสำคัญกับการนำหลัก BCG มาใช้ อาทิ การใช้พลังงานชีวภาพ (ไบโอแก๊ส) ในฟาร์มไก่ไข่ ที่นำมูลสัตว์มาหมักเป็นแก๊ส และนำแก๊สไปผลิตไฟฟ้า รวมทั้งภายในปลายปีนี้

ซีพีเอฟได้ประกาศยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน 100 % สำหรับกิจการในประเทศไทย และหันมาใช้พลังงานชีวมวล (ไบโอแมส) อาทิ เปลือกไม้  โดยปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน (พลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์) อยู่ที่ 27% ของการใช้พลังงานทั้งหมด และพยายามขยายการผลิตพลังงานเหล่านี้เพิ่มขึ้น

สิ่งที่ ซีพีเอฟทำในทุกวันนี้ มองประโยชน์ที่เกิดกับประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลัก แล้วจึงมองประโยชน์ขององค์กรเป็นลำดับสุดท้าย ตามปรัชญา 3 ประโยชน์ของเครือซีพี

ขณะเดียวกัน ในด้านของความยั่งยืนได้มุ่งไปที่ระดับโลก จากการที่ได้เห็นสภาวะการเปลี่ยนแปลง โลกร้อน น้ำท่วม แห้งแล้ง ที่มีผลกระทบอย่างรุนแรง เชื่อว่าการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนของซีพีเอฟ จะมีส่วนช่วย และผลักดันธุรกิจอื่นๆให้สามารถก้าวสู่ความยั่งยืนด้วยกัน และในฐานะที่เป็นผู้นำในธุรกิจที่เกี่ยวกับปศุสัตว์และอาหาร ทั้งยังดูแลซัพพลายเชนด้วย เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสู่ความยั่งยืนของซีพีเอฟ

ซีพีเอฟ

ด้านนางสาวอนรรฆวี กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญในการพัฒนาสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปัจจัย 3 เรื่อง ได้แก่ Innovation Wellness และ Planet

ในส่วนของ Innovation เป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญมาโดยตลอด นวัตกรรมอาหารของซีพีเอฟ มุ่งเน้นตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน

ส่วนเรื่อง Wellness ได้พัฒนาสินค้าที่ช่วยยกระดับสุขภาพของผู้บริโภค ที่ผ่านมาได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์หมู ไก่ CP Selection ที่ใช้นวัตกรรมการเลี้ยงด้วย โปรไบโอติก ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ

ปัจจัยที่ 3 คือ เรื่อง Planet บริษัทร่วมกับ RD Center และทีมงานวิศวกรรม และซัพพลายเชน เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาสินค้าทุกตัวตอบโจทย์ความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิต

ซีพีเอฟ

นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ภาคภูมิใจที่มีโอกาสนำผลิตภัณฑ์ยั่งยืน คือ นวัตกรรมเนื้อจากพืช Meat Zero และ ไก่เบญจา เป็นเมนูพิเศษเสิร์ฟงานเลี้ยงอาหารค่ำ การประชุมผู้นำภาคเอกชนของเอเปค หรือ APEC CEO Summit Reception 2022 ให้ผู้นำธุรกิจระดับโลกได้ลิ้มลองความอร่อย ซึ่งทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ มีห่วงโซ่การผลิตภายใต้แนวคิด BCG โมเดล ตอกย้ำคุณภาพอาหารที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo