Environmental Sustainability

ฟื้นทะเลสะอาด ‘ซีพีเอฟ’ จับมือเครือข่ายชุมชน แก้ปัญหาขยะอย่างยั่งยืน   

“ประเทศไทย” ทิ้งขยะลงทะเลเป็นอันดับต้นๆของโลก แม้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แต่ปัญหาขยะทะเลเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยที่ทุกภาคส่วนต้องมีความตระหนักและลงมือทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ และดูแลความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง สอดรับกับแนวทางที่สหประชาชาติ กำหนดแนวคิดสำหรับ “วันทะเลโลก” ปีนี้ 8 มิถุนายน 2022 การฟื้นฟู : ลงมือทำร่วมกันเพื่อท้องทะเล อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลเพื่อคนรุ่นต่อๆไป

ภายใต้ความมุ่งมั่นปกป้องทะเลโลก ( Restore the Ocean) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ในฐานะบริษัทผลิตอาหารระดับโลก ที่ส่งมอบอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคทั่วโลกกว่า 4 พันล้านคน ดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดูแลและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นทางแหล่งวัตถุดิบในการผลิตอาหารอย่างรู้คุณค่า

1624722

ซีพีเอฟ นำร่อง “โครงการกับดักขยะทะเล” (Trap the sea Trash) โดยร่วมมือกับ ชุมชน ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 และเทศบาลตำบลบางหญ้าแพรกสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน ลดการทิ้งขยะ เก็บ ดักขยะ ในคลองสาธารณะ ของตำบลบางหญ้าแพรก ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำบริเวณปากอ่าวและทะเลอ่าวไทยตอนบน เพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่ทะเล ควบคู่ไปกับส่งเสริมการบริหารจัดการขยะทะเล ตามแนวทาง 3R คือ ลดการใช้ (Reduce) นำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้ชุมชนมีรายได้ จากการนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นและถูกวิธี

1624726
สมบูรณ์ สินทะเกิด หรือ ป้าติ๋ม อายุ 65 ปี ประธานคณะทำงานโครงการกับดักขยะทะเล ชุมชนบางหญ้าแพรก กล่าวว่า ปัจจุบันคณะทำงานโครงการกับดักขยะทะเลมีสมาชิก 17 คน เป็นคนในพื้นที่หมู่ 4 หมู่ 5 และ หมู่ 6 ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ซึ่งเดิมชุมชน และจิตอาสาช่วยกันดูแลเรื่องขยะกันอยู่แล้ว เพราะมีปริมาณขยะในคลองค่อนข้างเยอะ เราอยากสร้างความตระหนักให้ทุกครัวเรือนในชุมชนร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม เนื่องจากขยะที่ไหลออกสู่ทะเล ทำให้ระบบนิเวศทะเลเสื่อมโทรมลง

ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพแบบนี้ไปเรื่อยๆ รุ่นลูกหลานของเราก็จะลำบาก คณะทำงานฯ ของเราจึงพยายามสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนจัดการขยะให้ เป็นที่เป็นทาง โดยมีซีพีเอฟให้การสนับสนุนอุปกรณ์การเก็บขยะ ที่ดักขยะ การแยกขยะ เป็นขยะที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไได้ เช่น ขวดพลาสติก ฝาพลาสติก ซึ่งสามารถสร้างรายได้กลับสู่ชุมชนได้ หรือเป็นรายได้เสริมให้กับผู้ที่ว่างงาน ผู้สูงอายุ เป็นต้น มีการติดตามว่าชุมชนได้ประโยชน์จริงหรือไม่ ส่วนขยะที่ไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้ เช่น ที่นอน ถุงพลาสติก ก็จะส่งต่อให้เทศบาลฯนำไปกำจัด

1624730

“หลังจากที่เราร่วมกันทำกิจกรรมเก็บขยะมาหลายครั้ง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ คนที่เคยทิ้งขยะลงคลองน้อยลง ปริมาณขยะในคลองก็น้อยลง น้ำในคลองสะอาดขึ้น มีปลาตัวเล็ก ตัวน้อยที่เข้ามามากขึ้น เราคาดหวังว่าโครงการกับดักขยะทะเล  สามารถต่อยอดต่อไปได้ ส่งเสริมคนในชุมชนเห็นคุณค่าและเห็นประโยชน์ของการเก็บขยะ การแยกขยะ” ประธานคณะทำงานโครงการกับดักขยะทะเล ชุมชนบางหญ้าแพรก กล่าว

นางประทุม ชาวสมุทร อาชีพรับจ้าง เป็นหนึ่งในสมาชิกของ โครงการกับดักขยะทะเล ชุมชนบางหญ้าแพรก เล่าว่า ขอขอบคุณซีพีเอฟ ที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมของชุมชนในพื้นที่ จากที่เข้ามาร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูผืนป่าชายเลนในพื้นที่ ต.บางหญ้าแพรก ส่งเสริมการเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนบางหญ้าแพรก เพื่อให้ชุมชนมีรายได้และพึ่งพาตนเองได้ และเข้ามาสนับสนุนกิจกรรมโครงการกับดักขยะทะเล บริเวณคลองฮะบ๊วย ท่าเทียบเรือบางหญ้าแพรก และคลองนาเกลือมณีรัตน์ ทำให้สภาพน้ำในคลองสะอาดขึ้น ปริมาณขยะน้อยลง คนในชุมชนที่เคยทิ้งขยะลงคลอง เห็นเพื่อนๆ ออกมาช่วยกันเก็บขยะในคลอง เดือนละ 2-3 ครั้ง ก็มีความตระหนักมากขึ้น ช่วยกันดูแลปัญหาขยะในคลอง ไม่ทิ้งขยะลงคลอง คณะทำงานฯ คิดกันว่าจะเชื่อมโยงเรื่องการบริหารจัดการขยะไปสู่สถานศึกษาในพื้นที่ต่อไป เพื่อเป็นการปลุกจิตสำนึกจากรุ่นสู่รุ่น

1624724

“โครงการกับดักขยะทะเล” ขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์ป่าชายเลนของซีพีเอฟ ที่ผ่านมา ซีพีเอฟ จับมือชุมชนชาวบางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร และชุมชนชาวปากน้ำประแส จ.ระยอง โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2565 มีปริมาณขยะที่เก็บได้ในพื้นที่บางหญ้าแพรก 2,850 กิโลกรัม ทั้งขยะพลาสติกและขวดแก้ว ที่สามารถนำไปขายให้กับคนรับซื้อขยะ และนำเงินมาใช้สนับสนุนการทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในชุมชน ส่วนขยะทั่วไป ทางเทศบาลนำไปกำจัดตามแนวทางที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมเก็บขยะบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน ต.ปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง ซึ่งดำเนินการปีละ 2 ครั้ง โดยบริษัทฯ สร้างเครือข่ายร่วมทำกิจกรรม อาทิ กลุ่มวิสาหกิจท่องเที่ยววิถีชุมชนปากน้ำประแส กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปากน้ำประแส อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม. ) โรงเรียนชุมชนวัดตะเคียนงาม เป็นต้น  กิจกรรมครั้งล่าสุด ที่เพิ่งจัดขึ้นเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาสามารถเก็บขยะได้ 1,537 กิโลกรัม

1624725

ทั้งนี้ กิจกรรมเก็บขยะในโครงการกับดักขยะทะเล เป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้องป่าชายเลน” ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557- 2561 เป็นระยะที่หนึ่งสามารถอนุุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนไปรวม 2,388 ไร่ พื้นที่ยุทธศาสตร์ จ.ระยอง สมุทรสาคร ชุมพร พังงา และสงขลา และปัจจุบันอยู่ในระยะที่สองของโครงการ (ปี 2562 – 2566 ) มีเป้าหมายอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปลูกป่าเพิ่มเติม ในพื้นที่ป่าชายเลน จ.ระยอง จ.สมุทรสาคร และจ.ตราด มากกว่า 10,000 ไร่ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชายเลน และยังพบปริมาณ กุ้ง หอย ปู ปลา เพิ่มขึ้น ทำให้ชาวบ้านที่มีอาชีพประมงมีรายได้มากขึ้นด้วย

1624729

ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ได้สนับสนุนสู่การเป็นเส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชน ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร และ เส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชน ต.ปากน้ำประแส จ.ระยอง เพื่อให้ชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight