Environmental Sustainability

‘ไทย-เยอรมนี’ ขับเคลื่อน ‘กลไกการเงิน’ ลดปัญหาโลกร้อน

สผ. จับมือ GIZ จัดสัมมนากลไกการเงิน “Thailand Climate Finance Conference: From International to Domestic Mechanism” เผยแพร่ข้อมูลการเงิน-การลงทุน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อมรับฟังความเห็นภาคเอกชนในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับความท้าทาย ช่องว่าง และโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษ ภายในงานสัมมนากลไกการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “Thailand Climate Finance Conference: From International to Domestic Mechanism” ที่สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับโครงการด้านนโยบาย ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดขึ้นมา

55242

นายวราวธ กล่าวว่า ประเทศไทยยังมีโอกาส และช่องว่างสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการสร้างงานจากเศรษฐกิจสีเขียวอีกมาก ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการผลิต โดย reuse หรือ recycle วัตถุดิบ อุตสาหกรรมพลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมเกษตร เช่น การปลูกข้าวปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ การผลิตโปรตีนทางเลือก และการผลิตอาหารสัตว์ที่ดีต่อระบบย่อยอาหารของสัตว์ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัวในทุกภาคส่วน และทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยใช้วิกฤตินี้ให้เป็นโอกาสในการปรับเปลี่ยนการลงทุน ให้สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจสีเขียว สร้างมูลค่าเพิ่ม และความเข้มแข็งในการแข่งขัน ทั้งในโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี การศึกษา กระบวนการผลิตสินค้า และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

55215

นายวราวุธ บอกด้วยว่า ยังต้องการการสนับสนุนจากต่างประเทศอีกมากทั้งในด้านการเงิน การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาศักยภาพ โดยเฉพาะในเทคโนโลยีระดับสูง ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำหรือลดก๊าซเรือนกระจก และทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาชน และประชาสังคมควรตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง ซึ่งตอนนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ก่อนที่จะไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขอะไรได้เลย

ทางด้าน นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสผ. ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกลางของไทย ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ มุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบกลไกทางการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินงานในเรื่องนี้ รวมถึง รับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน เกี่ยวกับความท้าทายในการพัฒนาธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และความต้องการรับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้สามารถแข่งขัน และพัฒนาธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำได้

55209
ขณะที่ นายฮานส์ อูลริช ซูดเบค อุปทูตและหัวหน้าแผนกเศรษฐกิจประจำสถานทูตเยอรมนี  แสดงความเห็น  เวลานี้เป็นช่วงเวลาสำคัญในการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของโลก การทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องดำเนินควบคู่กัน

ไม่ใช่แค่ประเทศไทยกับเยอรมนี ที่มีความสัมพันธ์อันดีมายาวนานถึง 160 ปี แต่ยังหมายรวมถึงสหภาพยุโรป และประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนด้วย ที่ต้องร่วมกันจัดการวิกฤติสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องการทิศทางที่ชัดเจนจากนโยบายสาธารณะที่สนับสนุนศักยภาพที่แท้จริงของภาคเอกชน และภาคประชาชน

55256

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo