Environmental Sustainability

‘กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม’ เปิดเวที ‘COP 26 สู่วิถีชาวบ้าน’ เสนอแนวทางลดก๊าซเรือนกระจก

“กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม” เปิดเวทีออนไลน์ “COP 26 สู่วิถีชาวบ้าน” สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลการประชุม “COP 26” โดยเฉพาะเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก  พร้อมนำเสนอแนวทางขับเคลื่อน การลดก๊าซเรือนกระจก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวระหว่างเป็นประธานในงานสัมมนา “COP 26 สู่วิถีชาวบ้าน” ที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) จัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ว่า การสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อต้องการสื่อสารงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการประชุม รัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP 26)

COP 26

ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกให้บรรลุเป้าหมาย ที่ประเทศไทยประกาศเจตนารมย์ไว้ในการประชุมว่า จะทำให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2583  และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2608

พร้อมทั้งเป็นเวทีนำเสนอแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การดูดซับก๊าซเรือนกระจกให้กับชุมชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การบรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์ ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศไว้ในการประชุม COP 26 นั้น จะต้องขับเคลื่อนปัจจัยความสำเร็จ 4 ข้อ 

1. นโยบายภาครัฐและกฎหมาย มุ่งสู่เป้าหมายยุทศาสตร์ชาติ 20 ปี ในเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว 25% นำไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG)

2. ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน มีความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน

3. เงินทุน (Funding) การกู้ยืม/สินเชื่อ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

4. เทคโนโลยี นวัตกรรม การสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก ศึกษาการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

COP 26
จตุพร บุรุษพัฒน์

ในเวทีเสวนาครั้งนี้ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ยังได้ร่วมกันนำเสนอแนวทางการสร้างความตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างความรู้ความเข้าใจ และสร้างศักยภาพในระดับพื้นที่ การจัดการป่าไม้และพื้นที่สีเขียว การมีส่วนร่วมและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากระดับนโยบายสู่การปฏิบัติของประชาชน เพื่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก จากการปรับพฤติกรรมของคนไทย รวมทั้ง สาระสำคัญต่าง ๆ จากการประชุม COP 26 ที่ผ่านมา

งานวิจัยของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่อการตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดก๊าซเรือนกระจกที่นำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ บทบาทของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม. ในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การสนับสนุนชุมชนในการตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบทบาทขององค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากธรรมชาติ หรือ NGO ต่อการขับเคลื่อนความร่วมมือภาคีเครือข่ายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

COP 26

นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวปิดท้ายว่า  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จัดเวทีสัมมนานี้ขึ้นมา เพื่อให้เป็นเวทีในการเผยแพร่ สื่อสารข้อมูล ผลจากการประชุม COP 26 ความรู้จากงานวิจัยของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถตั้งรับ และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในระดับพื้นที่ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และต่อยอดเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ต่อไป

รายชื่อวิทยากร

  • ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  • รศ.ดร. สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ดร.จงรักษ์ ฐินะกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ดร. อัศมน ลิ่มสกุล ผู้อำนวยการกลุ่มการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • นางอริยา แก้วสามดวง ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักนายกภาคประชาชน/ทสม. จังหวัดตรัง
  • นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ประธานสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ผู้สนใจ สามารถเข้าชมการสัมมนา COP 26 สู่วิถีชาวบ้าน ย้อนหลังได้ที่เฟซบุ๊กเพจ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

COP 26

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo