Environmental Sustainability

นายกฯ พอใจขับเคลื่อน ‘โมเดลเศรษฐกิจ BCG’ หวังใช้ ‘พลิกโฉม’ ประเทศ

นายกฯ พอใจทุกฝ่ายขับเคลื่อน ‘โมเดลเศรษฐกิจ BCG’ ย้ำปี 65 จะเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง หวังใช้ ‘พลิกโฉม’ ประเทศ ทำให้ประชาชนมีรายได้ และเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

นายธนกร วังบุญคง ชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนนเวียน – เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม

โมเดลเศรษฐกิจ BCG

โดยนายกฯพอใจผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยขอให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และทุกฝ่าย บูรณาการขับเคลื่อนการทำงานและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG ร่วมกัน เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และ ได้เสนอแนะขอให้ โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นวาระที่ลงลึกไปในระดับพื้นที่ รวมทั้งต้องหาวิธีการปลดล็อกในเชิงกฎหมาย ที่จะอำนวยความสะดวกให้เกิดกับการดำเนินนโยบาย โมเดล เศรษฐกิจ BCG ด้วย

นายกฯยังขอให้ทุกฝ่ายนำแนวคิดโมเดล BCG ไปประยุกต์ให้เข้ากับกรอบของความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่วาระหลักของการประชุม APEC ซึ่งไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพในปีนี้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ติดตามผลลัพธ์ของโมเดล BCG ที่นำมาปรับใช้ ตลอดจนให้สำนักงบประมาณนำเอาแนวคิด BCG ไปเป็นแนวในการจัดสรรงบประมาณอีกด้วย

โมเดลเศรษฐกิจ BCG

ซึ่งนายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า ปี 2565 นี้ จะต้องเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ โมเดล เศรษฐกิจ BCG ในการพลิกโฉมประเทศไทย ทำให้ประชาชนมีรายได้ และเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ที่ประชุมยังพิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วย โมเดล BCG เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ปี พ.ศ. 2566 โดยเห็นชอบมาตรการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน 4 ด้านที่สำคัญ

ได้แก่ 1) การจัดสรรงบประมาณ มอบให้สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ พัฒนาแนวทางการจัดสรรงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน BCG ให้สอดคล้องกับแนวทาง มาตรการและโครงการบูรณาการสำคัญที่บรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการ

โมเดลเศรษฐกิจ BCG

2) ภาครัฐปรับยุทธศาสตร์บูรณาการ BCG เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่บูรณาการการทำงานในลักษณะจตุภาคีเพื่อพัฒนาโครงการ BCG เชิงพื้นที่โดยให้นำความต้องการของพี่น้องประชาชนเป็นตัวตั้งเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ และสร้างความมั่งคั่งแบบทั่วถึง

3) การสร้างระบบนิเวศเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน มีมาตรการที่เกี่ยวข้องรวม 7 มาตรการ

4) การสนับสนุนภาคประชาสังคม ด้วยการให้การสนับสนุนการจัดตั้ง National Food Bank การจัดตั้งเครือข่ายผู้ประกอบการผลิตอาหาร การให้ภาคเอกชนร่วมกันพัฒนาระบบสนับสนุนต่าง ๆ เช่น ระบบ Logistics และระบบบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน รวมถึงปรับกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการบริจาคอาหารส่วนเกินในลักษณะเดียวกับ พ.ร.บ. บริจาคอาหารของประเทศเกาหลีใต้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo