Environmental Sustainability

สผ. ชี้แจง ‘อัคคีปราการ’ กำจัดสารเคมี ‘โรงงานกิ่งแก้วระเบิด’ ถูกกฎหมาย

“สผ.” ชี้แจง บริษัทกำจัดสารสไตรีนโมเนอร์เมอร์ จากเหตุโรงงานกิ่งแก้วระเบิด ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถรับกำจัดตามที่กำหนดไว้ในรายงานอีไอเอได้

จากกรณีมีการนำเสนอข่าว เรื่องบริษัทอัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) กระทำการที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย จากการนำสารสไตรีนโมเนอร์เมอร์ ของบริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ไปกำจัด หลังเกิดเหตุโรงงานระเบิด  เนื่องจาก บริษัทยังไม่ผ่าน EHIA เท่ากับยังไม่ได้รับอนุญาต และยังไม่มีอำนาจในการขนย้าย เนื่องจากต้องทำแผนดำเนินการเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล) ก่อนนั้น

rawi123

วันนี้ (22 ก.ค.)  นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ชี้แจงถึงเรื่องนี้ว่า บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) ได้นำเสนอข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการจัดการ “สารสไตรีนโมโนเมอร์” จากเหตุเพลิงไหม้บริษัท หมิงตี้ จำกัด ที่บริษัทรับมาดำเนินการ

ข้อเท็จจริง ระบุว่า สารสไตรีนโมโนเมอร์ เป็นสารตั้งต้น ที่มีส่วนประกอบของ ตัวทำละลาย Solvent ที่มีจุดติดไฟต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส จัดเป็นประเภทของเสีย ที่โครงการศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม (เตาเผาขยะอุตสาหกรรม) สามารถรับกำจัดได้ตามที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA

สำหรับบริษัทอัคคีปราการนั้น เดิมมีชื่อว่า กลุ่มกิจการร่วมค้า BYSC  เป็นผู้ได้รับการคัดเลือก และได้สิทธิในการบริหาร และประกอบการ โครงการศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม (เตาเผาขยะอุตสาหกรรม) ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2551

บริษัทอัคคีปราการ ได้สิทธิการบริหาร และประกอบการดังกล่าว ก่อนหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง จะมีประกาศกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2552 ดังนั้น บริษัทจึงไม่ต้องทำรายงาน EHIA

S 388464645

ทั้งนี้ บริษัท อัคคีปราการ ประกอบกิจการรับกำจัดของเสียอุตสาหกรรม ตามที่ระบุในรายงาน EIA  โดยของเสียที่รับมานั้นกำจัดได้ด้วยการเผา ส่วนใหญ่เป็นของเสียอุตสาหกรรม จากโรงงานอุตสาหกรรม

อาทิเช่น น้ำมันเบาแบบสะอาด และน้ำยาตัวทำละลาย ที่มีจุดติดไฟต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส น้ำมันดีเซลสะอาด และน้ำมันหนัก (Heavy Oil) แบบผสม น้ำยาตัวทำละลายแบบผสมซึ่งสกปรก และอาจประกอบด้วย คลอโรไฮโดรคาร์บอนสลัดจ์ (Sludge) อินทรีย์แบบผสม ซึ่งสูบด้วยเครื่องสูบได้ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคของแข็งขนาดเล็ก และน้ำยาตัวทำละลาย ซึ่งมีจุดติดไฟต่ำ

น้ำยาตัวทำละลายสารอินทรีย์แบบผสมในกระดาษแข็ง ภาชนะพลาสติกชนิดพีวีซี พีอี หรือ พีพีซึ่งอาจมีน้ำหนักถึง 10 กิโลกรัม ซึ่งประกอบด้วยสารอินทรีย์ ซึ่งไม่ติดไฟและน้ำยาตัวทำละลายที่มีจุดติดไฟต่ำเป็นต้น

ส่วนประเภทของเสียที่ไม่รับกำจัด ได้แก่ ของที่ระเบิดได้ ของที่มีสารกัมมันตภาพรังสี มีแนวโน้มติดไฟได้เอง หรือมีแนวโน้มเกิดปฏิกิริยารุนแรงในสภาวะปกติ PCB จากหม้อแปลงไฟฟ้า และไดออกซิน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo