Environmental Sustainability

‘สผ.’ จับมือ ‘มหิดล’ จัดเสวนา ระดมความคิดจัดการปัญหามลพิษ ‘อุตฯ ปิโตรเลียม-ปิโตรเคมี’

สผ. ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนา กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม “การบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเชิงรุกในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี”

เมื่อเร็ว ๆ นี้  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดย กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (กวผ.) ร่วมมือกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมเสวนาออนไลน์ เรื่อง “การบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเชิงรุก ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และปิโตรเคมี” ขึ้น

DSC 1239

โดยมีนักวิชาการสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน (บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม) ผู้แทนอุตสาหกรรมปิโตรเลียม (ได้แก่ โรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม โรงงานแยกก๊าชธรรมชาติ โรงงาน/กิจการ แปรสภาพก๊าชธรรมชาติ) ผู้แทนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สถาบันการศึกษา เจ้าหน้าที่ สผ. และผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมด้วย

​ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการ สผ. กล่าวว่า การจัดประชุมเสวนาครั้งนี้ มีขึ้นเพื่อระดมสมองทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรธุรกิจพันธมิตร ในการติดตามเฝ้าระวัง และบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเชิงรุก ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และปิโตรเคมี โดยสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ และเชื่อมโยงความรู้จากสถาบันต่างๆ เข้ามาร่วมกันทำงานเพื่อช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้อย่างยั่งยืน

การประชุมเสวนาดังกล่าว เป็นไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นการดำเนินการบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเชิงรุกของกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ที่จะช่วยกันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ผ่านกลไกรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(E/A)

ช่วยส่งเสริมให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง กับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมถึงผู้สนใจทั่วไป ได้รับการเสริมสร้างศักยภาพองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือที่ดีของภาครัฐ และเอกชน ในการร่วมกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดเพื่อประชาชนและชุมชนในพื้นที่

DSC 1243

ข้อสรุปแนวทางการการบริหารจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเชิงรุก ประกอบด้วย

  • การทำตามข้อกฎหมายกำหนด (Regulatory Control) และการทำเพิ่มมากกว่าที่ข้อกฎหมายกำหนดโดยสมัครใจ (Voluntary Control) จะทำให้เกิดนโยบายปฏิบัติที่ดีที่สุด (Policy Best Mix Approach) ในการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศของพื้นที่อย่างยั่งยืนในมิติเชิงรุก
  • การบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ สำหรับโรงงานปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ที่เป็นเชิงรุก ต้องคำนึงถึงมิติ คาร์บอนต่ำ (Low Carbon) ประหยัดพลังงาน (Low Energy) ใช้สารเคมีปริมาณน้อยหรือที่มีความเป็นพิษต่ำ (Low Chemical) ระบบบำบัดที่เหมาะสม (Available & Appropriate Treatment Technology) ความสมดุลด้านการผลิต การจัดการ ที่เหมาะสมกับการเงิน และความเชื่อมั่นทางสังคมของชุมชนที่จะมีต่อโรงงาน

DSC 1286

  • โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ เป็นตัวอย่างการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศเชิงรุกอย่างเป็นระบบ ได้ดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระดับสากล
  • กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่มาบตาพุด ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ สาร 1.3-บิวทาไดอีน แบบเชิงรุก อย่างน่าภาคภูมิใจ โดยร่วมมือกันในการศึกษาสาเหตุ ทดลองปฏิบัติ จนสามารถทำให้สารมลพิษดังกล่าวในพื้นที่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • การส่งเสริมจากภาครัฐ ที่สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดความสมัครใจ ในการดำเนินการมากกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศเชิงรุก

ทั้งนี้ จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัว และดำเนินนโยบายการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศในเชิงรุกมากขึ้น เช่น การนำมาใช้ซึ่ง Best available และ Best appropriate control technology รวมถึ งเครื่องมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับสากล

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) อันจะช่วยก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี ในการดำเนินงานกิจการ และช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้อย่างยั่งยืน และเป็นรูปธรรม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo