Environmental Sustainability

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1 กับการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1 เป็นการจัดส่งเงินเข้าสู่กองทุน ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าในพื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่ประกาศ 1 ตำบล ในอำเภอบางละมุง และ 5 ตำบล ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ได้แก่ ตำบลบางละมุง ตำบลสุขลา ตำบลบึง ตำบลหนองขาม ตำบลสุรศักดิ์ และตำบลศรีราชา

ในแต่ละปีมีการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อนำไปพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนในหลากหลายโครงการ ถือเป็นกองทุนพัฒนาไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานสูง

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1 ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า และโรงกลั่นน้ำมันรวม 8 แห่ง คือ

บริษัท ไซม์ ดาร์บี้ แอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด
บริษัท ไซม์ ดาร์บี้ เพาเวอร์ จำกัด
บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ ศรีราชา
บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด
บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน)
บริษัท ไทยโตไกคาร์บอนโปรดักท์ จำกัด

กองทุนไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1 จัดเป็นกองทุนขนาดใหญ่ ในแต่ละปีมีการจัดสรรเงินเพื่อใช้ในโครงการในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าค่อนข้างมาก และมีขนาดกองทุนหลายสิบล้านบาท

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1

นับตั้งแต่ปี 2555 ที่เริ่มเบิกจ่ายงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า จนถึงปี 2564 มีการใช้งบประมาณจากกองทุนรวม 585.62 ล้านบาท รวมโครงการทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ รวม 1,238 โครงการ

กองทุนฯ นี้ ยังได้รับรางวัลในงาน POWER DEVELOPMENT FUND AWARDS 2019 ประเภทกองทุนพัฒนาไฟฟ้าดีเด่น รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 กองทุนพัฒนาไฟฟ้าขนาดใหญ่ เนื่องจากมีผลการดำเนินงานโดดเด่น จากภาพรวมการดำเนินของกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณใน พ.ศ. 2560 มีวงเงินจัดสรรอยู่ที่ 51,041,065 ล้านบาท มีการอนุมัติสนับสนุนโครงการทั้งหมด 54 โครงการ

การดำเนินงานของกองทุนฯ ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านประสิทธิผลสูงสุด 100% ด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 100% ด้านการบริหารจัดการ 79% และด้านการเรียนรู้และพัฒนา 87% รวมถึงได้รับ รางวัลกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นด้านประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการดำเนินงานสอดคล้องกับการพัฒนาชุมชนด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการส่งเสริม และพัฒนาชุมชนทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพอนามัย

การดำเนินงานของกองทุนฯ สามารถตอบสนองความต้องการชุมชน ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้อง และบรรลุวัตถุประสงค์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนในพื้นที่ประกาศ เช่น สร้างรายได้ ลดรายจ่ายให้แก่ชุมชน มีอัตราการว่างงานลดลง มีการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กพิเศษ มีการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อการใช้งานของคนในชุมชน รวมทั้งมีโครงการที่ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ตัวอย่างการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า จังหวัดชลบุรี 1 ที่นำไปสร้างประโยชน์ให้กับท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม และเห็นผลในทางปฏิบัติชัดเจน ผ่านการการันตีจากการประกวดกองทุนพัฒนาไฟฟ้า และโครงการชุมชนในพื้นที่ประกาศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 รางวัลชนะเลิศ โครงการชุมชนดีเด่นภาคตะวันออก คือ “โครงการจัดหางบประมาณเพื่อจ้างครูจ้างสอน (นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ)” โรงเรียนวัดนาพร้าว กองทุนพัฒนาไฟฟ้า จังหวัดชลบุรี 1

โรงเรียนวัดนาพร้าว ตั้งอยู่ที่ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โรงเรียนแห่งนี้จัดการเรียนการสอน 2 ระดับ ได้แก่ ระดับก่อนชั้นประถมศึกษา และระดับประถมศึกษา ป.1-ป.6 โดยแยกนักเรียนพิเศษที่สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ และจัดห้องเรียนพิเศษสำหรับเด็กไม่สามารถไปเรียนร่วมได้ แต่สามารถทำกิจกรรมร่วมได้ เช่น ร่วมทานอาหาร ร่วมประชุม และร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น ห้องกระตุ้นพัฒนาการ

กล่าวโดยรวมแล้วเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ของโรงเรียนวัดนาพร้าว จะเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ โรคการเรียนรู้บกพร่อง (Learning Disorder: LD)

แต่ปัญหาสำคัญของโรงเรียนวัดนาพร้าว คือ การขาดแคลนครูจ้างสอนที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษสำหรับดูแลกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษเหล่านี้

ทางผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนาพร้าว เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากเดิมการแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรของโรงเรียนวัดนาพร้าว จะใช้เงินงบประมาณจากรายได้งานวันเด็ก ซึ่งงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพออย่างที่ประมาณการไว้ และงบประมาณจากรายได้วันเด็ก ไม่สามารถจัดจ้างครูได้อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1

ทางโรงเรียนเลยจัดทำโครงการฯ ประสานงานของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า จังหวัดชลบุรี 1 โดยเสนอปัญหาและแนวทางแก้ไขอย่างชัดเจน และเนื่องจากโรงเรียนวัดนาพร้าว อยู่ในพื้นที่กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1 ซึ่งเป็นกองทุนขนาดใหญ่ จึงได้จัดทำรายละเอียดโครงการเสนอตามขั้นตอน โดยชุมชนคัดเลือกโครงการเพื่อเสนอผ่านคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าตำบล (คพรต.) และ คณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า (คพรฟ.) ภายใต้งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ

จากนั้น คพรฟ. จัดทำแผน และเสนอ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อทราบ และทางกกพ. จะแจ้งผลการพิจารณา และโอนเงินลงพื้นที่ เพื่อดำเนินโครงการ

สำหรับ โครงการจัดหางบประมาณเพื่อจ้างครูจ้างสอน (นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ) โรงเรียนวัดนาพร้าว กองทุนพัฒนาไฟฟ้า จังหวัดชลบุรี 1 เริ่มจากทางโรงเรียนพบว่า ปัญหาหลักคือ

1. ปัญหาการขาดแคลนครู
2. ครูขาดความรู้ความสามารถเฉพาะทางในด้านจัดการศึกษาพิเศษ
3. โรงเรียนไม่สามารถจัดหางบประมาณมาจัดการศึกษาพิเศษได้ต่อเนื่อง

โครงการนี้เสนอภายใต้แนวคิด “เด็ก คือ สิ่งพิเศษ” เมื่อนักเรียนต้องการครู การสอนที่มากกว่าวิชาความรู้ ดูแลกันมากกว่าแค่ครูกับนักเรียน

ดังนั้น คณะกรรมการกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า จังหวัดชลบุรี 1 ที่ปกติแล้วในแต่ละปีจะมีการจัดตั้งงบประมาณเพื่อพัฒนาชุมชนในทุก ๆ ด้านที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เห็นถึงปัญหาและความสำคัญของโครงการนี้ จึงได้อนุมัติประมาณสนับสนุนโครงการ

กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1

หลังจากโรงเรียนวัดนาพร้าวได้รับพิจารณา จัดสรรงบประมาณจาก กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1 ก็ได้ดำเนินการจ้างบุคลากรมาปฏิบัติหน้าที่ เพิ่ม 6 คน ซึ่งเป็นบุคลากรโดยตรง (ศูนย์บริการทางการศึกษาพิเศษ) หลังจากนั้น เมื่อมีครูผู้สอนที่เข้าใจเด็ก และมีความเชี่ยวชาญในวิธีการสอน ก็ช่วยให้พัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง

การเรียนการสอน จะมีรูปแบบที่ส่งเสริมเด็กพิเศษทุกคน ให้การศึกษาที่ถูกต้อง ถูกวิธี และมีการพัฒนาความรู้ความสามารถ ซึ่งทางโรงเรียนได้ส่งเด็กพิเศษไปประกวดแข่งขันกับเด็กพิเศษโรงเรียนอื่น ๆ จนได้รับรางวัลในหลายสาขา ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ฝึกให้เด็กออกไปใช้ชีวิตในโลกความเป็นจริงได้

ขณะเดียวกันในแง่ของผู้ปกครองเอง เมื่อโรงเรียนมีครูผู้สอนที่เข้าใจเด็ก และเป็นบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญก็รู้สึกปลอดภัย และครูยังเป็นต้นแบบที่ดีให้กับนักเรียน หรือบุตรหลานที่มาโรงเรียนด้วย ซึ่งการมาโรงเรียนก็จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ พร้อมปรับตัว พร้อมเผชิญโลกที่เป็นจริงได้ดียิ่งขึ้น และยังเป็นการเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้กับบุตรหลานอีกด้วย

สำหรับปี 2564 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2563 ได้มีมติเห็นชอบ กรอบงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ของ กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1 เป็นเงินรวม 73.17 ล้านบาท เพื่อเป็นกรอบงบประมาณ สำหรับจัดทำแผนงานประจำปี ตามที่กองทุนฯ เสนอ แต่ต้องไม่เกินกรอบงบประมาณที่ กกพ. เห็นชอบ ดังนี้ แบ่งเป็น งบประมาณในการบริหารจัดการ 9.18 ล้านบาท และงบประมาณในการดำเนินโครงการชุมชน 53.94 ล้านบาท

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจังหวัดชลบุรี 1 ได้รับการจัดสรรงบประมาณในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำเงินไปสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนรอบโรงไฟฟ้าในพื้นที่ อย่างเกิดผลเป็นรูปธรรม ถือเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใส่ใจดูแล “ผู้เสียสละ” รอบโรงไฟฟ้าอย่างแท้จริง

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight