Environmental Sustainability

สร้างความเข้าใจการคำนวณค่าไฟฟ้า ใช้มากจ่ายมาก ใช้น้อยจ่ายน้อย

“ค่าไฟฟ้า” ถือเป็นรายจ่ายประจำของผู้ใช้ไฟฟ้า หรือผู้ที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าให้กับ 2 การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นรายเดือน จึงต้องมีความเข้าใจใน การคำนวณค่าไฟฟ้า

ค่าไฟฟ้าของไทย กำหนดให้มีการพิจารณาปรับอัตรา ‘ค่า Ft’ หรือ ‘ค่าไฟฟ้าผันแปร’ ในทุก ๆ 4 เดือน หรือใน 1 ปี จะแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 งวด คือ

งวดที่ 1 กำหนดเดือนมกราคม-เมษายน
งวดที่ 2 กำหนดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
งวดที่ 3 กำหนดเดือนกันยายน-ธันวาคม

ทั้งนี้เพื่อให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลา สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ภายใต้การกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

การคำนวณค่าไฟฟ้า

สูตร การคำนวณค่าไฟฟ้า บ้านพักอยู่อาศัย

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) คิดอัตราค่าบริการต่อหน่วยเท่ากัน โดยคิดเป็นอัตราก้าวหน้า ดังนั้นหากใช้ไฟฟ้ามากเท่าไร ก็จะต้องจ่ายค่าไฟมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งกลุ่มบ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ จะติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้า หรือมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 5 แอมป์ 220 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย หรือ ถูกจัดเข้าประเภทที่ 1.1.1

การคำนวณค่าไฟฟ้า ตามสูตรโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ประกอบด้วย 4 ส่วนรวมกัน คือ

1. ค่าไฟฟ้าฐาน
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft)
3. ค่าบริการรายเดือน
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)

ในสูตรคำนวณนี้ ค่าไฟฟ้าฐาน คือ ค่าการใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะคิดจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า โดยวิธีการคำนวณก็จะแบ่งตามประเภทผู้ใช้งาน ได้แก่

  1. ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย
  2. ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก
  3. ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง
  4. ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่
  5. ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง
  6. ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
  7. ประเภทที่ 7 กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
  8. ประเภทที่ 8 ไฟฟ้าชั่วคราว

สูตร (ค่าไฟฟ้าฐาน = จำนวนยูนิต X อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย)

อัตราปกติ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทที่ 1.1.1 (บ้านอยู่อาศัย) ดังนี้

15 หน่วยแรก : หน่วยที่ 0-15 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 2.34 บาทต่อหน่วย
10 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 16-25 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 2.98 บาทต่อหน่วย
10 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 26-35 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 3.24 บาทต่อหน่วย
65 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 36-100 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 3.62 บาทต่อหน่วย
50 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 101-150 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 3.71 บาทต่อหน่วย
250 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 151-400 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 4.22 บาทต่อหน่วย

02 4 e1638262122372

ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่า Ft = จำนวนหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ x อัตราค่า Ft โดย ค่า Ft เป็นไปตามมติ กกพ. ที่จะพิจารณาในทุก ๆ 4 เดือน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ค่าบริการรายเดือน) x 7%

ทั้งนี้อัตราค่าไฟฟ้าฐานดังกล่าว เป็นตัวอย่างอัตราที่กำหนดไว้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย โดยในแต่ละประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า ก็จะแบ่งหน่วยการคิดค่าไฟฟ้า แยกย่อยตามแต่ละหน่วยคือ ยิ่งใช้ไฟมากก็ยิ่งจ่ายค่าไฟแพงขึ้นเท่านั้น

รูปเสาไฟ e1638262165443

รู้แบบนี้แล้วหากต้องการจ่ายค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนไม่แพงจนเกินไป สิ่งที่ผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภททำได้ด้วยตัวเอง ก็คือการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อลดหน่วยค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของการคำนวณค่าไฟฟ้าให้ใช้น้อยที่สุด ส่วนค่า Ft และภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) นั้นเป็นองค์ประกอบที่อยู่เหนือการควบคุมของผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละประเภท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight