Environmental Sustainability

‘เมืองอัจฉริยะ วังจันทร์วัลเลย์’ : สร้างคน นวัตกรรม และความยั่งยืน

27

“เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์” หรือ Smart City ใกล้ความจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับและการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ กลายเป็นศูนย์นวัตกรรมของประเทศ พร้อมกับการพัฒนาแบบอย่างยั่งยืน

“เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์”  ริเริ่มพัฒนาโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตามนโยบาย Thailand 4.0 ที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 2561-2580 บนพื้นที่ 3,454 ไร่ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) พื้นที่นวัตกรรมที่รัฐบาลต้องการให้เป็นจุดยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

S 46841872

ในปี 2564 โครงสร้างพื้นฐานของ “เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์” จะถูกพัฒนาให้เสร็จสมบูรณ์ พร้อมเปิดรองรับพันธมิตรและนักลงทุนที่สนใจ โดยคาดว่าจะเปิดบริการเต็มรูปแบบในไตรมาส 3 ปี 2564

ขณะนี้ ปตท. กำลังเร่งสร้าง Ecosystem ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวกับ New S-Curve รวมถึงการแสวงหาพันธมิตร โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสร้างความร่วมมือในทุกรูปแบบเพื่อร่วมกันพัฒนาให้เป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ ที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม

เมืองอัจฉริยะแห่งนี้ ที่ดำเนินการโดย กลุ่ม ปตท. หลังจากเริ่มพัฒนามากว่า 5 ปี โดยตั้งเป้าหมายจะเป็นแหล่งนวัตกรรมของประเทศ และยกระดับการพัฒนาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยได้จัดสรรพื้นที่เป็น 3 โซน ได้แก่ พื้นที่เพื่อการศึกษา (Education Zone) พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) และพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก ที่พักอาศัยและสันทนาการ (Community Zone)

ขณะนี้ได้เปิดดำเนินการในส่วน Education zone แหล่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ ได้แก่ โรงเรียนกำเนิดวิทย์” (KVIS) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ศูนย์การเรียนรู้ป่าวังจันทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านเกษตรสมัยใหม่ ให้แก่นักเรียนและผู้ที่สนใจทั่วไป

แหล่งบ่มเพาะทรัพยากรมนุษย์

​ความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศ ด้วยจุดเริ่มต้นจาก”มูลนิธิโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระยอง” ที่ต้องการให้มีโรงเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อรองรับความต้องการพัฒนาประเทศ โดยกลุ่มปตท.สนับสนุนด้านงบประมาณในการก่อสร้างและดำเนินการโรงเรียน

​ต่อมา พระกรุณาธิคุณของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนกำเนิดวิทย์” (KVIS) อันหมายถึง “โรงเรียนที่เป็นแหล่งความรู้” เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2557 โดยโรงเรียนเริ่มเปิดภาคเรียนครั้งแรกในปีการศึกษา 2558

c054d8bb70da6fabff7ff34b72bd0f4e3 63586124 201118 4

c054d8bb70da6fabff7ff34b72bd0f4e3 63586124 201118 3

ปัจจุบัน โรงเรียนกำเนิดวิทย์ มีนักเรียน 216 คนเป็นโรงเรียนแบบประจำ และได้รับทุนการศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งคัดเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเลิศ เพื่อศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อบ่มเพาะให้นักเรียนมีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

​ทั้งนี้ ได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ สามารถเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกได้ และกลับมาต่อยอดการพัฒนาและวิจัยในประเทศ

​นายวิทวัส สวัสดิ์-ชูโต ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม กล่าวว่านักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ขณะนี้เป็นที่ยอมรับจากสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

VISTEC กับการเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ

นอกจาก โรงเรียนกำเนิดวิทย์แล้ว ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ยังมี สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก มุ่งเน้นงานวิจัยชั้นแนวหน้า เพื่อสร้างบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีชั้นเลิศในระดับโลก ให้สามารถสร้าง และใช้องค์ความรู้ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

นอกจากกลุ่ม ปตท. จะเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งแล้ว ในเวลาต่อมายังได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากพันธมิตรร่วมอุดมการณ์ ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำของประเทศ โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาในด้านนี้เช่นกัน

ความสำเร็จของ VISTEC เห็นได้จากการได้รับการจัดอันดับจาก Nature Index ให้ขึ้นสู่อันดับ 1 มหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่มีผลงานวิจัยชั้นเลิศในทุกสาขาวิชาด้าน Natural Sciences ทั้ง Physical Sciences, Life Sciences, Chemical Sciences และ Earth & Environmental Sciences

ส่วนในระดับภูมิภาคนั้นได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) โดยอันดับที่ 1-3 เป็นของมหาวิทยาลัยจากประเทศสิงคโปร์ รวมถึงการครองอันดับที่ 1 ของประเทศไทย เป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน ในสาขา Chemical Sciences

c054d8bb70da6fabff7ff34b72bd0f4e3 63586124 201118 1

ปัจจุบัน VISTEC มีนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษารวม 248 คน เป็นระดับปริญญาโท 23 คน หรือคิดเป็น 9% และระดับปริญญาเอก 225 คน หรือคิดเป็น 91%

นายวิทวัส กล่าวว่า VISTEC จะกลายเป็นศูนย์นวัตกรรมของประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่สาขาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยแบ่งเป็น 4 ภาควิชา วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมโมเลกุล วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมด้านพลังงาน วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมด้านไบโอโมเลกุล และ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านสื่อสาร

“นอกจากจะเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาแล้ว ยังเป็นการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาเทคโนโลยีทุกด้าน”

ป่าวังจันทร์ : ศูนย์เรียนรู้ด้านการปลูกและจัดการป่าไม้

​นอกจากพื้นที่ด้านการเรียนการสอน พัฒนาและวิจัยนวัตกรรมแล้ว ในพื้นที่วังจันทร์ยังมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในให้เกิดความยั่งยืน จึงมีการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ป่าวังจันทร์”

เป็นการพัฒนาต่อเนื่องมาจากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 1 ล้านไร่ ที่ปตท.ดำเนินการมาในช่วงปี 2537-2545 แต่ต่อมาจึงตั้ง “สถาบันปลูกป่า ปตท.” ขึ้นมา เพื่อดำเนินการปลูกป่า และฟื้นฟูในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ มีการจัดสรรพื้นที่ครอบคลุม 351.35 ไร่ โดยแบ่งเป็น 3 โซน คือ พื้นที่ปลูกป่าเพื่อการเรียนรู้ พื้นที่แหล่งน้ำ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้กับป่าในพื้นที่ พื้นที่ก่อสร้างอาคารและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

วัง261120

พื้นที่ปลูกป่าในพื้นที่โครงการได้นำร่องเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand-Voluntary Emission and Reduction: T-VER) สาขาป่าไม้ โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เป็นผู้ขึ้นทะเบียนในการเข้าร่วมโครงการ

นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้หายาก, ไม้ป่าเศรษฐกิจ ไม้ผลธรรมชาติและพืชอาหารตามธรรมชาติ รวมถึงเป็นพื้นที่ แหล่งเรียนรู้ ดำเนินการศึกษาวิจัยภายใต้ความร่วมมือกับ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้แก่นิสิต นักศึกษา นักเรียน ชุมชนโดยรอบ และประชาชนผู้สนใจมาศึกษาหาความรู้ พักผ่อนหย่อนใจ ชื่นชมทัศนียภาพธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเพาะชำกล้าไม้สายพันธุ์ที่ดี อีกด้วย

ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต : แหล่งเรียนรู้ต้นแบบเพื่อการเกษตรสมัยใหม่

วัง261120 2

ศูนย์เรียนรู้เกษตรนวัต สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา เป็นศูนย์การเรียนรู้ในการพัฒนาพื้นที่เกษตรโดยใช้แนวคิดวนเกษตร เกษตรผสมผสาน ใช้พืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ทั้งในระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว ที่จะยกระดับผลผลิตทางการเกษตรด้วยระบบ Smart Farming มีเป้าหมายในการสร้างองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรม ที่นำเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ (Innovation Agriculture) เข้ามาช่วยทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต โดยจะใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบแก่เกษตรกร นักเรียน และผู้สนใจ จึงนับเป็นการพัฒนาพื้นที่สำหรับสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้กับประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง

พื้นที่เพื่อการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Zone) และ พื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวก ที่พักอาศัยและสันทนาการ (Community Zone)

จากเป้าหมายการสร้าง “วังจันทร์วัลเลย์” เป็นเมืองอัจฉริยะ  ในพื้นที่ Innovation Zone พื้นที่ที่จะพัฒนาเป็น ศูนย์วิจัย พัฒนา และนวัตกรรม มีศูนย์ข้อมูล (Data Center) ส่วนกลาง และอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center : IOC) ซึ่งมีการวางโครงข่ายเชื่อมโยงกับระบบอัจฉริยะทั้งหมดพื้นที่ เพื่อบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย IOC เปิดอย่างเป็นทางการแล้วในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2563

IOC : ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ

c054d8bb70da6fabff7ff34b72bd0f4e3 63586099 201118 6

c054d8bb70da6fabff7ff34b72bd0f4e3 63586099 201118 5

นายวิทวัส กล่าวว่า กลุ่ม ปตท. ร่วมกับพันธมิตรได้พัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อรองรับ 5G Play Ground และ UAV Regulatory Sandbox ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยี 5G ขณะนี้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมพัฒนาธุรกิจและทดสอบระบบหลายราย

c054d8bb70da6fabff7ff34b72bd0f4e3 63586099 201118 9

c054d8bb70da6fabff7ff34b72bd0f4e3 63586099 201118 10

อาทิ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ร่วมพัฒนาให้พื้นที่วังจันทร์วัลเลย์สามารถบินโดรนเพื่อการทดลอง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เข้ามาร่วมบริหารและจัดสรรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนการทดสอบ 5G ในพื้นที่เพื่อใช้งานในเชิงพาณิชย์

นอกจากนี้ เอกชนที่เข้ามาร่วมทดสอบ คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) ทดสอบและ พัฒนาโดรนวิศวกรรม เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาสินทรัพย์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ทรู) ทดสอบและพัฒนาโดรนลาดตระเวนติดกล้องที่ควบคุมและเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) (ดีแทค) พัฒนาการทดสอบสู่กล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ 5G สำหรับควบคุมจากทางไกลและถ่ายทอดข้อมูลความละเอียดสูงให้การสั่งการรวดเร็วและภาพที่คมชัด

“IOC จะเป็นศูนย์ปฏิบัติการทั้งหมดในวังจันทร์วัลเลย์ เพื่อให้เป็นเมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง ทั้งการดำเนินชีวิตอยู่และการวิจัยและพัฒนา”

ในส่วนของ Community Zone อยู่ระหว่างการพัฒนาให้เป็นพื้นที่รองรับความเป็นอยู่ เอื้ออำนวยต่อการพัฒนานวัตกรรมของนักวิจัยและครอบครัว นักเรียน นักศึกษา และผู้ประกอบการที่ทำงานในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ประกอบด้วย สถานที่พบปะสังสรรค์ ศูนย์การค้า สถานที่ออกกำลังกาย พื้นที่สีเขียวเพื่อความยั่งยืน โรงแรม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนสอนภาษา

c054d8bb70da6fabff7ff34b72bd0f4e3 63586099 201118 1

จากจุดเริ่มต้นเมื่อหลายปีก่อนจนถึงปัจจุบัน “เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์” ใกล้เสร็จสมบูรณ์ หากเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการ “เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์” ก็จะกลายเป็น “Smart City Thailand” อย่างสมบูรณ์แบบแห่งแรกของประเทศ

อ่านข่าวเพิ่มเติม :

Avatar photo