Environmental Sustainability

เปลี่ยน ‘ขยะอาหาร’ เป็น ‘Bio Soil’ นวัตกรรมใหม่ช่วยสิ่งแวดล้อม

ปัญหาขยะ ในประเทศไทย แม้จะเป็นเรื่องที่หาทางแก้ไขกันมานานแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถหาทางออกได้อย่างยั่งยืน ทั้งยังเกิดขยะจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสาเหตุมาจากหลายด้าน

ทั้งจากการขยายตัวของชุมชนเมือง การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรแฝง จากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย การส่งเสริมการท่องเที่ยว และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ที่นิยมความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งสินค้าจากบริการสั่งซื้อออนไลน์สินค้า และบริการสั่งอาหาร ทำให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น

ย่อยขยะ 01

ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นว่า เมื่อปีที่แล้ว ไทยมีขยะมูลฝอยอยู่ที่ 28.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ราว 3% โดยยังมีขยะตกค้าง ที่ไม่สามารถกำจัดได้ 5.8 ล้านตัน คิดเป็นขยะเศษอาหารประมาณ 4 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 60% ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน พยายามที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ให้กับประชาชนในประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้ รวมถึง  สถาบันนวัตกรรม ปตท. ที่มีแนวคิดพัฒนานวัตกรรม เพื่อจัดการปัญหาขยะเศษอาหารตั้งแต่ต้นทาง และสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

แนวคิดหลักในการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าว คือ การเปลี่ยนของเสียให้เป็นวัสดุที่มีคุณค่า กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม โดยไม่ทำให้เกิดปัญหาตามมา สอดคล้องกับนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)  ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

P01 01

และนี่จึงเป็นที่มาของการคิดค้น “เครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหาร” ฝีมือการพัฒนาของ ทีมวิจัยฝ่ายเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ของสถาบันนวัตกรรมปตท. ที่เริ่มจากการคัดเลือก และพัฒนาเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการผลิตเอนไซม์ เพื่อช่วยในการย่อยสลายขยะเศษอาหาร

เชื้อจุลินทรีย์จะทำงานร่วมกับเครื่องย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติ ที่ได้รับการพัฒนาแล้วเสร็จเมื่อปลายปี 2562 ซึ่งมีระบบการทำงาน ที่สามารถควบคุมสภาวะให้เชื้อจุลินทรีย์ทำงาน ย่อยสลายขยะเศษอาหาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไร้กลิ่นเหม็นรบกวน

Pics used for Fact sheet of Auto FW composter IMG 18591

ตัวเครื่องประกอบไปด้วยส่วนการทำงานหลัก 2 ส่วน

  1. ส่วนย่อยสลายขยะเศษอาหาร
  2. ส่วนดูดซับกลิ่น

ทั้ง 2 ส่วนนี้ ผ่านการออกแบบ และพัฒนาเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณขยะเศษอาหารได้สูงสุดถึง 5 กิโลกรัมต่อวัน ด้วยตัวเครื่องที่มีขนาดด้านกว้าง ยาว และสูง ไม่เกิน 1 เมตร ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน  ได้มีการติดตั้งระบบควบคุมต่างๆ เพื่อควบคุมสภาวะการทำงานอย่างอัตโนมัติไว้เรียบร้อยแล้ว

ผู้ใช้งานเพียงแค่เปิดเครื่อง ก็สามารถเริ่มการใช้งาน และใส่ขยะเศษอาหารพร้อมเชื้อจุลินทรีย์ได้ทันที หลังจากนั้นผ่านไป 12 ชั่วโมง ก็จะได้ “วัสดุปรับปรุงดิน”  (Bio-Soil) ที่เกิดจากการย่อยสลายขยะเศษอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ สามารถนำไปใช้ในการบำรุงต้นไม้ให้เจริญงอกงาม และบำรุงดินที่เสื่อมสภาพ ให้กลับมามีคุณภาพได้อีกครั้่งหนึ่ง

การตรวจสอบจากห้องทดลอง แสดงให้เห็นว่า “วัสดุปรับปรุงดิน” จาก “ขยะอาหาร” นี้ มีธาตุอาหาร NPK และองค์ประกอบอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้  ซึ่งได้มีการนำไปทดลองใช้งานจริง ที่ห้องอาหารสถาบันนวัตกรรม ปตท.  และได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างน่าพอใจ

Pics used for Fact sheet of Auto FW composter FW to Biosoil1

จากนั้น ได้มีการนำนวัตกรรมเครื่องต้นแบบย่อยสลายขยะเศษอาหารอัตโนมัติ มาติดตั้งทดสอบการใช้งานจริง ที่อาคารบริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) เป็นระยะเวลาร่วมกว่า 2 เดือน ซึ่งพบว่า เครื่องต้นแบบย่อยสลายขยะเศษอาหาร สามารถย่อยสลายขยะเศษอาหารที่เกิดขึ้นจากอาคาร EnCo ได้เป็นอย่างดี ภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง และสามารถรองรับปริมาณขยะเศษอาหารได้ถึง 5 กิโลกรัมต่อวัน โดยไม่เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน รวมทั้งเชื้อรา

การทดสอบการใช้งานที่ EnCo สามารถลดขยะเศษอาหารที่จำเป็นต้องนำไปกำจัดได้ทั้งหมด 139.6 กิโลกรัม และสามารถเปลี่ยนขยะเศษอาหาร ให้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน  กลับมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด 29.06 กิโลกรัม  ซึ่งได้มีการนำ “วัสดุปรับปรุงดิน” นำไปใช้ในการบำรุงต้นไม้ที่บริเวณอาคารจอดรถ 2 ของ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด

trrrrr

ความสำเร็จในงานวิจัย และการนำมาทดสอบการใช้งานจริงดังกล่าว สถาบันนวัตกรรม ปตท. จึงได้ร่วมมือกับบริษัท อินทรีย์ อีโคไซเคิล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านการจัดการของเสีย อย่างครบวงจร  นำนวัตกรรมเครื่องต้นแบบย่อยสลายขยะ เศษอาหารอัตโนมัตินี้ มาขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อการใช้งานในวงกว้าง

นับเป็นหนึ่งในวิธีการลดขยะ และเปลี่ยนขยะเศษอาหารให้มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดด้วยนวัตกรรมทางสังคม 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo