Environmental Sustainability

กำจัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ‘ดีแทค’ กับเป้าหมาย ‘ZERO Landfill’ ภายในปี 2565

กำจัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ดีแทค วางเป้าหมายสู่ ZERO Landfill ภายในปี 2565 จับมือ TES ยักษ์รีไซเคิล หมุนเวียนโลหะมีค่า วัตถุดิบสำคัญ สร้างเศรษฐกิจใหม่

Global e-Waste Monitor 2020 รายงานการคาดการณ์ว่า ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวภายในปี 2573 โดยในปี 2562 เป็นปีที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยมีปริมาณ 53.6 ล้านตัน และการ กำจัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีเพียง 17% ที่ถูกนำไปรีไซเคิล ที่เหลือไปกองอยู่ในกองขยะหรือไม่มีการจัดเก็บเป็นระบบ

ขยะอิเล็กทรอนิกส์04 scaled e1598276366480

 

นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า จากผลการสำรวจ พฤติกรรมการจัดการ กับขยะอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อไม่ใช้งานแล้ว ของสำนักสิ่งแวดล้อม พบว่า กว่า 50% ของผู้ใช้งาน จะเลือกขายซากขยะอิเล็กทรอนิกส์กับผู้รับซื้อของเก่า หรือ รถขายของเก่า

จากนั้น จะมีการนำขยะไปแยกชิ้นส่วน โดยจะเลือกเฉพาะส่วนที่มีมูลค่า เพื่อนำไปขายต่อได้ และจะกำจัดซากขยะที่เหลือ ด้วยการทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป ปัญหาสำคัญ คือ การทิ้งซากผลิตภัณฑ์ ปะปนกับขยะทั่วไป และการจัดการซากผลิตภัณฑ์อย่างไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อสุขภาพอนามัย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว และก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อแหล่งน้ำ พื้นดิน และอากาศ

ทิ้งให้ดี 7
อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ การให้บริการด้านโทรคมนาคม ส่วนใหญ่มาจาก โครงข่ายสัญญาณ เฉพาะในปี 2562 ดีแทคสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 213,476 ชิ้น แบ่งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับจากผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 46,221 ชิ้น คิดเป็น 21% และ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นจากการขยายโครงข่าย 167,255 ชิ้น หรือคิดเป็น 79% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เก็บได้

ทั้งนี้ ดีแทคให้ความสำคัญกับ การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เริ่มตั้งแต่สถานที่ ที่ใช้เก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เสื่อมสภาพ โดยจะต้องเป็นคลังสินค้า ที่มีระบบการควบคุมรักษาความปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานอาคารคลังสินค้า ของกรมการค้าภายใน และสามารถรองรับ ระบบการจัดเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์ของดีแทคได้ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายชุมชน

กำจัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มาจากหน่วยงานภายในดีแทค อย่าง ศูนย์บริการดีแทคและสำนักงาน ส่วนใหญ่เป็น เครื่องโทรศัพท์มือถือ สำหรับทดลองใช้ อุปกรณ์เสริมที่ตกรุ่น เป็นต้น

ดีแทคจะมีหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ จำนวนและสภาพ ของอุปกรณ์โดยเฉพาะ หากยังมีสภาพดี ก็จะนำกลับมาใช้ซ้ำในกิจกรรมต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ส่วนที่เสื่อมสภาพถาวรแล้ว ก็จะเข้ากระบวนการกำจัดและรีไซเคิลต่อไป

ในแต่ละปี ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคม เป็นผู้จัดจำหน่ายมือถือหลายแสนเครื่องต่อปี จึงมุ่งมั่นนำขยะมือถือจากผู้ใช้งาน ซึ่งคิดเป็น 19% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีแทคเก็บได้ เข้าสู่กระบวนการการรีไซเคิล และไม่มีเศษขยะที่เหลือไปฝังกลบ (ZERO Landfill) ซึ่งทำได้แล้วตั้งแต่ปี 2555 และตั้งเป้าจะทำให้เป็น ZERO Landfill ทั้งหมดภายในปี 2565

ทิ้งให้ดี 8

สำหรับปีนี้ ดีแทค ได้จัดทำโครงการ “ทิ้งให้ดี” โดยมอบหมายให้บริษัท Total Environmental Solutions จำกัด หรือ TES เป็นผู้จัดการ รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานสากล จากความเชื่อมั่นในการจัดการ รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้มาตรฐาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีสาขามากกว่า 20 ประเทศอยู่ทั่วโลกทั้งหมด 38 แห่ง

สำหรับการจัดการ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ นั้น เมื่อ TES รับซากโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์เสริมต่างๆ จากโครงการ “ทิ้งให้ดี” มาถึงโรงงานแล้ว TES จะทำการตรวจนับและชั่งน้ำหนัก เพื่อรายงานจำนวน และน้ำหนัก และสถานที่รับ เพื่อแจ้งให้ดีแทคทราบ และยืนยันว่าได้รับอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อย

กำจัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์

จากนั้น จะนำเข้าพื้นที่จัดเก็บ และทำการคัดแยกวัสดุตามประเภทหลัก ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่ หูฟัง สายชาร์ตแบตเตอรี่ พาวเวอร์แบงค์ เป็นต้น เพื่อนำวัสดุหลักดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการแกะแยก เช่น โทรศัพท์มือถือ หลังการแกะแยก จะทำการบรรจุวัสดุ ตามแต่ละประเภท

เมื่อทำการแกะคัดแยกแล้ว วัสดุทั้งหมด จะถูกนำส่งออก ไปยังโรงงานของ TES ที่สิงคโปร์ เพื่อทำลายหน่วยความจำในเครื่อง และสกัดเป็นโลหะมีค่า ได้แก่ ทองคำ ทองแดง พาราเดี้ยม เหล็ก อลูมิเนียม ลิเทียม และวัสดุประเภทพลาสติก เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าใหม่ต่อไป

96-98% ของขยะทั้งหมดที่ดีแทคเก็บได้สามารถนำเข้าสู่กระบวนกำจัดที่ถูกต้อง และช่วยลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือลดคาร์บอนฟุตพรินต์ รวมทั้ง ไม่ทิ้งเศษซากขยะเป็นขยะฝังกลบ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo